Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

Fibro Content 2024 Resize 800x500 Px Card


ไขมันพอกตับ รู้ก่อนเสี่ยงตรวจโดยง่าย ได้ผลเร็วด้วย ไฟโบรสแกน


           ใครคิดว่าแค่คนน้ำหนักมากเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์เป็นโรคไขมันพอกตับ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นคนที่มีน้ำหนักไม่มาก หรือไม่อ้วนก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไขมันพอกตับได้เหมือนกัน โดยวันนี้เมืองไทยสไมล์คลับ จะขอพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับโรคไขมันพอกตับ และการตรวจสุขภาพตับด้วยไฟโบรสแกน รวมถึงในท้ายบทความนี้ เรายังมีโปรโมชั่นดีๆ มาฝากสำหรับสมาชิกเมืองไทยสไมล์คลับอีกด้วย
 
      • ไขมันพอกตับ คืออะไร

           ไขมันพอกตับ คือ ภาวะการสะสมไขมันในตับที่มากเกินไป คือ มากกว่า 5% ของน้ำหนักตับ จะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งนำไปสู่การเกิดตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ในที่สุด
           ปกติร่างกายใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งมาจาก 2 แหล่งใหญ่ๆ คือหน้าท้องและตับ ไขมันที่ตับนับเป็นแหล่งพลังงานใหญ่ที่สุด หากเกิดการสะสมของไขมันที่ตับมากๆ จะส่งผลให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับได้ในที่สุด

      • สาเหตุของโรคไขมันพอกตับ

           โรคไขมันพอกตับเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ
           1. ไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol fatty liver disease) เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก (การดื่มในระดับมาตรฐานหมายถึงการดื่มไวน์วันละ 1 แก้ว สำหรับผู้หญิงและไม่เกิน 2 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย) ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยไขมันพอกตับจากการดื่มประมาณ 5%
           2. ไขมันพอกตับที่ไม่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ Non-alcohol related fatty liver disease (NAFLD) (Non-alcoholic fatty liver disease; NAFLD) เกิดขึ้นในผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะนี้ส่งผลต่อผู้ใหญ่ 1 ใน 3 คนและเด็ก 1 ใน 10 คนในสหรัฐอเมริกาพบอุบัติการณ์ในผู้ใหญ่ประมาณ 25-30% ของประชากรผู้ใหญ่ทั้งหมด และในเด็กประมาณ 10%



      • การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ

           1. การตรวจเลือด ในภาวะไขมันพอกตับระยะเริ่มต้น ค่าการทำงานของตับมีค่าปกติได้ แต่ในรายที่มีตับอักเสบจากไขมันพอกตับร่วมด้วย จะพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ
           2. การตรวจอัลตร้าซาวด์ สามารถตรวจพบไขมันพอกตับได้ เมื่อมีการสะสมไขมันในตับมากกว่า 30% แต่ก็มีข้อจำกัดในรายที่มีผนังหน้าท้องหนา
           3. การตรวจชิ้นเนื้อตับ
           4. การตรวจด้วยเครื่องไฟโบรสแกน (FibroScan) เนื่องจากโรคไขมันพอกตับมักไม่มีอาการ แพทย์อาจตรวจพบระดับเอนไซม์ตับที่สูงขึ้น จากการตรวจเลือดเพื่อหาภาวะอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้
             o อัลตร้าซาวด์หรือการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เพื่อให้ได้ภาพตับ
             o การตรวจชิ้นเนื้อตับ (ตัวอย่างเนื้อเยื่อ) เพื่อระบุว่าโรคตับลุกลามไปมากน้อยเพียงใด
             o ไฟโบรสแกน (FibroScan) เป็นการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ ซึ่งตรวจได้โดยง่าย ได้ผลเร็ว และไม่เกิดความเจ็บปวดใดๆ

           นอกจากนี้ยังสามารถช่วยการวินิจฉัยในรายที่มีพังผืดมากเสี่ยงต่อภาวะตับแข็งในระยะแรกๆ ได้ ซึ่งเป็นอัลตร้าซาวด์พิเศษที่ใช้แทนการตรวจชิ้นเนื้อตับเพื่อหาปริมาณไขมันและเนื้อเยื่อแผลเป็นในตับ ซึ่งตรวจง่ายได้ผลเร็วโดยไม่ได้รับความเจ็บปวดใดๆ อีกทั้งยังสามารถช่วยวินิจฉัยผู้ที่เป็นตับแข็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรก นอกจากนี้ยังสามารถติดตามผล และประเมินระดับความรุนแรงของตับแข็งและช่วยในการวางแผนรักษาไขมันพอกตับต่อไป



     • ผู้ที่ควรตรวจไฟโบรสแกน

             o ผู้ป่วยโรคตับที่มีผลเลือดค่าการทำงานตับ AST/ALT มากกว่า 1
             o ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เรื้อรังทุกราย
             o ผู้ป่วยที่มีการดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
             o ผู้ที่รับประทานยา หรือสมุนไพร ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
             o ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับมากกว่าคนปกติ ถึง 4 เท่า
             o ภาวะอ้วนลงพุง โรคอ้วน
             o ผู้ป่วยภาวะไขมันพอกตับที่อายุมากกว่า 45 ปี
             o ผู้ป่วยไขมันพอกตับที่มีข้อห้าม หรือปฎิเสธการเจาะตับ


           พิเศษ! สำหรับสมาชิกเมืองไทยสไมล์คลับให้คุณได้ดูแลสุขภาพตัวคุณและคนที่คุณรักโดยการตรวจสุขภาพตับเพื่อรับมือกับความเสี่ยงก่อนเกิดโรคไขมันพอกตับ เพียงใช้คะแนนสะสม Smile Point เริ่มต้นที่ 380 Smile Points แลกรับโปรแกรมตรวจตรวจสุขภาพตับ Fibro Scan จากเครือโรงพยาบาลสมิติเวช ทั้งนี้ สมาชิกฯ สามารถแลกคะแนนกดรับสิทธิ์ได้ที่ MTL Click Application และเข้ารับบริการได้ ณ โรงพยาบาลที่ร่วมโครงการ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม  คลิกที่นี่



 ขอขอบคุณข้อมูลประกอบบทความ ดังนี้

- บทความ เรื่อง “ไขมันพอกตับ ไม่อ้วนก็เป็นได้” นพ. ปฏิพัทธ์ ดุรงค์พงศ์เกษม อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท