Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

จุดจบสายอั้น ! เสี่ยงโรคขี้เต็มท้อง

จุดจบสายอั้น ! เสี่ยงโรคขี้เต็มท้อง

ปวดแค่ไหนยังไงก็ห้ามอั้น ! ไม่อย่างนั้นอาจเสี่ยงปัญหาสุขภาพโรคขี้เต็มท้อง หรือภาวะอุจจาระอุดตัน การขับถ่ายถือเป็นเรื่องสำคัญแต่คนส่วนใหญ่มักละเลย อาจเป็นเพราะกิจวัตรประจำที่เราทำกันจนเคยชิน เช่น การเดินทางที่รถติดอยู่บนถนนเป็นเวลานาน ปวดท้องยังไงก็ต้องทนให้ไหว ติดประชุมทำให้ต้องกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระบ่อย ๆ หรือทำงานเพลินจนไม่อยากลุกมาเข้าห้องน้ำ ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้แหละเป็นจุดเริ่มต้นของโรคขี้เต็มท้อง หรือ ภาวะอุจจาระอุดตัน


วันนี้มาทำความรู้จักกับโรคขี้เต็มท้อง หรือภาวะอุจจระอุดตัน ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ? พฤติกรรมแบบไหนที่มีความเสี่ยงพร้อมวิธีป้องกันความเสี่ยงไม่ให้ป่วยเป็นโรคนี้ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน !


โรคขี้เต็มท้อง ปวดท้อง


โรคขี้เต็มท้อง หรือภาวะอุจจาระอุดตัน คืออะไร ?


ใครที่ชอบอั้นต้องรู้ ! เราจะมาเริ่มทำความรู้จักกับโรคขี้เต็มท้อง หรือภาวะอุจจาระตันกันก่อนว่าคืออะไร ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า ใครที่ขับถ่ายออกทุกวัน หรือถ่าย 2 วันครั้ง ยังถือว่าขับถ่ายเป็นปกติ แต่ถ้าเมื่อไหร่เริ่มมีอาการท้องผูก ซึ่งหมายถึงมีการขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ นั่นหมายถึงการมีอุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้เป็นเวลานาน ไม่ได้ขับถ่ายออกมา ก้อนอุจจาระที่ถูกดูดน้ำออกไปทุกวันก็จะแห้งหรือแข็งขึ้น และพอเราไม่ได้ระบายออก อาจจะเพราะอั้นไว้หรือไม่สะดวกเข้าห้องน้ำในช่วงเวลานั้นทันที ก็จะทำให้ขับถ่ายยาก จึงเป็นที่มาของโรคขี้เต็มท้อง


สรุปง่าย ๆ ก็คือโรคขี้เต็มท้อง หรือภาวะอุจจาระอุดตัน เป็นภาวะท้องผูกรุนแรง เกิดจากการมีอุจจาระแห้งและอุดตันเป็นจำนวนมากบริเวณลำไส้ตรง จนไม่สามารถผ่านออกมาได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการอั้นอุจจาระบ่อย ดังนั้นใครที่ไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคนี้ ควรหลีกเลี่ยงการอั้นอุจจาระเป็นดีที่สุด


🔖 matichon (ข้อมูล ณ วันที่ 11/02/65)

🔖 mgronline (ข้อมูล ณ วันที่ 10/02/65)

🔖 thairath (ข้อมูล ณ วันที่ 11/02/65)


โรคขี้เต็มท้อง อาการแบบไหน


อาการของโรคขี้เต็มท้อง


รู้จักโรคขี้เต็มท้องและสาเหตุกันไปแล้ว คราวนี้ลองมาดูอาการกันบ้างว่า ตอนนี้เรามีอาการไหนที่เข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรคขี้เต็มท้องหรือไม่ ซึ่งอาการของโรคขี้เต็มท้อง หรือภาวะอุจจาระอุดตัน สามารถพบได้ดังนี้


  • ลมในท้องเยอะผิดปกติ แน่นท้อง ปวดท้องแบบบีบ

  • ผายลม เรอ มีกลิ่นเปรี้ยว

  • ท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน อุจจาระก้อนเล็ก แข็ง หรืออาจมีมูกเลือดปน

  • รู้สึกอุจจาระแล้วยังไม่สุด ไม่โล่งสบายท้อง

  • เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน หายใจได้ไม่เต็มอิ่ม

  • ปวดเมื่อยตัว อ่อนเพลีย นอนไม่ค่อยหลับ

  • กินอาหารได้น้อยลง กินนิดเดียวจะรู้สึกแน่นท้อง


🔖 komchadluek (ข้อมูล ณ วันที่ 10/02/65)

🔖 matichon (ข้อมูล ณ วันที่ 11/02/65)


