Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

ประกันชดเชยรายได้ เพื่อนคู่ใจวัยทำงาน ดีไหม จำเป็นแค่ไหน?

ประกันชดเชยรายได้ เพื่อนคู่ใจวัยทำงาน ดีไหม จำเป็นแค่ไหน?

สำหรับคนวัยทำงาน รายได้เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนชีวิต ทั้งในด้านการดูแลตนเอง การสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว และการวางแผนเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น รายได้ไม่ใช่เพียงตัวเลขในบัญชีธนาคาร แต่ยังสะท้อนถึงความสามารถ ความรับผิดชอบ และความพยายามของแต่ละบุคคลในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม การจัดการรายได้อย่างมีประสิทธิภาพและการมองหาช่องทางเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงิน ก็เป็นสิ่งที่คนวัยทำงานควรให้ความสำคัญ ประกันชดเชยรายได้ อาจเป็นตัวช่วยที่คนวัยทำงานเช่นคุณกำลังมองหา มันดีอย่างไร? ลองมาดูกัน



ยาวไปเลือกอ่านตามหัวข้อได้นะ


1. ทำความรู้จัก ประกันชดเชยรายได้ คือ

2. คนวัยทำงาน ทำไมต้องทำประกันชดเชยรายได้?

3. โรคที่คนวัยทำงานต้องระวัง


ประกันชดเชยรายได้ คือ


1. ทำความรู้จัก ประกันชดเชยรายได้ คือ


ประกันชดเชยรายได้ คือ รูปแบบหนึ่งของแผนความคุ้มครองจากประกันสุขภาพ ที่จะมีการจ่ายเงินชดเชยเมื่อผู้เอาประกันภัยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากอาการเจ็บป่วย โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินชดเชยรายได้ เมื่อนอนโรงพยาบาล ตามจำนวนที่ตกลงกันในสัญญากรมธรรม์


ซึ่งเงินจากประกันชดเชยรายได้ จะเข้ามาช่วยเป็นเงินสำหรับใช้จ่ายหมุนเวียน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับสภาพคล่องทางการเงิน และเป็นเงินทดแทนรายได้ที่ไม่ได้รับเพราะต้องหยุดงานเพื่อเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลนั่นเอง




ประกันชดเชยรายได้ จ่ายเงินอย่างไร?


รูปแบบการจ่ายเงินของประกันชดเชยรายได้ นอนโรงพยาบาล โดยหลัก ๆ คือทางบริษัทประกันจะจ่ายเงินชดเชยตามจำนวนวันที่ผู้เอาประกันภัยพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยจำนวนเงินที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองที่ผู้เอาประกันภัยเลือกและทำข้อตกลงสัญญากับทางบริษัทเอาไว้


ตัวอย่างเช่น นาย M เลือกแผนประกันที่ระบุในกรมธรรม์ว่าจะได้รับเงินประกันชดเชยรายได้กรณีพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เป็นจำนวนเงิน 2,000 บาท/วัน แล้วนาย M มีอาการเจ็บป่วยเข้าพักรักษาตัวเป็นเวลา 3 วัน เท่ากับว่าจะได้รับเงินชดเชยเป็นจำนวน 2,000 x 3 = 6,000 บาท


คนวัยทำงาน ทำไมต้องทำประกันชดเชยรายได้?


2. คนวัยทำงาน ทำไมต้องทำประกันชดเชยรายได้?


หากถามว่าคนวัยทำงาน ทำไมต้องเลือกทำประกันชดเชยรายได้ แอดขอยกตัวอย่างสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เมื่อคุณเจ็บป่วยและไม่สามารถไปทำงานได้ และประกันสุขภาพชดเชยรายได้จะเข้ามามีบทบาทอย่างไร ลองมาอ่านกัน



ไปทำงานไม่ได้ ไม่มีรายได้

สำหรับคนวัยทำงาน ไม่ว่าจะเป็นคนวัยทำงานที่อยู่คนเดียว หรือจะเป็นคนวัยทำงานที่มีครอบครัวต้องดูแล ต่างก็มีช่องทางการสร้างรายได้จากการทำงานตามสาขาอาชีพต่าง ๆ แต่ถ้าในวันหนึ่ง คุณเกิดเจ็บป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล และไม่สามารถมาทำงานได้ตามปกติ ก็จะมีผลกระทบต่อรายได้ เงินชดเชยจากประกัน จะเข้ามาช่วยเหลือตรงนี้ได้ แม้จะขาดรายได้เพราะต้องหยุดงาน


ค่าใช้จ่ายตอนนอนโรงพยาบาล

เมื่อต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องรับผิดชอบเพิ่มเข้ามา เช่น ค่าหมอ, ค่ายา, ค่าตรวจวินิจฉัยอาการ ฯลฯ ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่อาจไปกระทบกับเงินสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน วงเงินจากประกันชดเชยรายได้ นอนโรงพยาบาลจะเข้ามาช่วยแบ่งเบาไม่ให้แบกรับภาระทางการเงินหนักจนเกินไป


