Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

รู้จักมะเร็งหัวใจ เตรียมรับมืออย่างไร เมื่อหัวใจไม่สบาย?

รู้จักมะเร็งหัวใจ เตรียมรับมืออย่างไร เมื่อหัวใจไม่สบาย?

เมื่อหัวใจป่วย จะเกิดอะไรขึ้น? ยิ่งป่วยเป็นมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ หรือ มะเร็งหัวใจ ที่คนรู้จักกันน้อย ยิ่งต้องเตรียมรับมือไว้  โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติเผยจากสถิติทั่วโลก รวมถึงไทย ว่า “มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ” เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีโอกาสพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย มีอัตราการเกิดโรคอยู่ที่ 0.1 ต่อประชากร 1 ล้านคน ซึ่งสำหรับประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่อยู่ที่ 5-7 คนต่อปี ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก มะเร็งหัวใจกันดีกว่าว่าเป็นอย่างไร เช่น มะเร็งหัวใจระยะสุดท้าย ต้องสังเกตอย่างไร มะเร็งหัวใจ หัวใจเต้นเร็วไหม หรือมะเร็งหัวใจ มีกี่ระยะ เพื่อจะได้เรียนรู้และเตรียมสังเกตอาการได้เอง เพราะไม่รู้ว่าโรคร้ายจะมาเยือนเราตอนไหน เตรียมตัวรับมือไว้อุ่นใจกว่า


1. มะเร็งหัวใจ โรคที่พบได้น้อยแต่ร้ายแรง

2. สาเหตุของมะเร็งหัวใจ

3. อาการของคนเป็นโรคมะเร็งหัวใจ

4. การรักษามะเร็งหัวใจ

5. การป้องกันเพื่อไม่ให้เป็นมะเร็งหัวใจ


มะเร็งหัวใจ คืออะไร

1. มะเร็งหัวใจ โรคที่พบได้น้อยแต่ร้ายแรง


มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ หรือ มะเร็งหัวใจ เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย และอย่างที่บอกไปว่า มะเร็งหัวใจ เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก โดยจะมีการแพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่น เช่น ปอด เต้านม ลำไส้ เป็นต้น ซึ่งจะแพร่มาที่ผนังหัวใจ ด้านนอกและช่องเยื่อบุหัวใจ แต่มะเร็งที่เกิดในหัวใจเอง มักเป็นในผนังชั้นกลาง จึงเป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ผนังหลอดเลือด หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจ 


ทำไมมะเร็งหัวใจถึงน่ากังวล?


มะเร็งหัวใจ เป็นโรคมะเร็งที่ค่อนข้างหายาก และมักถูกวินิจฉัยในระยะที่โรคค่อนข้างรุนแรงแล้ว เนื่องจากอาการในระยะเริ่มแรก มักคล้ายคลึงกับโรคหัวใจอื่น ๆ ทำให้ถูกเข้าใจผิดได้ ซึ่งข้อน่ากังวลของมะเร็งหัวใจมีดังนี้


  • พบได้น้อย ทำให้การวินิจฉัยและการรักษาอาจมีความล่าช้า
  • อาการคล้ายโรคอื่น ทำให้การวินิจฉัยล่าช้า
  • ร้ายแรง มะเร็งหัวใจมักเติบโตเร็วและแพร่กระจายได้รวดเร็ว


มะเร็งหัวใจ มีกี่ชนิด


โดยทั่วไปมะเร็งหัวใจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดหลัก ๆ คือ


  • มะเร็งหัวใจปฐมภูมิ (Primary cardiac cancer) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อของหัวใจเอง ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดในหัวใจก็ตาม เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ เป็นต้น มะเร็งชนิดนี้พบได้น้อยมาก
  • มะเร็งหัวใจทุติยภูมิ (Secondary cardiac cancer) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นจากการลุกลามของเนื้อเยื่อมะเร็ง จากอวัยวะอื่นมาที่หัวใจ ซึ่งมักจะมาจากมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น มะเร็งชนิดนี้พบได้บ่อยกว่าชนิดแรก


2. สาเหตุของมะเร็งหัวใจ


เพราะมะเร็งหัวใจ เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก ปัจจุบันจึงยังไม่ทราบถึงาเหตุที่ชัดเจน แม้ว่าจะมีการศึกษาและวิจัยอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่คาดว่า อาจมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งหัวใจ เช่น


  • พันธุกรรม บางคนอาจมีพันธุกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้
  • การสัมผัสสารเคมีบางชนิด การสัมผัสสารเคมีบางประเภทอาจเป็นปัจจัยเสี่ยง
  • การได้รับรังสี การได้รับรังสีในปริมาณมาก อาจมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้ได้
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจมีความเสี่ยงสูงขึ้น


*แต่ปัจจัยเหล่านี้ยังคงเป็นเพียงการคาดการณ์ และยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัด พอที่จะยืนยันได้ว่าเป็นสาเหตุโดยตรงของการเกิดมะเร็งหัวใจ


มะเร็งหัวใจ อาการ

3. อาการของคนเป็นโรคมะเร็งหัวใจ


มะเร็งหัวใจ มักจะมาด้วยอาการเหล่านี้ ได้แก่


  • หน้าบวม
  • คอบวม
  • หลอดเลือดดำที่คอโป่ง
  • ตับโต
  • ท้องมานเพราะมีน้ำในช่องท้อง
  • ขาบวมกดบุ๋มทั้งสองข้าง
  • มีอาการเหนื่อยหอบ โดยเฉพาะเมื่อออกแรง


