ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น กลุ่มอาการ Marfan (ซึ่งจะมีความผิดปกติหลายระบบคือ มีรูปร่างสูงผอม แขนขาและ นิ้วยาว เพดานปากสูง สายตาผิดปกติ มีโรคลิ้นหัวใจรั่วร่วม มักมีอาการของโรคหลอดเลือดตั้งแต่อายุวัยหนุ่มสาวการสูบบุหรี่ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคปอดเรื้อรัง ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ซึ่งสามารถแบ่งความเสี่ยงออกมาได้ดังนี้·
ความสำคัญของโรคนี้อยู่ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดงใดๆนำมาก่อน อาจตรวจพบเจอโดยบังเอิญจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อตรวจหาโรคอื่น หรืออาจคลำพบก้อนในช่องท้องที่เต้นได้ตามจังหวะหัวใจ
การป้องกันเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองที่สำคัญ คือ การควบคุม เบาหวาน ความดัน ไขมัน และไม่สูบบุหรี่ เพราะสาเหตุการเกิดโรคดังกล่าวมาจากความเสื่อมของหลอดเลือด โดยเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น ความเสื่อมของร่างกายก็เพิ่มขึ้นเป็นธรรมดา แต่เราสามารถชะลอการเกิดความเสื่อมและสามารถเลือกดำเนินชีวิตให้มีคุณภาพร่างกายและชีวิตที่ดีได้ โดยลดปัจจัยการเกิดโรคข้างต้นได้ ด้วยหลัก 4 Healthy Lifestyles
1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยอย่างน้อยควรออกกำลังกาย 150 นาทีต่ออาทิตย์
2.ไม่สูบบุหรี่
3.ควบคุมนำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน BMI =น้ำหนัก (กก.)/ส่วนสูง (ม.2) ซึ่งควรน้อยกว่า 25 (=ดีมาก) และต้องน้อยกว่า 30 (=ดี) (BMI คือ น้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วย ส่วนสูงเป็นเมตร ยกกำลังสอง)
4.เลือกทานอาหารทีมีกากใยไฟเบอร์สูง เพื่อลดการดูดซึมไขมันเข้าร่างกายและช่วยเรื่องระบบขับถ่าย เช่น ถั่ว ผัก เมล็ดพันธ์ธัญพืชต่าง ๆ และลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ (ทานได้ตามน้ำหนักตัวเช่นหนัก 60กิโล ทานได้60กรัมต่อวัน)
เห็นมั้ยครับว่าหัวใจเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ดังนั้นเราควรหันมาดูแลหัวใจของเราด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้หัวใจของเราแข็งแรง และทำงานได้อย่างเป็นปกติ และในวันวาเลนไทน์นี้เปลี่ยนจากการมอบดอกไม้มามอบความคุ้มครองสุขภาพให้ตัวเองหรือคนที่คุณรักกันดีกว่า กับความคุ้มครองสุขภาพดีๆจาก SUPER HEALTH ให้คุณหมดความกังวลกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นยามเจ็บป่วย อุ่นใจได้ในทุกสถานการณ์ รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
ที่มา : komchadluek mahidol chularat3 sukumvithospital