Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

สุขภาพดีได้แค่พลิกฉลากก่อนซื้อ Content Desktop1440 X390

สุขภาพดีได้ แค่พลิกฉลากก่อนซื้อ

ฉลากโภชนาการที่อยู่ด้านหน้าซองหรือหลังซองมีข้อมูลทางวิชาการที่หลายคนอ่านแล้วชวนปวดหัวพอสมควร ซึ่งหากคุณเป็นคนรักและใส่ใจสุขภาพแล้ว ฉลากทางโภชนาการนี้มีความสำคัญมาก และไม่ใช่แค่ผู้ผลิตแปะฉลากมาเพื่อให้ถูกกฎหมายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ข้อมูลในตารางจะบอกถึงปริมาณสารอาหารต่าง ๆ ข้อแนะนำในการบริโภคไม่เกินเท่าไรต่อวัน ซึ่งทั้งหมดมีผลต่อภาวะสุขภาพของแต่ละคน วันนี้เมืองไทยประกันชีวิตมีเคล็ดลับการอ่านฉลากโภชนาการมาฝากกัน


Blog1


ฉลากโภชนการคืออะไร ? สำคัญแค่ไหน


หลายคนอาจมองข้าม หรือไม่เห็นความสำคัญของฉลากโภชนาการ ซึ่งขอบอกเลยว่าฉลากโภชนาการนั้นมีประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างเรา ๆ มาก เพราะมีข้อมูลระบุรายละเอียดของชนิดและปริมาณสารอาหารเพื่อให้ได้ทราบก่อนเลือกรับประทาน โดยฉลากโภชนาการแบ่งออกได้ 2 แบบดังนี้


  • ฉลากโภชนาการแบบเต็ม เป็นฉลากที่แสดงชนิดและปริมาณสารอาหารที่สำคัญ 15 รายการ สำหรับฉลากที่มีความสูงจำกัด สามารถแสดงฉลากโภชนาการเต็มรูปแบบในลักษณะแบบแนวนอนหรือแบบขวางตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้
  • ฉลากโภชนาการแบบย่อ ใช้ในกรณีที่มีสารอาหารตั้งแต่ 8 รายการ จากจำนวนที่กำหนดไว้ 15 รายการนั้น มีปริมาณน้อยมากจนถือว่าเป็นศูนย์ จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องแสดงให้เต็มรูปแบบ


ดังนั้นฉลากโภชนาการถือได้ว่าเป็นข้อมูลชั้นยอดสำหรับการบริโภคอาหารของเราทุกคน ว่าจะได้รับสารอาหารตามความต้องการหรือไม่ และที่สำคัญเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ หรือผู้ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคหัวใจและโรคอ้วน เป็นต้น


🔖 สสส.  (ข้อมูล ณ วันที่ 08/06/60)


Blog2


ฉลากโภชนาการแบบ GDA


ฉลากโภชนาการแบบ GDA (Guidline Daily Amounts : GDA) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าฉลากหวานมันเค็ม ที่หลายคนอาจจะคุ้นหน้า คุ้นตา แต่ไม่คุ้นใจ โดยฉลากประเภทนี้จะแสดงปริมาณสารอาหารที่สำคัญอยู่บนฉลากด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ข้อมูล พลังงาน น้ำตาลไขมัน และโซเดียม เพื่อให้ผู้บริโภคพิจารณาก่อนซื้อและหลังซื้อ ซึ่งฉลาก GDA ประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 บอกให้ทราบถึงคุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ ส่วนที่ 2 บอกให้ทราบถึงปริมาณที่เหมาะสมในการแบ่งรับประทานต่อ 1 ครั้ง ส่วนที่ 3 บอกให้ทราบว่าเมื่อทานทั้งหมดจะให้พลังงานเท่าไร ส่วนที่ 4 บอกถึงปริมาณ พลังงาน น้ำตาล ไขมัน โซเดียม เป็นร้อยละ ต่อปริมาณที่แนะนำต่อวัน


เราสามารถพบฉลากโภชนาการแบบ GDA ได้ในกลุ่มอาหาร 5 กลุ่ม คือ กลุ่มอาหารขนมขบเคี้ยว กลุ่มช็อกโกแลต กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป และกลุ่มอาหารมื้อหลักแช่เย็นแช่แข็ง


🔖 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา


Blog3


อ่านฉลากโภชนาการ เคล็ดลับเพื่อสุขภาพที่ดี


อยากมีสุขภาพที่ดี อย่ามองข้ามฉลากโภชนาการ โดยคุณสามารถดูคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ได้ทันทีจากตัวเลขด้านหน้าเพื่อนำไปปรับใช้ในการบริโภคอาหารให้สมดุลเหมาะสมกับสุขภาพของตนเอง ดังนี้ คุมน้ำหนัก ควรเลือกที่มีปริมาณพลังงานน้อย และมีไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 5% เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค NCDs โดยในหนึ่งวันไม่ควรได้รับพลังงานเกิน 2,000 กิโลแคลอรี กลัวน้ำตาลเกิน หรือเป็นโรคเบาหวาน เลือกที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย ไม่เกิน 24 กรัม/วัน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ กังวลไขมัน หรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรบริโภคไม่เกิน 20 กรัม/มื้อ เพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ เลี่ยงโซเดียม หรือมีภาวะความดันโลหิตสูง ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม/วัน เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นโรคไตและความดันโลหิตสูง


🔖 Lovefitt  

🔖 Nestle 


ฉลากโภชนาการถือได้ว่ามีประโยชน์ต่อผู้บริโภค อาจเสียเวลาอ่านไม่มากก่อนหยิบลงตะกร้าหรือก่อนบริโภค เพราะข้อมูลโภชนาการเหล่านี้มีผลต่อร่างกายและสุขภาพ พร้อมเสริมความมั่นใจอีกหนึ่งชั้นด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย จากเมืองไทยประกันชีวิต คุ้มครองโรคอุบัติใหม่ โรคเก่าที่วนกลับมาใหม่ โรคระบาด โรคร้ายแรง และโรคทั่วไป วงเงินเลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท อายุรับสูงสุด 90 ปี *คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี *ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี .


ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละ 65 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี .


รายละเอียดเพิ่มเติม 

☑️ โทร 1766

☑️ ติดต่อสาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You

พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ 


*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