อาหารเป็นพิษ เกิดจากอะไร เป็นแล้วแก้ยังไง บทความนี้มีคำตอบ!
สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลพิษ แหล่งวัตถุดิบที่อาจไม่สะอาด การปรุงอาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือแม้แต่การเก็บรักษาอาหารที่ไม่เหมาะสม ล้วนเป็นปัจจัยที่อาจทำให้อาหารปนเปื้อนสารหรือเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จนนำไปสู่อาการปวดท้อง อาหารเป็นพิษ หรือปัญหาทางระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้ที่ชื่นชอบการลองชิมเมนูใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารฟิวชั่นจากหลากหลายวัฒนธรรม หรืออาหารสำเร็จรูป (Processed Food) ที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน ล้วนเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายอย่าง รวมทั้งอาการปวดท้อง ท้องเสีย หรืออาหารเป็นพิษ ที่อาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ไม่สบายใจ หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังมีอาการนี้อยู่ บทความนี้จะพามาทำความรู้จักกับอาการอาหารเป็นพิษ เพื่อทำความเข้าใจ และแก้ไขอาการได้อย่างถูกวิธี
ยาวไปเลือกอ่านตามหัวข้อได้นะ
1. อาหารเป็นพิษ อาการเป็นยังไง
1. รู้จัก อาหารเป็นพิษ อาการเป็นยังไง
อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) คืออาการปวดท้อง ที่เป็นร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ หรือมีอาการท้องเสียต่อเนื่องหลายครั้ง ซึ่งมักจะมาจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
อาการของโรคอาหารเป็นพิษโดยทั่วไปจะอยู่ในภาวะที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยมักจะมีอาการอยู่ในช่วง 1 - 2 วัน ในบางคนอาจนานเป็นสัปดาห์ ในกรณีที่มีอาการค่อนข้างหนักและเป็นนาน ขอแนะนำให้สังเกตอาการข้างเคียงเหล่านี้เพิ่มเติมด้วย เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่น ๆ ที่ซ่อนอยู่
- อาหารเป็นพิษ ร่วมกับมีไข้
- กินอาหารแล้วอ้วก (เสี่ยงกรดไหลย้อน)
- ถ่ายเป็นน้ำบ่อยครั้ง
- ท้องเสียบ่อย มากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์
- เจ็บหน้าอก
- อุจจาระปนเลือด, อุจจาระมีสีดำผิดปกติ
- ผิวและดวงตามีสีเหลือง
- ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
- หิวน้ำมากกว่าปกติ
- อ่อนเพลียและเวียนศีรษะ
อ่านบทความเพิ่มเติม >> วิธีไล่ลมในท้อง ท้องอืด แก้ยังไง ปรับพฤติกรรมก่อนเป็นกรดไหลย้อน
2. สาเหตุของอาการอาหารเป็นพิษ
อาหารเป็นพิษสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากเชื้อแบคทีเรีย สารเคมี หรือปัจจัยอื่น ๆ อยากรู้ไหมว่าสาเหตุเหล่านั้นมีอะไรบ้าง? ตามมาอ่านกันเลย!
