เผลอแป๊บเดียวใกล้สิ้นปี 2564 กันแล้ว โควิด 19 ก็ยังไม่ไปไหน แต่ชีวิตยังต้องดำเนินเดินต่อและที่สำคัญภาษีของปี 2564 ก็ต้องเตรียมให้พร้อมเพื่อนำไปยื่นในปี 2565 ดังนั้นผู้มีรายได้ทุกคนอย่าลืมประเมินรายได้คำนวณอัตราการเสียภาษีของตัวเอง และมองหาตัวช่วยเพื่อขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกันด้วยล่ะ โดยเฉพาะการเลือกซื้อประกันที่หลายคนยังสงสัยอยู่ว่าประกันแบบไหน ถึงจะได้สิทธิลดหย่อนภาษี และสามารถนำไปลดหย่อนได้เท่าไร เงื่อนไขที่ควรสังเกตมีอะไรบ้าง เรามาดูไปพร้อม ๆ กัน
อย่างที่ทราบกันว่าการที่ผู้มีรายได้จะได้สิทธิลดหย่อนภาษีผ่านประกันเป็นหนึ่งในมาตรการของภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีหลักประกันทางสังคมสำหรับตัวเองและครอบครัว นอกเหนือจากประกันสังคม และประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยประเภทประกันที่เราสามารถนำมาขอใช้สิทธิเพื่อลดหย่อนภาษีได้มีดังนี้
ประกันชีวิต ประกันที่ให้ความคุ้มครองหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันกับผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทจะจ่ายเงินตามทุนประกันที่ทำไว้แก่ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ เช่น สามีภรรยา บุคคลในครอบครัว เป็นต้น ซึ่งประกันชีวิตที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ, ประกันชีวิตแบบ Unit-Linked, ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term) เป็นต้น
เกณฑ์ลดหย่อนภาษี
ที่มา : Finnomena
ประกันสุขภาพ เรียกได้ว่าเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่คอยดูแลค่ารักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นค่าห้อง ค่ายา ค่าหมอ และค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ต่าง ๆ ระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยที่ไม่ต้องควักเงินเก็บเพื่อนำมาจ่ายเอง นอกจากนี้รู้หรือไม่ว่าเบี้ยประกันสุขภาพนั้นสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ซึ่งแบบประกันที่สามารถนำไปใช้สิทธิได้มีดังนี้
เกณฑ์ลดหย่อนภาษี
ที่มา : Finnomena
ประกันสุขภาพของบิดา มารดา ประกันที่ตอบโจทย์ช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับพ่อแม่ของเรา หมดความกังวลกับค่ารักษา หากในยามที่ท่านเจ็บป่วย หรือไม่สบาย ยังมีประกันสุขภาพที่ช่วยคุ้มครองครอบคลุมการรักษา ไม่ส่งผลกระทบต่อเงินเก็บ และที่สำคัญเป็นอีกหนึ่งในประกันที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
เกณฑ์ลดหย่อนภาษี
ที่มา : Finnomena
ประกันชีวิตแบบบำนาญ หนึ่งในประกันเพื่อการออมที่เน้นผลตอบแทนมากกว่าความคุ้มครอง ซึ่งหากใครอยากวางแผนถึงเงินเก็บในอนาคตของชีวิตหลังวัยเกษียณ ประกันชีวิตแบบบำนาญถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม และไม่ได้จ่ายคืนในระหว่างทางที่ทำเหมือนประกันออมทรัพย์ แต่จะเป็นการจ่ายคืนให้ในรูปแบบของ “เงินบำนาญ” ทุก ๆ ปี หรือทุก ๆ เดือน ตั้งแต่เริ่มเกษียณ (อายุ 55 ปีเป็นต้นไป) จนถึงอายุที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ ที่สำคัญเราสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย รายละเอียดมีดังนี้
เกณฑ์ลดหย่อนภาษี
ที่มา : Finnomena
ใกล้สิ้นปีหลายคนเลือกซื้อประกันเพราะมองถึงสิทธิในการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม ซึ่งไม่เป็นสิ่งที่ผิด แต่อีกจุดหนึ่งของการซื้อประกันที่เราไม่ควรมองข้ามคือความคุ้มครองที่เราจะได้รับคู่กับสิทธิลดหย่อนภาษีนั่นเอง โดยเคล็ดกับการเลือกซื้อประกันเพื่อการลดหย่อนภาษี ข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ มีดังนี้
นอกจากนี้เราต้องไม่ลืมคำนวณทุนประกันที่เหมาะสมกับฐานะ เพื่อให้เราสามารถจ่ายเบี้ยคุ้มครองได้ตลอดรอดฝั่ง โดยวิธีการคำนวณทุนประกันง่าย ๆ ให้ดูว่าเรามีรายรับรายจ่ายเท่าไหร่ และหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน เราจะต้องมีทุนประกันคุ้มครองเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้ไม่เป็นภาระกับคนในครอบครัว
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
สุดท้ายหลายคนน่าจะมีคำตอบในใจแล้วว่า ประกันแบบไหนถึงตอบโจทย์ความคุ้มครองและสามารถลดหย่อนภาษีให้แก่เราได้ด้วย ซึ่งหากอยากได้รับผลประโยชน์ต่าง ๆ เต็มประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงเรื่องของการเงิน เพิ่มความสุขให้กับการใช้จ่ายในบั้นปลายชีวิต อีกทั้งยังสามารถเลือกรับความคุ้มครองที่ตรงใจ ตรงกับเป้าหมายในอนาคตที่เราวางไว้ ขอแนะนำ โครงการเมืองไทย รีเทิร์น รีไทร์ ที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท ทั้งยังการันตีรายได้หลังเกษียณแม้ไม่ได้ทำงาน จ่ายเบี้ยสั้นเพียง 5 ปี ก็มีเงินบำนาญใช้ไปจนถึงอายุ 85 ปี ปีละ 20%(1) พร้อมคุ้มครองชีวิตในช่วงก่อนเกษียณสูงสุด 150%(2) รีไทร์อุ่นใจ เพราะได้รีเทิร์นแบบชัวร์ ๆ มีเงินใช้หลังเกษียณทุกปี
ซึ่งหากใครไม่อยากชำระเบี้ยเงินก้อนแบบรายปี ก็สามารถเลือกชำระในแบบรายเดือน หรืออีกทางเลือกที่น่าสนใจคือตอนนี้สามารถผ่อนค่าเบี้ย 0% สูงสุด 6 เดือน หรือแลกรับเงินเครดิตเงินคืนสูงสุด 14% ซื้อเลย !
(1) เป็น % ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ณ วันเริ่มสัญญา
(2) เป็น % ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้ว
หมายเหตุ
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 06/10/64
🔖 Finnomena (ข้อมูล ณ วันที่ 24/04/64)
🔖 SET (ข้อมูล ณ วันที่ 24/04/64)
🔖 Finnomena (ข้อมูล ณ วันที่ 10/02/64)
🔖 กรุงเทพธุรกิจ (ข้อมูล ณ วันที่ 01/11/63)
🔖 SET (ข้อมูล ณ วันที่ 24/04/64)