โรคขี้เต็มท้อง พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยง


เช็กพฤติกรรมเสี่ยง โรคขี้เต็มท้อง


เพราะสถานที่หรือกิจวัตรประจำวันในบางวันอาจไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าห้องน้ำได้ในทันที ทำให้เราต้องมีการอั้นอุจจาระกันบ่อย ๆ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ วันนี้ลองมาเช็กกันหน่อยว่าพฤติกรรมแบบไหนบ้าง ที่อาจเสี่ยงเป็นโรคขี้เต็มท้องได้


  • อั้นอุจจาระบ่อย ขับถ่ายไม่เป็นเวลา

  • ดื่มน้ำน้อย ซึ่งอาจทำให้อุจจาระแข็งและท้องผูกได้

  • กินอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมันมากเกินไป

  • กินอาหารที่มีกากใยอาหารน้อย

  • ออกกำลังกายค่อนข้างน้อย ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อระบบขับถ่าย


ผลข้างเคียงจากการกินยาบางชนิด ที่ทำให้ลำไส้ลดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NARCOTICS, ยาลดกรด, ยากลุ่มธาตุเหล็กหรืออยากลุ่ม CALCIUM CHANNEL BLOCKERS ซึ่งใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง


🔖 bangkokbiznews (ข้อมูล ณ วันที่ 10/02/65)

🔖 komchadluek (ข้อมูล ณ วันที่ 10/02/65)


โรคขี้เต็มท้อง ป้องกันยังไง


วิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคขี้เต็มท้อง


มาถึงวิธีป้องกันไม่ให้เสี่ยงโรคขี้เต็มท้องกันบ้าง ใครที่ชอบอั้นจนท้องผูกต้องระวัง เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของการขับถ่ายได้ ลองมาดูวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้เสี่ยงต่อโรคขี้เต็มท้องกัน พูดเลยว่าทุกคนทำตามกันได้ง่าย ๆ ไม่ยากเกินไปแน่นอน


  • ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายและลำไส้เคยชิน เวลาขับถ่ายที่เชื่อว่าดีที่สุดคือ 05.00 น. ถึง 07.00 น.

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน เพื่อช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มทำให้ขับถ่ายง่าย

  • กินอาหาร ผัก ผลไม้ที่มีกากใย และควรลดการกินอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน

  • อย่ากลั้นอุจจาระ ให้หาที่ขับถ่ายทันทีที่ปวด เพราะการกลั้นอุจจาระอาจทำให้ลำไส้บีบอุจจาระกลับขึ้นไปที่ลำไส้ และทำให้มีอุจจาระค้างที่ผนังลำไส้ได้

  • ไม่เบ่งอุจจาระแรง ขณะที่ไม่ปวด เพราะอาจกระตุ้นเพิ่มแรงดันในลำไส้ จนเกิดผลเสียตามมาได้เช่น โรคริดสีดวงทวาร

  • หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  • นั่งถ่ายให้ถูกวิธี ท่านั่งที่เหมาะที่สุดคือ การนั่งยอง ๆ แบบส้วมซึมเพราะจะมีแรงกดจากหน้าขาช่วยให้ขับถ่ายได้คล่องที่สุด แต่สำหรับชักโครก ท่านั่งที่ถูกต้องช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้นคือ เอนตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย


🔖 komchadluek (ข้อมูล ณ วันที่ 10/02/65)

🔖 bangkokbiznews (ข้อมูล ณ วันที่ 10/02/65)

🔖 mgronline (ข้อมูล ณ วันที่ 10/02/65)



อ่านมาถึงตรงนี้เชื่อว่าหลายคนคงเริ่มหันมาใส่ใจเรื่องการขับถ่ายกันมากกว่าเดิม เพราะหากเราไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ยังชอบอั้นอุจจาระ ไม่กินอาหารหรือผักผลไม้ที่มีกากใย ไม่ออกกำลังกาย ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคขี้เต็มท้องหรือภาวะอุจจาระอุดตันได้ หรือหากเป็นเรื้อรังก็อาจเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้เลยก็ว่าได้


ดังนั้นควรหมั่นเช็กร่างกายและสังเกตพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเองให้ดี และอย่าลืมเสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย จากเมืองไทยประกันชีวิต คุ้มครองโรคอุบัติใหม่ โรคเก่าที่วนกลับมาใหม่ โรคระบาด โรคร้ายแรง และโรคทั่วไป วงเงินเลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท อายุรับสูงสุด 90 ปี(1) ดูแลถึง 99 ปี(2) ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี


ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 65 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี


รายละเอียดเพิ่มเติม 

☑️ โทร 1766

☑️ ติดต่อสาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You

พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ


(1) เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส

(2) เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส และ ดี เฮลท์

  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • ค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน หมายถึง ค่าห้องพักเดี่ยวมาตรฐานของโรงพยาบาลในประเทศไทย
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