Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

Cover นโยบายการบริหารความเสี่ยง 715 388

       การบริหารความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบริหารจัดการอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง และการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักบรรษัทภิบาล (Corporate Governance) โดยการบริหารความเสี่ยงเป็นแนวคิดการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ภายใต้การแข่งขันเสรีที่ภาคธุรกิจและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่างๆที่อาจทำให้บริษัทไม่สามารถประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

       บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ จึงได้ดำเนินการให้มีโครงสร้างการกำกับดูแลความเสี่ยง เพื่อบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติตามมาตรฐานสากล เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทฯ อย่างดีที่สุด บริษัทฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมการบริหารความเสี่ยงต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรและเพิ่มความสามารถในการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับพันธกิจและวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางแนวทางในการบริหารความเสี่ยงโดยครอบคลุมเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้

       1. จัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหน่วยงานในการบริหารความเสี่ยงที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบการดำเนินงาน และมีการกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ และลำดับขั้นการรายงานอย่างชัดเจน ซึ่งสนับสนุนต่อการสร้างวัฒนธรรมการตระหนักถึงความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร

       2. ระบุประเภทความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ประเภทของความเสี่ยงที่บริษัทฯ มี และกำหนดระดับความเสี่ยงที่มุ่งหวัง (Risk Appetite) ช่วงความเบี่ยงเบนที่ยอมรับได้ (Risk Tolerance) โดยมีการพิจารณาจากความพร้อมในการบริหารและความสามารถในการรองรับความเสี่ยงดังกล่าว

       3. มีวิธีการวัดและประเมินความเสี่ยงที่สามารถสะท้อนความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม

       4. มีการกำหนดแนวทางและวิธีการควบคุมความเสี่ยงต่างๆ ทั้งนี้ บริษัทฯ อาจกำหนดนโยบายให้มีการปิดความเสี่ยงที่ไม่มีระบบบริหารความเสี่ยงรองรับหรือไม่สามารถบริหารความเสี่ยงนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือกำหนดให้มีการใช้เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ แนวทางที่ใช้ต้องสอดคล้องกับลักษณะการดำเนินธุรกิจ ความพร้อมของระบบงาน บุคลากร และระบบข้อมูลที่บริษัทฯ

       5. มีการรายงานและติดตามความเสี่ยง โดยบริษัทฯ ได้จัดให้มีผู้ที่มีหน้าที่ดูแลบริหารความเสี่ยงคอยติดตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและรายงานผลให้ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัทได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ

       6. กำหนดให้มีกระบวนการการบริหารความเสี่ยงของกิจกรรมหลักตามที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยกำหนด อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงและความซับซ้อนของบริษัทฯ โดยจะต้องสามารถสะท้อนความเสี่ยง รองรับการวัด การบริหาร การควบคุมและติดตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมหลักนั้นได้

       1) เพื่อให้มั่นใจว่าความเสี่ยงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทฯ จะได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบและอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่มุ่งหวัง (Risk Appetite) และช่วงความเบี่ยงเบนที่ยอมรับได้ (Risk Tolerance) ของบริษัทฯ
       2) เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรของบริษัทฯตระหนักถึงความเสี่ยงและแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง ตลอดจนความจำเป็นและความสำคัญของการมีระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
       3) เพื่อพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญและทักษะของบุคลากรตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง

นโยบายด้านอื่น ๆ