เมื่อพูดถึงความเปรี้ยว คงไม่มีใครเปรี้ยวเกินกว่า ความเปรี้ยวจากธรรมชาติอย่างน้ำมะนาว หรือความเปรี้ยวจากสารสังเคราะห์ของน้ำส้มสายชู แน่นอนว่าหากความเปรี้ยวเหล่านี้ถูกปรุงอยู่ในอาหารก็จะช่วยยกระดับรสชาติความอร่อย ความจัดจ้าน และเปรี้ยวซี๊ดซ๊าด ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากทานในปริมาณที่พอดี ความเปรี้ยวก็จะมีประโยชน์ แต่ถ้าทานมากเกินไปก็อาจมีโทษต่อร่างกายได้
ความเปรี้ยวที่มาจากธรรมชาติ คุณสามารถพบได้จากผักและผลไม้ เช่น มะนาว มะกรูด ส้ม มะขาม ส้มแขก ตะลิงปลิง มะดัน มะปริง มะยม มะม่วง มะม่วงหาวมะนาวโห่ ซึ่งประโยชน์ของรสเปรี้ยวจากธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพ คือ ช่วยปกป้องเซลล์ไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว สร้างภูมิคุ้มกัน รวมทั้งช่วยป้องกันไม่ให้เลือดออกตามไรฟัน และควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ “วิตามินซี” ยังเป็นสารสำคัญของรสเปรี้ยว ช่วยบรรเทาอาการไอ หรือเจ็บคอ อีกทั้งยังช่วยบรรเทา หรือป้องกันอาการหวัด พร้อมกระตุ้นต่อมน้ำลายให้ขับน้ำลายออกมาเพื่อหล่อเลี้ยงช่องปาก ลดอาการอักเสบหรืออาการบวมได้เร็วยิ่งขึ้น
ความเปรี้ยวจากสารสังเคราะห์ จากน้ำส้มสายชู หรือน้ำมะนาวเทียม พบว่าไม่มีประโยชน์แต่อย่างใดต่อร่างกาย และหากเรารับประทานอาหารรสเปรี้ยวที่มาจากสารสังเคราะห์มากจนเกินไป จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่กระเพาะอาหาร มีอาการท้องเสียได้อีกด้วย
โรคที่มากับ ความเปรี้ยว รสชาติความเปรี้ยวที่หลายคนโปรดปราน หากบริโภคมากเกินความต้องการ ก็อาจส่งผลเสียต่อระบบน้ำเหลืองในร่างกาย ทำให้บาดแผลหายช้า เกิดอาการเสียวฟันแบบเฉียบพลัน หรือ มีภาวะกระดูกผุก่อนวัยอันควร ซึ่งอันตราย เพราะความเปรี้ยวที่ได้จากน้ำส้มสายชู ที่หลายคนชอบปรุงเพื่อช่วยขจัดกลิ่นคาวและลดแบคทีเรียในอาหาร หากกินมากเกินสัดส่วนที่ร่างกายควรจะได้รับ อาจเป็นอันตรายต่อกระดูกได้เช่นกัน
หนีแค่ไหนก็ไม่พ้น ถ้าพฤติกรรมการชอบกินเค็มมากเกินความต้องการของร่างก่าย โรคไตถามหาอย่างแน่นอน โดยเฉพาะสายปรุงเก่ง ชอบเติมเกลือ น้ำปลา ซีอิ้ว ซอส หรือชอบกินสาหร่ายทะเลบางชนิด อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว ไส้กรอก ลูกชิ้น หรือผักผลไม้ดอง บอกเลยว่าแต่ละอย่างรสชาติอูมามิถูกปากเหล่าสายกินทั้งหลาย แต่ลำบากไต
พูดไม่ออกบอกไม่ถูก ทำไมถึงลำบากไตขนาดนี้ ก็เพราะว่า “ไต” ทำหน้าที่กรองของเสียรวมทั้งโซเดียมที่เป็นส่วนเกินออกทางปัสสาวะ การกินเค็ม หรือกินเกลือหวาน และเกลือจืดมาก ทำให้ไตทำงานหนัก เพราะต้องขับโซเดียมส่วนเกินออก เมื่อกินเค็มเป็นนิสัย ไตก็ทำงานหนักพูดไม่ได้ ก็เลยส่งสัญญาณเตือนผ่านอาการ จากเบาไปหาหนักจนเกิดภาวะ ไตเสื่อม ที่นี้หน้าที่ของไตในการกรองและขับของเสียออกมาทางปัสสาวะก็ทำได้น้อยลง ส่งผลให้คนไข้มีอาการตัวบวม ถ้าไตวายหมอก็ต้องใช้เครื่องฟอกเลือดล้างไตช่วยคนไข้ ไม่เช่นนั้นคนไข้จะเสียชีวิตได้ แต่บอกเลยว่าค่ารักษาโรคไตแพงมาก ดูรายละเอียด ป่วยเป็นโรคไตต้องเตรียมค่ารักษาเท่าไรถึงจะพอ?
