Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตรายหรือไม่ Thumbnail1200 X600

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่ ?

คุณแม่ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ อาจต้องมีการดูแลตัวเองหลายอย่าง เพื่อให้ลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์สามารถตื่นมาลืมตาดูโลกได้อย่างแข็งแรง แต่ถึงแม้การดูแลตัวเองดีแค่ไหนก็อาจยังมีความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากสภาพร่างกายและฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลง จึงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ง่าย เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์โดยตรง หากร้ายแรงที่สุดคืออาจส่งผลให้ลูกน้อยพิการหรือเสียชีวิตได้


ดังนั้นวันนี้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ลองเช็กตัวเองกันหน่อยว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่ สาเหตุมาจากอะไร และเราควรมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรบ้างเพื่อลดความเสี่ยง จะได้ช่วยให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์คลายความกังวลและข้อสงสัยหลาย ๆ อย่างได้


โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตรายหรือไม่ Blog1


โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คืออะไร ?


ก่อนอื่นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ต้องมาเริ่มทำความรู้จักกันก่อน ว่าโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์คืออะไร ซึ่งโรคเบาหวานที่พบร่วมกับการตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ


  • โรคเบาหวานที่พบก่อนการตั้งครรภ์ (Pregnancy Diabetes)
  • โรคเบาหวานที่พบขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes)


ซึ่งในประเทศไทยมักพบโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้มากกว่า


โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus)


  • เป็นโรคเบาหวานชนิดหนึ่ง ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มักถูกวินิจฉัยในช่วงสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์ เกิดจากการที่รกในครรภ์สร้างฮอร์โมนบางชนิดขึ้นมา ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มีฤทธิ์ต่อต้านอินซูลิน ที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จนเกิดเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งหากปล่อยไว้จะเกิดอันตรายต่อแม่และเด็กในครรภ์ได้


อาการของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์


โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจแสดงอาการที่ไม่ชัดเจน แต่สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ดังนี้


  • รู้สึกหิวกระหายน้ำมากกว่าปกติ
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย
  • บางคนอาจมีอาการปากแห้ง


🔖 โรงพยาบาลนครธน

🔖 โรงพยาบาลนนทเวช

🔖 โรงพยาบาลบางปะกอก (ข้อมูล ณ วันที่ 10/09/64)



โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตรายหรือไม่ Blog2


ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์


ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หากมีปัจจัยดังต่อไปนี้ มักจะมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มากกว่าคนทั่วไป


  • มีน้ำหนักเกิน
  • เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อนในครรภ์ก่อนหน้า
  • เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
  • มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป
  • มีความดันโลหิตสูง ก่อนหรือระหว่างตั้งครรภ์
  • คนในครอบครัวสายตรง มีประวัติเป็นเบาหวาน มีประวัติการตั้งครรภ์ และการคลอดที่ผิดปกติ เช่น การแท้ง ทารกตาในครรภ์ หรือเคยคลอดบุตรน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม


🔖 โรงพยาบาลนครธน

🔖 theasianparent

🔖 โรงพยาบาลเซนหลุยส์ (ข้อมูล ณ วันที่ 08/09/64)


โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตรายหรือไม่ Blog3


โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง ?


โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถส่งผลกระทบได้ถึงแม่และทารกในครรภ์ได้ดังนี้


ความเสี่ยงต่อทารก

  • ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • น้ำหนักทารกแรกคลอดมากกว่าปกติที่ควรจะเป็น เช่น ทารกมีตัวใหญ่มากขึ้นกว่าปกติ ทำให้คลอดยาก หรืออาจเกิดอันตรายขณะคลอด
  • ทารกมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำทันทีหลังคลอด และมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์ได้
  • ทารกอาจมีโอกาสเป็นโรคอ้วน และอาจเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตได้


ความเสี่ยงต่อแม่

  • มีโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีความดันโลหิตสูงร่วมกับมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะมากกว่าปกติ พบในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์
  • เพิ่มความเสี่ยงทำให้ต้องการการผ่าท้องคลอดมากขึ้น เพราะว่าทารกอาจตัวใหญ่เกินกว่าจะคลอดปกติ
  • เมื่อเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีโอกาสพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในอนาคตมากกว่าปกติถึง 7.4 เท่า
  • การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคไต การทำลายของเส้นประสาท เป็นต้น


🔖 โรงพยาบาลนนทเวช

🔖 โรงพยาบาลบางปะกอก (ข้อมูล ณ วันที่ 10/09/64)


โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตรายหรือไม่ Blog4


วิธีดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์


หากคุณแม่คนไหนกำลังตั้งครรภ์ และกังวลเกี่ยวกับโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แนะนำให้ควรปฏิบัติตัวตามนี้


  • ควรควบคุมอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ และน้ำหนักตัวตามเกณฑ์
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
  • ตรวจครรภ์เป็นประจำกับสูตินรีแพทย์
  • อาหารบำรุงครรภ์ควรเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางสูง
    เลือกกินอาหารที่ช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง เช่น น้ำขิง และยังช่วยเร่งการผลิตน้ำนมได้เป็นอย่างดี
  • ควรกินผักผลไม้ โดยเฉพาะผักสีเขียว ผักสีส้ม เพราะมีประโยชน์ให้ลูกน้อยเจริญเติบโตและช่วยให้สุขภาพของคุณแม่แข็งแรง
  • อาหารเร่งน้ำนม เช่น แกงเลียง ยำหัวปลีและผัดขิง เป็นต้น
  • การนั่ง นอน หรือการเดิน ต้องระมัดระวังมากขึ้น เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ท้องเริ่มใหญ่ขึ้นควรนอนตะแคงด้านซ้าย เพราะจะช่วยพยุงท้องได้ดีและช่วยให้คุณแม่หายใจได้สะดวกมากขึ้น
  • การกินยาจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์ได้


🔖 โรงพยาบาลเซนหลุยส์ (ข้อมูล ณ วันที่ 08/09/64)

🔖 โรงพยาบาลรามคำแหง (ข้อมูล ณ วันที่ 29/07/63



การวางแผนครอบครัวก่อนมีลูก เป็นสิ่งที่สำคัญ เช่นเดียวกับการเตรียมความพร้อมดูแลสุขภาพ ตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงการมีประกันสุขภาพก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะการซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่ตอนที่เรายังสุขภาพดี จะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ เพราะประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน หากเจ็บป่วยแล้วถึงตัดสินใจซื้อก็อาจสายไป ดังนั้นวางแผนเตรียมไว้อุ่นใจกว่า


โดยทั่วไปประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครอง  “โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์” เนื่องจากเป็นโรคแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ ซึ่งจัดอยู่ในข้อยกเว้นทั่วไปของสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ


เสริมความมั่นใจการวางแผนการมีบุตรด้วยการมีประกันสุขภาพที่ครอบคลุม ซึ่งเมืองไทยประกันชีวิตได้ออกแบบความคุ้มครองสุขภาพอีลิท เฮลท์ พลัส (Elite Health Plus) ที่ให้คุณพลัสความคุ้มครองสุขภาพอย่างเหนือระดับ เหมาจ่ายตามจริง 20 - 100 ล้านบาทต่อปี + เข้ารักษาได้ทุก รพ. ทั่วไทยหรือหรือทั่วทุกมุมโลก(1) คุ้มครองทั้งโรคอุบัติใหม่ โรคระบาด โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี ดูแลสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี คุ้มครองครบทั้ง IPD และ OPD(2) เบี้ยวันละไม่ถึง 94 บาท(3)


พลัสเพิ่มกับความคุ้มครองการคลอดบุุตร พลัส (Maternity Plus) ซึ่งจะคุ้มครอง “โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์” ด้วยวงเงินความคุ้มครองสููงถึง 2 - 4 ล้านบาท ต่อปีกรมธรรม์ ซึ่งสามารถเลือกซื้อเพิ่มแนบอีลิท เฮลท์ พลัส (Elite Health Plus) ได้ทุกแผน (แผน 20 ถึง 100 ล้านบาท) แต่จะมีระยะเวลารอคอย Waiting period 280 วันนับแต่วันที่ความคุ้มครองนี้มีผลบังคับ ทั้งนี้จะต้องไม่เคยเป็นเบาหวานมาก่อนซื้อความคุ้มครองการคลอดบุุตร พลัส (Maternity Plus)


  • ความเสี่ยงกรณีแท้งบุุตร
  • ความเสี่ยงกรณีเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้้งครรภ์์ และหลังคลอดบุุตร
  • ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุุตร


✔ คุ้มครองค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน แบบเหมาจ่ายตามจริง หรือ ห้องเดี่ยวพิเศษก็คุ้มครอง 10,000 - 25,000 บาทต่อวัน
✔ คุ้มครองค่าห้อง ICU แบบจ่ายตามจริง รวมสูงสุด 365 วัน
✔ ครอบคลุมการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งแบบเคมีบำบัดและแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) การวินิจฉัยแบบ MRI และการฟอกไตโดยไม่ต้องแอดมิท
✔ เข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาล
✔ เลือกซื้อเพิ่มได้ ความคุ้มครองคลอดบุตร หรือ แพ็กตรวจสุขภาพประจำปี ทันตกรรม ฉีดวัคซีน และค่ารักษาทางสายตา ได้ตามใจ


ซื้อวันนี้! ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% สูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13% กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ


รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก 
☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


(1) กรณีเลือกพื้นที่ความคุ้มครองทั่วโลก
(2) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท
(3) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 34 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

  • สัญญาเพิ่มเติมประกันภัยแบบ อีลิท เฮทล์ พลัส ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • ค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน หมายถึง ค่าห้องพักเดี่ยวมาตรฐานของโรงพยาบาลในประเทศไทย
  • เงื่อนไขเป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามประกาศ ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 และ แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม 2565 หรืออ้างอิงตามประกาศฉบับล่าสุด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนดโปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