Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

โรคซึมเศร้า ไม่ได้แปลว่า "บ้า" เช็กตัวเองด่วน อาการแบบนี้เสี่ยงซึมเศร้าหรือยัง?

โรคซึมเศร้า ไม่ได้แปลว่า "บ้า" เช็กตัวเองด่วน อาการแบบนี้เสี่ยงซึมเศร้าหรือยัง?

08 กุมภาพันธ์ 2567

5 นาที

เบื่อหน่าย คิดลบมากขึ้น อ่อนเพลีย สมาธิสั้น ใครเริ่มมีอาการแบบนี้ เช็กตัวเองด่วน เสี่ยงโรคซึมเศร้าหรือไม่ ยิ่งจากสถิติที่กรมสุขภาพจิตเผยว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน และพยายามฆ่าตัวตายทั้งปีมากกว่า 53,000 คน หรือ 6 คนต่อชั่วโมง เห็นสถิติแบบนี้อย่าพึ่งคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว หากเริ่มรู้สึกว่าอารมณ์ความรู้สึกตัวเองแปลกไป ควรรีบเช็กตัวเองด่วน โดยเฉพาะหลายคนที่ยังมีความเข้าใจผิด เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ว่าคนป่วยเป็นโรคนี้คือคนบ้า หรือโรคจิต มาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน ทั้งโรคซึมเศร้า มีสาเหตุจากอะไร มีอาการเริ่มต้นแบบไหน แล้วโรคซึมเศร้า รักษาได้หรือไม่ ตามมาเลย เริ่มมม!



null


โรคซึมเศร้าคืออะไร


ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคซึ้มเศร้า (Major depressive disorder) อีกมาก ว่าคนที่ป่วยเป็นโรคนี้คือคนบ้า หรือเกิดกับคนที่รับความรู้สึกผิดหวัง เสียใจกับสิ่งที่มากระทบกระเทือนจิตใจไม่ได้ แค่ให้กำลังใจก็น่าจะดีขึ้น ซึ่งความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก ที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง หรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโทนิน (Serotonin) นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และ โดพามีน (Dopamine) ทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งด้านอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรม แถมยังส่งผลไปถึงสุขภาพร่างกายอีกด้วย โรคซึมเศร้าจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ เพื่อได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธี


ไบโพลาร์ กับ โรคซึมเศร้า ต่างกันอย่างไร


ไบโพลาร์ กับ โรคซึมเศร้า ต่างกันอย่างไร


สำหรับโรคไบโพลาร์ (Bipolar) กับ โรคซึมเศร้า อาจยังแยกไม่ออกคิดว่าเป็นโรคเดียวกัน ซึ่งสองโรคนี้มีความต่างกันเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะเกิดจากสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่ปกติเหมือนกันก็ตาม มาดูว่า โรคไบโพลาร์ กับ โรคซึมเศร้า ต่างกันอย่างไร


โรคไบโพลาร์

เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งในคนที่ป่วยโรคนี้จะมี 2 บุคลิก คือ ภาวะแมเนีย (Mania) และภาวะซึมเศร้า ซึ่งบางครั้งจะมีอาการช่วงหนึ่งสนุกสนาน แล้วสลับไปมีอารมณ์ซึมเศร้า เราจึงเรียกไบโพลาร์ว่าโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว


โรคซึมเศร้า

เป็นโรคเกี่ยวกับอารมณ์อย่างหนึ่ง แต่จะทำให้ผู้ที่ป่วยโรคซึมเศร้า มีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ ความคิด และความรู้สึก ทั้งรู้สึกท้อแท้ในชีวิต เบื่อหน่าย นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นกลางดึก ฝันร้ายบ่อยครั้ง จนส่งผลต่อการใช้ชวิตประวันด้วย