เชื้อแบคทีเรียในอาหาร
การมีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนในอาหาร เป็นสาเหตุใหญ่ ๆ ที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ เลยก็ว่าได้ โดยเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยคือ
- อีโคไล (E. Coli) หรือ (Escherichia Coli) พบมากในเนื้อสัตว์ดิบ อาจก่อให้เกิดความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร และทางเดินปัสสาวะ
- ซาลโมเนลลา (Salmonella) พบมากในอาหารดิบ เช่น ไข่ดิบ เนื้อดิบ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม อาจก่อให้เกิดอาการไข้ ถ่ายเหลว บางรายมีอาเจียนร่วมด้วย
- คลอสติเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) พบมากในอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขอนามัย และเก็บในพื้นที่อับ เช่น อาหารหมักดองต่าง ๆ เนื้อแปรรูป
- ชิเกลล่า (Shigella) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในน้ำดื่มและอาหารที่ไม่สะอาด ก่อให้เกิดโรคในลำไส้ เช่น การติดเชื้อในลำไส้ อุจจาระมีเลือดออก ท้องร่วง โรคบิด
อ่านบทความเพิ่มเติม >>
สัญญาณเสี่ยง ! โรคกระเพาะอาหาร สาเหตุและวิธีการรักษา
การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย
อาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย ไม่ว่าจะเป็น อาหารเก่าค้างคืน อาหารประเภท Process Food อาหารที่บรรจุภัณฑ์อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ หรืออาหารรูปแบบอื่น ๆ ที่ผ่านกรรมวิธีที่ไม่สะอาด
แพ้อาหาร
การที่ผู้ป่วยบริโภคอาหารที่มีอาการแพ้ หรืออาหารที่มีส่วนผสมที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เมื่อรับประทานเข้าไป จึงทำให้ร่างกายมีการต่อต้านและพยายามขับออกจากร่างกาย ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการกินแล้วอ้วก คลื่นไส้ ท้องอืด พะอืดพะอม หรือมีอาการตาบวม คอบวม แน่นหน้าอก ร่วมด้วย หากรู้ตัวว่าเผลอรับประทานอาหารที่แพ้เข้าไป แนะนำให้รีบพบแพทย์
3. อาหารเป็นพิษ แก้ยังไง
เมื่อเกิดอาการอาหารเป็นพิษขึ้นมา มักจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การรู้วิธีแก้ไขและรักษาอาการอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ แอดขอพามาดูกันว่าเมื่อเกิดอาการอาหารเป็นพิษแล้ว เราสามารถรักษาและบรรเทาอาการได้อย่างไรบ้าง
- ดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่ เพื่อช่วยทดแทนการสูญเสียน้ำและแร่ธาตุจากการอาเจียนหรื
- ขับถ่ายบ่อยครั้ง ให้จิบเรื่อย ๆ ตลอดทั้งวัน
- รับประทานอาหารตามปกติ เน้นทานเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไขมันน้อย หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เครื่องดื่มมึนเมา อาหารที่มีส่วนผสมของนม เพื่อลดการกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็ว
- หากมีอาการหลายวัน หรือพบอาการข้างเคียงเพิ่มเติม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุ และรักษาอย่างถูกวิธี
- ทานยาแก้ท้องเสีย ตามคำแนะนำของเภสัชกรหรือแพทย์
4. วิธีป้องกันอาหารเป็นพิษ
อาการอาหารเป็นพิษแม้จะดูเป็นเรื่องเล็ก แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ในผู้ป่วยบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาตัวเป็นเวลาหลายวัน ดังนั้นการรู้วิธีป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ มาดูกันว่าวิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษมีอะไรบ้าง เพื่อสุขภาพที่ดีและปลอดภัยของตัวเราเองและคนรอบข้าง
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ บรรจุในภาชนะที่สะอาด
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารค้างคืน
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หรือสัมผัสอาหาร
- เก็บอาหารและเครื่องดื่มในพื้นที่แห้งและมิดชิด เพื่อป้องกันมด หนู แมลงวัน
- ใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
- ดื่มน้ำสะอาด
- หากมีอาหารที่แพ้ ให้ตรวจสอบส่วนผสมก่อนรับประทาน
- พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
การดูแลสุขอนามัยให้และการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยอยู่เสมอ ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงจากอาการปวดท้องและโรคอาหารเป็นพิษที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร เลือกทานอาหารที่สดใหม่ ปรุงสุกใหม่ และหลีกเลี่ยงอาหารที่สุก ๆ ดิบ ๆ เป็นสิ่งเล็กน้อยที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีทั้งในวันนี้และในอนาคต มาเริ่มต้นดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้เลย
เพราะอาการเจ็บป่วย เป็นสิ่งที่ยากเกินคาดเดา ให้ ประกันสุขภาพ จากเมืองไทยประกันชีวิต เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยรองรับความเสี่ยง ดูแลคุณในวันที่มีปัญหาสุขภาพ เพิ่มความสบายใจ ไม่กระทบสภาพคล่องการเงิน ด้วยแผนความคุ้มครองที่เข้าใจง่าย
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิต/ช่องทางที่ดูแลท่าน
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา สืบค้น ณ วันที่ 22/04/2568