ด้วยสถานการณ์โควิด 19 ที่กำลังแพร่ระบาดเป็นวงกว้างอยู่ในขณะนี้ ทำให้หลายคนต้อง Work From Home หรือต้องปรับห้องนอนเป็น Bedroom Workspace อาจจะทำให้เราโดยเรียกหาจาก ‘เตียง’ ให้มาจัดท่าทางนั่งทำงาน เพื่อลดความเมื่อยล้าจากการนั่งโต๊ะทำงานทั้งวัน ความสบายที่ได้นอนพร้อมทำงานไปด้วย อาจจะทำให้เรากลายเป็น Work From Bed ไปได้ หลังจากตื่นนอนเราก็อาจจะเปลี่ยนจากการลุกไปแปรงฟัน เปลี่ยนเป็นลุกไปหยิบคอมพิวเตอร์ กลับมาทำงานบนเตียง ไม่ว่าจะปั่นงาน ส่งอีเมล ประชุม ตลอดวัน มีก็แค่การลุกไปเข้าห้องน้ำ หรือกินมื้ออาหารเท่านั้น ซึ่งรู้หรือไม่ว่าความสบายที่คุณคิดว่าเตียงมอบให้เราระหว่างนั่ง ๆ นอน ๆ ทำงาน อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาการบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อ
เตียงนอนไม่ได้ถูกออกแบบมาใช้ หรือให้เราสามารถนั่งทำงานได้ตลอดทั้งวัน ดังนั้นการ Work From Bed ที่หลายคนกำลังทำอยู่ และอ้างว่านี่คือความสบายนั้น อาจกลายเป็นฝันร้ายทำลายสุขภาพของกล้ามเนื้อ คอ หลังและสะโพก ในระยะยาวได้ดังนี้
ดังนั้นคนทำงานวัยหนุ่มสาวจะมีอันตรายมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ เนื่องจากไม่ค่อยมีอาการปวดขณะทำงานบนเตียง แต่ในอนาคตหรือเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายแก่ตัวลง อาจเป็นโรคและบาดเจ็บทางสรีรศาสตร์(ergonomic) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้ และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ถูกสุขลักษณะ และเหมาะกับสภาพร่างกาย เพื่อให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด มีความรวดเร็ว ปราศจากความเครียดในการทำงาน แต่ถ้าหากท่าทางและสภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ และอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและข้อได้
ความจริงแล้วการนั่งทำงานให้ถูกตามหลักสรีรศาสตร์ เพื่อลดความอ่อนล้า ปวดเมื่อย อาการบาดเจ็บ หรือให้ห่างโรคออฟฟิศซินโดรม ควรเลือกใช้โต๊ะทำงาน และเก้าอี้ที่เหมาะสม นั่งสบายรับกับร่างกายของเรา แต่ด้วยสถานการณ์บังคับ หลายคนอาจยังไม่พร้อมในเรื่องของอุปกรณ์และสถานที่ จึงจำเป็นต้อง Work From Bed เฉพาะกิจไปก่อน ดังนั้นเราจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อเลี่ยงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
สุดท้ายหากต้อง Work From Home ในระยะยาว การ Work From Bed จึงไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดต่อการทำงานในทุกวัน ถ้าเรามีโต๊ะ เก้าอี้ มุมทำงานที่เหมาะสม รวมถึงหมั่นบริหารร่างกายอยู่เป็นประจำก็จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้
Work From Home หรือ Work From Bed เป็นเวลานาน อาการเมื่อยล้า เริ่มถามหาแน่นอน ทางที่ดีให้ลองปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน ขยับเขยื้อน ยืดกาย คลายเส้น กับ 4 ท่าบริหารลดความเสี่ยง เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ หรือโรคออฟฟิศซินโดรมกันดีกว่า
หากคุณไม่มีมุมโต๊ะทำงานเป็นสัดส่วน คุณก็สามารถจัดโต๊ะกินข้าวเฉพาะกิจเพื่อ Work From Home ได้เช่นกัน และดีกว่าการ Work From Bed แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเรามาเซ็ตเก้าอี้ โต๊ะทำงาน ตำแหน่งการนั่ง ให้บาลานซ์กับสรีระของเราตามหลักเออร์โกโนมิกส์ จะช่วยให้ทำงานได้สะดวกรวดเร็ว ปราศจากความเครียดในการทำงาน นอกจากนั้นยังช่วยให้ได้ชิ้นงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นเรามาดูกัน
1. ปรับตัวเราให้เหมาะกับโต๊ะ หรือเก้าอี้ที่ทำงาน
2. ปรับโต๊ะ เก้าอี้ที่ทำงาน ให้เหมาะกับเรา
เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยให้เราห่างไกลจากอาการปวดเมื่อย และที่สำคัญไม่ควรนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ และควรลุกขึ้นยืน เดิน ขยับร่างกาย เปลี่ยนอิริยาบถ อย่างน้อย 5-10 นาทีทุก ๆ 50 นาที
สุดท้ายถ้าหากไม่อยากให้ร่างกายพบกับความเสี่ยง อาการบาดเจ็บ หรือปวดเมื่อยจากพฤติกรรมการทำงานที่ผิดท่าทางและไม่เหมาะสม ก็ควรปรับเปลี่ยนวิถี Work From Bed ก่อนที่มันจะสายเกินไป เพราะอาการบาดเจ็บนั้นไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ หากเป็นแล้วไม่ได้รักษาเพียงแค่ครั้งเดียวแล้วจบ
เพิ่มความอุ่นใจให้กับการใช้ชีวิตที่เหมาะสำหรับทุกเจเนเรชัน ด้วยแผนความคุ้มครองสุขภาพที่ครอบคลุม คุ้มครองทั้ง โรคโควิด 19 การแพ้วัคซีนโควิด 19 โรคระบาด โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เหมาจ่ายค่ารักษาตามจริง หากเจ็บป่วยขึ้นมา ก็สามารถเข้าพักรักษาได้ทุกโรงพยาบาล เลือกวงเงินความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 200,000 – 100,000,000 บาท ต้องการแบบไหนก็เลือกได้ ดูแลสุขภาพยาว ๆ สมัครได้ตั้งแต่อายุ 11 – 80 ปี จนถึงอายุ 99 ปี* เลือกประกันสุขภาพแบบที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ คลิก หรือ โทร.1766
*สำหรับความคุ้มครองสุขภาพ อีลิท เฮลท์ และ ดีเฮลท์
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 20/08/64
🔖 Sanook (ข้อมูล ณ วันที่ 01/06/64)
🔖 สสส. (ข้อมูล ณ วันที่ 25/05/64)
🔖 Brand Inside (ข้อมูล ณ วันที่ 09/03/64)
🔖 กรุงเทพธุรกิจ (ข้อมูล ณ วันที่ 19/05/64)
🔖 ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล (ข้อมูล ณ วันที่ 16/07/64)
🔖 สสส. (ข้อมูล ณ วันที่ 16/03/64)