ลดภาระคนรอบข้าง

เมื่อคุณเจ็บป่วย และต้องมานอนโรงพยาบาล ทำให้คนในครอบครัวต้องมาเฝ้าไข้ หรือช่วยดูแล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเวลา และรายได้ของคนในครอบครัวไปด้วย แต่ถ้ามีเงินชดเชยรายได้จากประกัน ก็จะมีเงินส่วนนี้มาเสริมให้สามารถหมุนเวียนเงินได้คล่องตัวมากขึ้น


ไม่รบกวนเงินเก็บ

คนวัยทำงานที่มีเป้าหมายทำงานเก็บเงินเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น ไปเที่ยวต่างประเทศ, ศึกษาต่อ, ค่าดูแลบุตร ฯลฯ ต้องเอาเงินออมที่เก็บไว้เพื่อเป้าหมายอื่นมาใช้ก่อน


โรคที่คนวัยทำงานต้องระวัง


3. โรคที่คนวัยทำงานต้องระวัง


คนวัยทำงานจะเป็นช่วงวัยที่สภาพร่างกายค่อนข้างแข็งแรงสมบูรณ์ดี แต่ด้วยภาระหน้าที่การงานที่หนัก ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน การเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รวมทั้งการใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ จนไม่ทันได้ระมัดระวังตัว และชะล่าใจว่าตนเองยังอยู่ในช่วงวัยที่ร่างกายแข็งแรงดี เมื่อปล่อยไว้นาน ๆ ก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพขึ้นได้ โดยโรคที่มักจะพบในคนวัยทำงาน ได้แก่


ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานในท่าทางเดิมซ้ำๆ หรือการนั่งทำงานนานเกินไปในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง และข้อมือ บางรายอาจมีอาการชา หรือปวดร้าวลงแขนและขา หากปล่อยไว้นานอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น กระดูกสันหลังคด หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รวมถึงปัญหาสุขภาพจิตได้อีกด้วย


โรคกระเพาะ

โรคกระเพาะ (Gastritis) เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร สาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori การใช้ยาบางชนิด หรือพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม ความเครียดสะสม อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดแสบหรือปวดตื้อบริเวณลิ้นปี่ อาการท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งอาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร หากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลในกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งกระเพาะอาหาร


กรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) พบบ่อยในกลุ่มที่ชอบทานมื้อดึก พักผ่อนน้อย ชอบปาร์ตี้สังสรรค์ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อย ๆ สาเหตุเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคือง อาการที่พบบ่อย ได้แก่ แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว รู้สึกขมในคอ คลื่นไส้ เสียงแหบ หรือไอเรื้อรัง หากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร


ความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือภาวะที่ความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติ อาจไม่มีอาการชัดเจนในระยะแรก แต่บางรายอาจมีปวดศีรษะ วิงเวียน หน้ามืด หรือใจสั่น แต่เป็นอาการที่เป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายแรงอื่น ๆ หากปล่อยไว้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหลอดเลือดสมอง ไตวาย หรือหลอดเลือดแดงโป่งพอง


โรคหัวใจ

โรคหัวใจ (Heart Disease) เป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด สาเหตุสำคัญมักมาจากหลอดเลือดหัวใจตีบ การสะสมของไขมันในหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือการทำงานผิดปกติของหัวใจ อาการทั่วไป ได้แก่ เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย ใจสั่น หน้ามืด หรืออาจหมดสติ หากไม่ได้รับการรักษาอาจเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจวาย หรือเป็นอันตรายถึงชีวิต


โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ เนื่องจากการขาดอินซูลินหรือการดื้อต่ออินซูลิน มี 2 ชนิดหลัก คือ เบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์สร้างอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ อาการสำคัญ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำมาก น้ำหนักลด เหนื่อยง่าย และแผลหายช้า หากปล่อยไว้ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ ไตเสื่อม ตาบอด หรือเส้นประสาทเสื่อม


โรคไต

โรคไต (Kidney Disease) เป็นภาวะที่ไตทำงานบกพร่องในการกรองของเสียและขับถ่ายสารพิษออกจากร่างกาย แบ่งได้เป็นไตวายเฉียบพลันและไตเรื้อรัง สาเหตุสำคัญมักเกิดจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อ หรือการใช้ยาบางชนิด อาการที่พบบ่อย ได้แก่ บวมที่ขาและหน้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะผิดปกติ หรือปวดหลัง หากรุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้


เพราะคนวัยทำงานต้องรับมือกับหลาย ๆ เรื่อง ทั้งภาระหน้าที่ และเรื่องของสุขภาพ ด้วยเหตุนี้ การรับความคุ้มครองด้านสุขภาพในรูปแบบของประกันชดเชยรายได้ จึงสามารถเข้ามาช่วยเหลือตรงส่วนนี้ได้ ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินทดแทนค่าจ้าง เป็นเงินที่ช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินได้


ในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน การมีประกันสุขภาพไม่เพียงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับคนวัยทำงาน ดังนั้น การตัดสินใจเลือกประกันสุขภาพที่เหมาะสม จึงถือเป็นการลงทุนสำคัญเพื่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาวของเหล่าคนวัยทำงานทุกคน


  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา สืบค้น ณ วันที่  16/01/68


🔖Kbank
🔖Paolo Hospital


สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