อย่าชะล่าใจ ไม่กินเค็มก็เป็นโรคไตได้ ไม่ใช่ต้นเหตุจากโซเดียมสูงเท่านั้นพูดเลย! ที่จะทำให้คุณเป็นโรคไตได้ ซึ่ง โรงพยาบาลเปาโล ได้ให้ข้อมูลเส้นทางโรคไต สายอื่นที่นำพาให้คุณเจ็บป่วยได้ มีดังนี้
ความรักทำให้หัวใจเจ็บปวด ส่วนความหวานทำให้หัวใจเจ็บป่วย ซึ่งนี่ไม่ใช่คำขู่สำหรับสายหวาน หากเบาได้เบาตั้งแต่ตอนนี้ ก่อนที่จะสายเกินแก้ เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าความหวานเกิดจากน้ำตาล ซึ่งน้ำตาลคือหน่วยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต แต่มีพลังทำลายและสร้างโรคร้ายให้กับเราสูงมากเช่นกัน หากรับประทานเกินกว่าปริมาณที่ร่างกายควรจะได้รับ อาจส่งผลให้คุณเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ ไขมันพอกตับ และโรคมะเร็ง แต่ละโรคที่กล่าวมาบอกเลยว่าหนักๆ ทั้งนั้น
เว็บไซต์ Pobpad.com อ้างอิงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้แนะนำให้ผู้ใหญ่และเด็กบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม/วัน
และกลุ่มคนวัยทำงานเป็นคนกลุ่มหลักที่บริโภคน้ำตาลในปริมาณมาก เพราะมีศักยภาพในการใช้จ่ายด้วยตนเอง ทั้งไลฟ์สไตล์ และลักษณะการทำงานในปัจจุบันยังเอื้อต่อการกินอาหารและเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลเข้าไป ซึ่งเครื่องดื่มและน้ำผลไม้เติมน้ำตาลอย่างน้ำอัดลม น้ำหวาน กาแฟ หรือชานมไข่มุก ถือเป็นแหล่งที่มาของน้ำตาลในอันดับต้นๆ หากเมื่อกินน้ำตาลเข้าไปแล้ว ร่างกายจะแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน และถ้ามีปริมาณที่มากเกินไปจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกาย ดังนั้น การบริโภคน้ำตาลมากๆ ส่งผลให้มีน้ำหนักเกิน อ้วน ซึ่งโรคและปัญทางสุขภาพหากบริโภคความหวานมากเกินไป มีดังนี้โรคหัวใจ
นอกจากนี้อาจเสี่ยงกับการเกิดปัญหาสุขภาพตามมาในด้านอื่นๆ เช่น เสี่ยงเกิดสิว ระดับพลังงานแปรปรวน หน้าแก่ก่อนวัย และน้ำหนักเพิ่ม
หลีกเลี่ยงการกินน้ำตาลได้อย่างไร
“มัน” มากับโรค ถูกต้องครับ คุณอ่านไม่ผิด อาหารมันต้นตอของโรคร้าย โดยเฉพาะโรคในกลุ่มโรค NCDs เช่น โรคเบาหวาน กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง
ไก่ทอดเอย เฟรนช์ฟรายส์ ปาท่องโก๋เอย น้ำมันเยิ้มๆ ฉ่ำๆ แค่นึกก็อร่อยแล้ว แต่...อาหารประเภทนี้แหละที่เป็นศัตรูตัวร้ายกับร่างกาย หากกินมากเกินไป ร่างกายก็จะรับเอา “ไขมัน” เกินความจำเป็น
มัน มาจากไหน ก็มาจากพืชและสัตว์ ได้แก่ น้ำมันหมู น้ำมันพืชที่ทำจากถั่วเหลือง ปาล์ม เมล็ดฝ้าย มะพร้าว รำข้าว เป็นต้น รวมทั้งเนย ซึ่งทำมาจากไจมันในนม เนยเทียมหรือมาการีนทำมาจากไขมันพืช อีกส่วนหนึ่งไขมันจะแทรกอยู่ในเนื้อสัตว์ รวมถึงวิธีการปรุงประกอบด้วยไขมัน น้ำมัน เนยกะทิ เช่น อาหารทอด ผัด ขนมเค้ก คุกกี้ พิซซ่า ไอศกรีม แกงกะทิเป็นต้น