สาเหตุแบบไหน เสี่ยงโรคซึมเศร้า


สาเหตุแบบไหน เสี่ยงโรคซึมเศร้า


สาเหตุของโรคซึมเศร้านั้นมีหลายปัจจัยมากระตุ้นที่ทำให้เกิดความเครียด หรืออาจไม่มีเลยก็ได้ ที่สำคัญยังเป็นโรคที่ป่วยได้ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งส่วนมากโรคซึมเศร้าจะมีสาเหตุมาจาก


  • ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
  • พันธุกรรม หรือสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า
  • สภาพแวดล้อมตั้งแต่เด็กจนโตที่มีความกดดัน
  • ลักษณะนิสัย การมองโลกในแง่ร้ายหรือคิดลบทุกแง่มุม 


เช็กลิสต์อาการ โรคซึมเศร้า


เช็กลิสต์อาการ โรคซึมเศร้า


เพราะโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องใกล้ตัว และแม้จะเป็นโรคเหมือนโรคร้ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ว่าจะเกิดกับตัวเองตอนไหน แต่หากรู้ทันก็สามารถรักษาได้เร็วขึ้น ด้วยการสังเกตอาการตัวเองว่ามีความผิดปกติตามนี้หรือไม่


  • รู้สึกเศร้า หดหู่ ท้อแท้ ร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ กังวลหรือหงุดหงิดมากเกินไป มีอารมณ์เชิงลบเป็นส่วนมาก
    เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว เริ่มเก็บตัว ไม่สนใจต่อสิ่งรอบข้าง
  • กินผิดปกติ อาจกินอาหารน้อยลงหรือกินมากขึ้นแบบผิดปกติ น้ำหนักตัวลดลงผิดปกติ หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นผิดปกติ
  • นอนไม่หลับ หรือนอนมากจนเกินไป
  • เริ่มเฉื่อย ๆ เนือย ๆ การเคลื่อนไหวช้าลง
  • อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง
  • สมาธิสั้น ความจำแย่ลง
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า เสียความมั่นใจ สิ้นหวัง คิดว่าตนเองเป็นภาระ
  • ไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดถึงความตายบ่อยครั้ง


โรคซึมศร้ามีกี่ประเภท

โรคซึมศร้ามีกี่ประเภท


พอจะทราบกันแล้วว่าโรคซึมเศร้าคืออะไร มีอาการแบบไหนบ้าง ต่อไปก็มาดูกันดีกว่า ว่าโรคซึมเศร้ามีกี่ประเภท หากได้รู้แล้ว เราอาจสังเกตอาการคนรอบข้าง หรืออาการของตัวเองได้ทันท่วงที ซึ่งโรคซึมเศร้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ


  • โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression)

โรคซึมเศร้าชนิดนี้ จะมีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ มักมีอาการเศร้าซึมมากจนไม่มีความสุขหรือไม่สนใจในสิ่งต่าง ๆ ที่เคยชอบ หลับยาก น้ำหนักขึ้นหรือลงฮวบฮาบ รู้สึกหงุดหงิด เหนื่อย ๆ เนือย ๆ ไม่มีเรี่ยวแรง รู้สึกไร้ค่า 


  • โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression)

โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย จะมีอาการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี แต่อาการรุนแรงน้อยกว่าชนิด เมเจอร์ ดีเพรสชั่น ไม่ถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ แต่อาจรู้สึกไม่อยากอาหาร หรือกินมากไป นอนไม่หลับ หรือนอนมากไป เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดแรง ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่ค่อยมีสมาธิ การตัดสินใจแย่ลง และรู้สึกหมดหวัง


  • โรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นก่อนมีระดู (Premenstrual depressive disorder)

อาการแบบนี้คุณผู้หญิงเค้ารู้กันดี ทั้งรู้สึกเศร้า อ่อนไหวง่าย ขัดแย้ง (ทะเลาะ) กับคนอื่นง่าย วิตกกังวล เครียด อ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไร ซึ่งบางคน จะมีอาการในสัปดาห์สุดท้ายก่อนมีประจำเดือน และดีขึ้นใน 2-3 วันหลังจากมีประจำเดือน และมีอาการทางร่างกายด้วย เช่น เจ็บเต้านม เต้านมบวม ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ตัวบวมขึ้น


