โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ต้นเหตุของผื่นคันที่คุณอาจคาดไม่ถึง
พอเริ่มเข้าฤดูหนาว ผื่นแพ้อากาศหนาวก็เริ่มถามหา บางคนก็อาจคิดว่าผิวแห้งจากอากาศหนาว เลยคันผิวเป็นธรรมดา หรืออาจเป็นผิวหนังอักเสบ แต่อาการคันตามตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ ก็อาจเป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ที่เราอาจคาดไม่ถึงก็ได้ ซึ่งโรคภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เพราะบางคนที่มีอาการรุนแรง ก็สามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตได้ เลยไปถึงกระทบต่อความมั่นใจในการเข้าสังคม ซึ่งลักษณะผื่นคันต่าง ๆ ก็มีสาเหตุและอาการแตกต่างกันไป เช่น อาจเป็นผื่นแพ้อากาศ หรือผื่นคันจากสาเหตุของโรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา ดังนั้น เรามาดูกันว่าโรคภูมิแพ้ผิวหนังมีกี่ประเภท อันตรายแค่ไหน มีอาการอย่างไร ตามมาดูกันเลย
1. โรคภูมิแพ้ผิวหนัง คืออะไร ?
2. โรคภูมิแพ้ผิวหนังเกิดจากสาเหตุอะไร ?
3. อาการที่พบบ่อยของคนที่เป็นภูมิแพ้ผิวหนัง
4. วิธีลดเสี่ยง ป้องกันโรคภูมิแพ้ผิวหนัง
1. โรคภูมิแพ้ผิวหนัง คืออะไร ?
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) หรือที่หลายคนเรียกกันติดปากว่า "ผื่นภูมิแพ้" เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ทำให้ผิวหนังอักเสบ คัน และเกิดผื่นแดง อาการมักจะเป็น ๆ หาย ๆ และอาจรุนแรงขึ้นได้หากสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ โดยโรคนี้พบได้บ่อยในเด็ก แต่สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน
2. โรคภูมิแพ้ผิวหนังเกิดจากสาเหตุอะไร ?
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ทั้งปัจจัยภายในร่างกาย และปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญในการทำให้โรคกำเริบหรือรุนแรงขึ้น ดังนี้
ปัจจัยภายใน
- พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น หอบหืด หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง จะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงขึ้น
- ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง จะตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ หรือสารเคมีบางชนิด ทำให้เกิดอาการอักเสบที่ผิวหนัง
- ความผิดปกติของผิวหนัง ผิวหนังของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง จะมีชั้นผิวที่บางกว่าปกติ ทำให้สูญเสียน้ำได้ง่ายและสูญเสียการป้องกันสิ่งระคายเคือง
ปัจจัยภายนอก
- สิ่งกระตุ้น สารต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ สัตว์เลี้ยง อาหารบางชนิด สบู่ น้ำหอม สารเคมีต่าง ๆ
- สภาพแวดล้อม อากาศแห้ง แสงแดดจัด การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว และมลพิษทางอากาศ
- การติดเชื้อ การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัสที่ผิวหนัง อาจทำให้โรคกำเริบหรือรุนแรงขึ้น
- ความเครียด ความเครียดทางจิตใจสามารถกระตุ้นให้โรคกำเริบได้
- เหงื่อ เหงื่อที่ออกมากเกินไป อาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองและเกิดผื่นได้
ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง
- อาหาร อาหารบางชนิด เช่น นม ไข่ ถั่ว อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการในบางคน
- ยา ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการแพ้และกระตุ้นให้โรคกำเริบได้
- เสื้อผ้า เสื้อผ้าที่ทำจากวัสดุหยาบหรือขรุขระ อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง
การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมอาการของโรคภูมิแพ้ผิวหนัง หากคุณสงสัยว่าตนเองมอาการของโรคนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง
3. อาการที่พบบ่อยของคนที่เป็นภูมิแพ้ผิวหนัง
อาการของโรคภูมิแพ้ผิวหนังอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และความรุนแรงของอาการก็แตกต่างกันไปเช่นกัน ซึ่งจะมีอาการที่สร้างความรำคาญ และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก อาการที่พบบ่อย ได้แก่
- ผิวแห้ง คัน เป็นอาการเด่นชัด โดยเฉพาะบริเวณข้อพับ เช่น ข้อพับแขน ข้อพับขา คอ หรือหลังใบหู
- ผื่นแดง ผื่นแดงอาจมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป อาจเป็นผื่นแดงเล็ก ๆ หรือเป็นผื่นแดงแผ่กว้าง
- ตุ่มน้ำ ในบางรายอาจพบตุ่มน้ำใส ๆ ที่ผิวหนัง