ซึ่งองค์การอาหารและเกษตร (FAO) องค์การอนามัยโลก (WHO) และ The American Heart Association แนะนำให้บริโภคไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานที่รับต่อวัน หรือมื้อละประมาณ 3.5-4 ช้อนชา และควรมีสัดส่วนของไขมันพืช: ไขมันสัตว์ เท่ากับ 3:1 หรือ 1:1 เป็นอย่างน้อย
มัน ทำให้หัวใจขาดเลือด ไขมัน ผู้ร้ายในคราบความอร่อย ตัวการก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งไขมันจะค่อยๆ สะสมอยู่ในผนังด้านในของหลอดเลือด เป็นผลให้ทางที่เลือดไหลผ่านแคบลง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงลดลงหรือไม่มีเลย กล้ามเนื้อหัวใจจึงได้รับเลือดน้อยกว่าปกติ นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากเกร็ดเลือดและลิ่มเลือดอุดตันอีกด้วย ซึ่งหากคุณไม่อยากเสี่ยงกับโรคร้าย ก็จงหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงเหล่านี้เสีย ถือว่าเตือนแล้วนะ!
รู้แหละ ! ว่าเป็นของชอบทั้งนั้น แต่ก็ต้องคำนึงถึงสุขภาพเป็นสำคัญ เพราะหากเราได้รับปริมาณไขมันที่สูงเกินไปจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ ตามมาอีกเช่น โรคอ้วนและความดันโลหิตสูง ดังนั้นควรหมั่นควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย และการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
ต้องยอมรับเลยว่า ความเผ็ด เป็นรสชาติคู่อาหารไทยมาช้านาน ไม่ว่าเป็นส้มตำ ลาบ น้ำตก แกงป่า พริกแกง หรืออาหารประเภทพต่างๆ ที่ใช้พริกเป็นผู้ช่วยในการปรุงรสยกระดับความแซ่บ ความจัดจ้าน และสีสันชวนน่ากินเป็นอย่างมาก และยังไม่นับรวมไปถึงเครื่องเทศอีกนานาชนิดที่ถูกนำมาใช้เพิ่มความเผ็ดในอาหาร เช่น กระเทียม ขิง ยี่หร่า อบเชย และกะเพรา เป็นต้น
หากใครกำลังมีพฤติกรรมชอบกินอาหารเผ็ด รสจัดจ้าน ปรุงพริกเยอะๆ ไม่เผ็ดถือว่าไม่เด็ด บอกได้เลยว่าคุณกำลังก้าวขาหนึ่งข้างเข้ามาสู่โซนอันตรายต่อสุขภาพ เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย หรือโรคร้ายได้ในเร็ววันแล้ว โดยอาการเจ็บป่วยและโรคที่มาจากพฤติกรรมการกินเผ็ด มีดังนี้
ช่องปาก หลายคนอาจรู้สึกแสบร้อนภายในปากหลังจากกินอาหารเผ็ด ซึ่งอาจส่งผลต่อลิ้น เหงือก ริมฝีปาก แก้ม และบริเวณอื่นๆ ภายในช่องปากด้วย รวมทั้งอาจทำให้ปากแห้ง รู้สึกหิวน้ำ อาจสูญเสียการรับรส หรือทำให้ลิ้นรับรสชาติผิดเพี้ยน
ระบบทางเดินอาหาร สารแคปไซซินในพริกอาจเป็นสาเหตุของอาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย คลื่นไส้ และอาเจียน หลังจากทีกินเผ็ด นอกจากนี้ การกินเผ็ดก็อาจส่งผลให้อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารรุนแรงขึ้นได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้จึงควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารเผ็ด เพื่อลดความเสี่ยง
ระบบทางเดินหายใจ การกินเผ็ดอาจเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้จมูกจากอาหาร ซึ่งเป็นโรคจมูกอักเสบชนิดที่ไม่ได้เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ แต่มีสาเหตุมาจากอาหารที่กิน โดยอาจทำให้มีอาการน้ำมูกไหลหรือมีเสมหะในคอหลังจากกินอาหารเผ็ด
ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เกิดอาการแสบร้อนกลางทรวงอก ส่งผลให้อาการของโรคบางชนิดอย่างโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบรุนแรงขึ้นได้ เนื่องจากอาหารเผ็ดอาจทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง ซึ่งอาจมีการติดเชื้อบริเวณอวัยวะของระบบทางเดินปัสสาวะด้วย อย่างไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ที่มา : กินเผ็ด ผลดี ผลเสีย และเรื่องที่ควรระวัง
ส่วนข้อดีของการกินเผ็ดก็มีนะ ใช่ว่าจะไม่มี แต่คุณต้องกินในปริมาณที่พอ เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่างๆ ต่อร่างกาย ซึ่งข้อดีของการกินเผ็ดมีดังนี้
ไม่รู้จะกินอะไรดีวันนี้ ฉีกซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต้มดีกว่า หรือดึกๆ กำลังดูซีรี่ส์เพลินๆ รู้สึกหิวจังวุ้ย แกะไส้กรอก เวฟสัก 2 นาที สะดวก ง่าย ประหยัด และอิ่มด้วย กินบ่อยๆ ก็คงไม่เป็นไรหรอก...มั้ง
อย่าคิดว่าไม่เป็นไร บอกเลยว่าหากกินอาหารสำเร็จรูปบ่อยๆ มีผลกระทบกับร่างกายอย่างแน่นอน เพราะอะไร...ก็เพราะว่าอาหารสำเร็จนั้น ถูกเติมสารอาหาร และปรุงแต่งรสชาติอาหาร ด้วยปริมาณโซเดียม และไขมันสูง เพราะทางผู้ผลิตจำเป็นต้องปรุงรสชาติให้เข้มข้นเพื่อทดแทนความจืดชืด และความไม่สดของอาหารที่อาจสูญเสียไปในระหว่างกระบวนการทำอาหารเพื่อให้สามารถเก็บไว้ได้นานนั่นเอง
อาหารสำเร็จรูปที่ควรหนีให้ห่าง
ทางที่ดีหากไม่อยากเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วย และเกิดโรคร้ายจากอาหารสำเร็จรูป แนะนำว่าให้เลือกทานแต่อาหารที่ปรุงสดใหม่ หรืออาการเพื่อสุขภาพจะดีต่อร่างกายมากที่สุด
พฤติกรรมการกินเป็นเหตุสังเกตได้ หากอยากลดเสี่ยงจากความเจ็บป่วย หรือโรคร้าย เพราะพฤติกรรมการกิน ก็ต้องหมั่นดูแลและเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับสุขภาพ
แต่ดูแลแค่ไหนก็อาจยังไม่พอ เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ หากเราล้มป่วย หรือไม่สบาย ใครจะช่วยดูแลค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เราจึงต้องมองหาความคุ้มครองสุขภาพที่ครอบคลุม เพื่อให้คุณอุ่นใจหากเกิดเรื่องราวที่ไม่ทันได้คาดคิด กับความคุ้มครองสุขภาพ อีลิท เฮลท์ ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุม ทั้งโรคระบาด โรคร้ายแรง จากการกิน เช่นโรคไต โรคเบาหวาน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคอ้วน ฯโรคทั่วไป และอุบัติเหตุ * การรักษามะเร็งแบบ Targeted Therapy ด้วยวงเงินความคุ้มครองตั้งแต่ 20-100 ล้านบาทต่อปี ตอบโจทย์ทุกความต้องการเพื่อคุณและคนที่รัก
หมายเหตุ
ที่มา : HonestDocs สุขภาพน่ารู้ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สสส