โรคซึมเศร้า รักษาแล้วหายหรือไม่


โรคซึมเศร้า รักษาแล้วหายหรือไม่


หลายคนอาจคิดว่าเมื่อเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว มีโอกาสหายยาก แต่หากป่วยโรคซึมเศร้าแล้วรีบเข้าพบแพทย์ทันที และได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม  ก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรค จนสุดท้ายผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (ส่วนใหญ่) ก็สามารถทำงาน และใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ซึ่งการรักษาจะมีทั้ง พูดคุยและรับคำปรึกษาจากแพทย์ ทำจิตบำบัดพร้อมใช้ยากลุ่มต้านเศร้าไปด้วย แต่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานเพราะจะรักษายากขึ้น



 วิธีป้องกันโรคซึมเศร้า


วิธีป้องกันโรคซึมเศร้า


แม้โรคซึมเศร้าจะมีสาเหตุจากความผิดปกติของสมอง ที่บางครั้งก็ไม่อาจควบคุมได้ แต่ก็สามารถป้องกันด้วยการดูแลตัวเองทั้งสุขภาพกาย ใจ รวมถึงอาหารการกิน มาดูกันว่าเราจะป้องกันโรคซึมเศร้าได้อย่างไร


  • กินอาหารครบ 5 หมู่ ยิ่งขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น โอเมก้า 3 วิตามิน อี ซี ดี ทองแดง ธาตุเหล็ก จะทำให้เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น
  • ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 วัน
  • นอนหลับ พักผ่อน ให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ
  • ฝึกคิดบวก เพื่อสร้างให้จิตใจมีความเข้มแข็ง ทั้งยังช่วยให้ผ่อนคลายจิตใจ และลดความเครียดได้
  • เพิ่มความยืดหยุ่นในชีวิต ไม่เคร่งเครียด รักและนับถือตนเอง
  • การพูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อน เพื่อเป็นการระบายความรู้สึก  ในช่วงเวลายากลำบาก ก็จะช่วยเซฟความรู้สึกที่กำลังจะแย่ของเราได้มากทีเดียว
  • เมื่อเริ่มรู้สึกซึมเศร้า หรือรู้ทันอารมณ์ ความรู้สึกตัวเองว่าไม่เหมือนเดิมแล้ว  ควรรีบเข้าไปปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง
  • สำคัญที่สุดคือ เมื่อเข้ารับการรักษา ต้องไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ภาวะซึมเศร้าเกิดซ้ำ


ป่วยซึมเศร้า ซื้อประกันได้ไหม


ป่วยซึมเศร้า ซื้อประกันได้ไหม


สำหรับใครที่อยากซื้อประกันสุขภาพที่คุ้มครองโรคซึมเศร้า หรือโรคทางจิตเวชนั้น อาจจะไม่ค่อยมีเท่าไร เพราะเป็นโรคที่มีความเสี่ยง เงื่อนไขความคุ้มครองโรคทางจิตเวชก็อาจจะมาก จนหลายคนอาจท้อแท้ในการหาประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ตรงนี้ ฉะนั้นก่อนเลือกซื้อประกัน ก็ต้องศึกษาความคุ้มครองดี ๆ ว่าครอบคลุมโรคทางจิตเวชหรือไม่ หรืออาจสอบถามทางบริษัทประกันโดยตรงเพื่อความมั่นใจ


  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 04/12/66

🔖 โรงพยาบาลพญาไท
🔖 คลังความรู้
🔖 โรงพยาบาลพระราม 9
🔖 โรงพยาบาลบำรุงราษฎ์
🔖 ThaiPBS

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