- ผิวหนังหนาและแตก เมื่อเกาบ่อย ๆ ผิวหนังบริเวณที่เป็นผื่นอาจหนาขึ้น มีรอยขีดข่วน และแตกออกได้
- ผิวหนังติดเชื้อ หากเกาจนผิวหนังแตก อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราได้
อาการอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมด้วย
- คันมากขึ้นในเวลากลางคืน
- ผิวหนังแห้งเป็นขุย
- มีรอยคล้ำบริเวณที่เกาบ่อย
- ตาแดง คัน หรือบวม
- มีน้ำมูกไหล หรือจามบ่อย
- หอบหืด
ตำแหน่งที่พบผื่นบ่อย
- ข้อพับแขน ข้อพับขา
- คอ
- หน้า
- มือ
- เท้า
4. วิธีลดเสี่ยง ป้องกันโรคภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคเรื้อรัง ที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถควบคุมอาการและป้องกันไม่ให้โรคกำเริบได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
- บำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ใช้โลชั่นหรือครีมบำรุงผิวที่อ่อนโยนและปราศจากน้ำหอม ทาหลังอาบน้ำทันทีเพื่อกักเก็บความชุ่มชื้น
- อาบน้ำ อาบน้ำด้วยน้ำอุ่น ไม่ใช้น้ำร้อนจัด ใช้สบู่ที่อ่อนโยนและหลีกเลี่ยงการขัดผิวแรง ๆ
- หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม สารกันบูด หรือสีสังเคราะห์
- แต่งกาย สวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้าย เนื้อนุ่ม ไม่รัดตัว และหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าขนสัตว์
- สิ่งกระตุ้น หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ สัตว์เลี้ยง อาหารบางชนิด สบู่ น้ำหอม สารเคมีต่าง ๆ
- สภาพแวดล้อม หลีกเลี่ยงอากาศที่แห้งจัดและร้อนจัด ควรอยู่ในห้องที่มีความชื้นพอเหมาะ
- ความเครียด พยายามจัดการกับความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การทำสมาธิ การออกกำลังกาย หรือการพักผ่อนให้เพียงพอ
- ยาตามแพทย์สั่ง ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการใช้ยาอย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดยาเอง
- ยาแก้คัน ใช้ยาแก้คันที่แพทย์แนะนำ เพื่อบรรเทาอาการคันและป้องกันการเกา
- ทำความสะอาดบ้าน หมั่นทำความสะอาดบ้านให้สะอาด โดยเฉพาะบริเวณที่มีฝุ่นละออง เช่น ที่นอน หมอน หมอนข้าง
- ซักผ้า ซักผ้าในน้ำร้อนและตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค
- อาหาร เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
- ดื่มน้ำ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้ผิวชุ่มชื้น
แต่หากดูแลอาการแล้วยังไม่ดีขึ้น อาทิ มีอาการติดเชื้อ เช่น ผื่นแดง ร้อน บวม และมีหนอง มีอาการคันรุนแรงจนนอนไม่หลับ มีอาการอื่น ๆ ที่น่าเป็นห่วงควรรรีบพบแพทย์โดยด่วน การดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมอาการของโรคภูมิแพ้ผิวหนังได้ดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแต่หากอยากเพิ่มความอุ่นใจ เจ็บป่วยตอนไหนมีตัวช่วยเรื่องค่ารักษา ก็สามารถวางแผนเสริมความมั่นใจด้วย ประกันสุขภาพ จากเมืองไทยประกันชีวิต #เพราะชีวิตทุกวัยมันเจ็บป่วย ป่วยเล็กป่วยใหญ่ ช่วงวัยไหนก็ป่วยได้ไม่ช็อตฟีล
ปล่อยจอยค่ารักษาเพราะมีประกันสุขภาพดูแลให้แบบเหมา ๆ ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท
✅ Elite Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 20-100 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษา ดูแลให้ทั้ง IPD และ OPD(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 157 บาท(2)
✅ D Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 5 ล้านบาท(3) นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุก รพ. เบี้ยวันละไม่ถึง 38 บาท(4)
✅ เหมาจ่าย Extra แอดมิตเข้า รพ. ดูแลค่ารักษาเหมาจ่าย 5 แสนบาท(5) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(6)
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต
(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(3) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง
(4) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท มีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (แผน Top Up ความคุ้มครอง) และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(5) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(6) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
- เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
- สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 05/11/67