การรักษามะเร็งหัวใจ

4. การรักษามะเร็งหัวใจ


มะเร็งหัวใจ เป็นโรคที่ค่อนข้างหายาก และการรักษาก็มีความซับซ้อนมากกว่าโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญต่อร่างกาย การรักษาจึงต้องคำนึงถึงทั้งการกำจัดเซลล์มะเร็ง และการรักษาประสิทธิภาพ การทำงานของหัวใจไปพร้อมกัน ซึ่งการรักษามะเร็งหัวใจ จะเป็นการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกให้หมด ด้วยการผ่าตัดเปิดหัวใจโดยตรง (Open heart surgery) และรักษาต่อเนื่อง ด้วยการให้ยาเคมีบำบัด ตามชนิดของแต่ละเซลล์มะเร็ง ซึ่งโดยปกติ ผนังหัวใจด้านขวาบนและล่างอาจตัดออกได้ แต่ถ้าลุกลามมาถึงหลอดเลือดแดงหัวใจ ก็อาจต้องต่อทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ จึงจะเป็นการปลอดภัยต่อชีวิต และป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่สำคัญการรักษาร่วม ทั้งผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง จะขึ้นกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกวิธีการรักษาดังนี้


  • ชนิดและระยะของมะเร็ง มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการตอบสนองต่อการรักษาที่แตกต่างกัน
  • ขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก ขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก จะส่งผลต่อการเลือกวิธีการผ่าตัด
  • สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรง จะสามารถรับการรักษาได้หลากหลายวิธี มากกว่าผู้ป่วยที่มีสุขภาพอ่อนแอ


แม้ว่ามะเร็งหัวใจจะเป็นโรคที่ร้ายแรง แต่ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ การรักษามะเร็งหัวใจในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ป่วยหลายรายสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


5. การป้องกันเพื่อไม่ให้เป็นมะเร็งหัวใจ


สำหรับการป้องกันมะเร็งหัวใจ แม้จะยังไม่แน่ชัดถึงสาเหตุที่แท้จริง แต่การดูแลสุขภาพที่ดีก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสาเหตุของมะเร็งหัวใจยังไม่ชัดเจน การป้องกันโรคนี้โดยตรงจึงทำได้ยาก แต่การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ก็เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้หลายชนิด รวมถึงมะเร็งหัวใจด้วย มาดูแนวทางการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันมะเร็งกันเลย


  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผักผลไม้หลากสีสัน ธัญพืชไม่ขัดสี โปรตีนจากปลา และลดอาหารแปรรูป อาหารทอด และอาหารที่มีไขมันสูง
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกาย จะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังต่าง ๆ และช่วยควบคุมน้ำหนัก
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ไม่สูบบุหรี่ ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตราย
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ การตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะช่วยให้พบโรคในระยะเริ่มต้น และสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที
  • ควบคุมน้ำหนัก การมีน้ำหนักเกิน หรืออ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งหลายชนิด
  • จัดการความเครียด ความเครียดเรื้อรัง อาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ลองหาวิธีผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ โยคะ ดูหนังที่ชอบ อ่านหนังสือสักเล่ม หรือฟังเพลงก็ได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเอง


ถึงแม้ยังไม่มีวิธีที่สามารถป้องกันมะเร็งได้ 100% การดูแลสุขภาพที่ดี ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่เสี่ยงโรคมะเร็งวางแผนสุขภาพไว้ก่อน จะได้ไม่ปวดใจกับค่ารักษา เพราะ ชีวิต “คุณ” ก็สำคัญ เลือกความคุ้มครองที่จำเป็นสำหรับคุณ เลือก Care Plus คุ้มครองรักษามะเร็ง และไตวายเรื้อรัง วงเงินค่ารักษา 5 ล้านบาท ต่อโรค ต่อปี เบี้ยไม่ถึง 12 บาทต่อวัน* ครอบคลุมทั้ง IPD และ OPD เข้าถึงการรักษาที่ทันสมัย การตรวจวินิจฉัยขั้นสูง MRI, CT Scan, PET Scan เข้าถึงการรักษามะเร็งที่ทันสมัย ยามุ่งเป้า Targeted Therapy, ภูมิคุ้มกันบำบัด Immunotherapy, การปลูกถ่าย Stem Cell และ ทางเลือกการรักษาไตวายเรื้อรัง ล้างไตทางผนังช่องท้อง, ล้างไตแบบประสิทธิภาพสูง, ปลูกถ่ายไต สมัครได้ถึง 80 ปี คุ้มครองยาวถึงอายุ 99 ปี


รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร. 1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ สนใจติดต่อตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิต หรือ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ทุกสาขา


*สำหรับผู้เอาประกันภัย เพศชาย อายุ 40 ปี เลือกความคุ้มครองสำหรับโรคมะเร็งและไตวายเรื้อรัง แผน 5 ล้านบาท และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

  • ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคมะเร็งและ/หรือโรคไตวายเรื้อรัง ดังกล่าว จะจ่ายสำหรับวิธีการบำบัดรักษาตามที่บริษัทฯ กำหนด
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย  
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้น ณ วันที่ 24/09/67

🔖 Thai PBS

🔖 โรงพยาบาลพญาไท

🔖 โรงพยาบาลวิภาวดี

🔖 PPTV

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