Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

วิธีประหยัดไฟฟ้า ลดค่าใช้จ่าย สบายกระเป๋า ง่ายและเห็นผลจริง

วิธีประหยัดไฟฟ้า ลดค่าใช้จ่าย สบายกระเป๋า ง่ายและเห็นผลจริง

25 เมษายน 2567

5 นาที

หน้าร้อนทีไรอยากรู้วิธีประหยัดไฟฟ้าทุกที เพราะช่วงหน้าร้อนของทุก ๆ ปี ค่าไฟมักแพงแบบพุ่งกระฉูด ซึ่งอาจเป็นผลพวงจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ เพื่อคลายความร้อน เช่น เปิดแอร์ทั้งวัน อาจเปิดพัดลมสลับกันไปบ้าง แบบนี้ก็เป็นสาเหตุทำให้ค่าไฟแพงขึ้นได้ แต่บางทีก็อาจใช้ไฟฟ้าเท่าเดิมเหมือนทุกที ค่าไฟก็ยังแพงผิดปกติ ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ช่วงหน้าร้อนค่าไฟแพงขึ้นนั้น มาจากสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องทำความเย็น ทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม ดั้งนั้น หากใครอยากประหยัดพลังงาน ใช้ไฟฟ้าน้อยลง มาดูวิธีประหยัดไฟฟ้าในบ้าน ที่สามารถลดค่าใช้จ่ายได้จริง ตามมากันเลย



10 อันดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ

10 อันดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ 


หลายคนคงสงสัยกัน ว่าทำไมหน้าร้อนทีไรค่าไฟแพงผิดปกติตลอด ทั้งที่ใช้ไฟไม่ต่างจากเดิม ต้องคิดค่าไฟยังไง หรืออาจเป็นเพราะเราใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟและไม่ประหยัดพลังงานหรือเปล่า วันนี้แอดจึงรวบรวม 10 อันดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุดมาให้ดูกัน เพื่อให้ทุกคนได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้แบบพอดี


1. เครื่องทำน้ำอุ่น กินไฟประมาณ 2,500 - 12,000 วัตต์ วิธีใช้ควรปรับอุณหภูมิให้พอดี อย่าให้ร้อนมากเกินไป ปิดก๊อก ปิดวาล์ว และปิดสวิซต์ทุกครั้งหลังใช้เสร็จ


2. เครื่องปรับอากาศ กินไฟประมาณ 1,200 - 3,300 วัตต์ ซึ่งวิธีเปิดแอร์ยังไงให้ประหยัดไฟ อย่างแรกคือควรเลือกซื้อเครื่องที่ BTU ให้เหมาะกับขนาดห้อง ติดตั้งในระดับที่สูงพอดี มีที่ระบายความร้อน ควรตั้งอุณหภูมิไม่ให้ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ดูแลรักษาและทำความสะอาดแผ่นกรองเป็นประจำ ควรปิดเครื่องทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน 


3. เครื่องซักผ้า (แบบมีเครื่องอบ) กินไฟประมาณ 3,000 วัตต์ ก่อนซักผ้าควรใส่ปริมาณเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับตัวเครื่อง หากมีแสงแดดจัด ควรนำออกตากแดดและหลีกเลี่ยงการอบแห้งจะช่วยประหยัดไฟมากขึ้น


4. เตารีดไฟฟ้า กินไฟประมาณ 700 - 2,000 วัตต์ ควรรีดผ้าครั้งละเยอะ ๆ ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดผ้า เมื่อเลิกใช้งานแล้วถอดปลั๊กทุกครั้ง


5. หม้อหุงข้าว กินไฟประมาณ 450 - 1,500 วัตต์ ควรหุงข้าวให้พอดีกับจำนวนคนรับประทาน
เมื่อข้าวสุกแล้วต้องถอดเต้าเสียบออก ไม่ควรเสียบปลั๊กไฟทิ้งไว้ หมั่นตรวจบริเวณแท่นความร้อนในหม้อ อย่าให้เม็ดข้าวเกาะติด จะทำให้ข่าวสุกช้าและเปลืองไฟ


6. หม้อหุงต้มไฟฟ้า กินไฟประมาณ 200 - 1,500 วัตต์ ควรตรวจเช็กตัวเครื่องทุกครั้งก่อนใช้งาน และถอดปลั๊กทันทีที่ทำอาหารเสร็จ


7. เครื่องดูดฝุ่น กินไฟประมาณ 750 - 1,200 วัตต์ เมื่อดูดฝุ่นเรียบร้อยแล้ว ควรเทฝุ่นทิ้งทุกครั้ง เพื่อช่วยให้เครื่องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเปลืองไฟน้อยลง 


8. เครื่องปิ้งขนมปัง กินไฟประมาณ 800 - 1,000 วัตต์ ก่อนการใช้งาน ควรปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด และถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้ ก็จะช่วยให้ประหยัดไฟขึ้น


9. เครื่องเป่าผม กินไฟประมาณ 400 - 1,000 วัตต์ ก่อนเป่าผม ควรเช็ดผมให้หมาด ๆ นำมาขนหนูมารองผมระหว่างเป่า จะช่วยให้ผมแห้งเร็วขึ้น และทำให้เครื่องเป่าผมกินไฟน้อยลง


10. เตาไมโครเวฟ กินไฟประมาณ 100 - 1,000 วัตต์ ควรกำหนดเวลาและความร้อนให้เหมาะสม กับอาหารที่ต้องอุ่น ไม่ควรเปิด-ปิดฝาบ่อย ๆ และควรถอดปลั๊กหลังใช้เสร็จทุกครั้ง


นอกจาก 10 อับดับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟพวกนี้แล้ว ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นที่กินไฟลองลงมาอีกด้วย เช่น หม้อชงกาแฟ กินไฟประมาณ 200 - 600 วัตต์, โทรทัศน์สี กินไฟประมาณ 80 - 180 วัตต์, ตู้เย็น (7-10 คิว) กินไฟประมาณ 70 - 145 วัตต์, พัดลมเพดาน กินไฟประมาณ 70 - 100 วัตต์, พัดลมตั้งพื้น กินไฟประมาณ 20 - 75 วัตต์


วิธีประหยัดไฟฟ้า

วิธีประหยัดไฟฟ้า


วิธีประหยัดพลังงานไฟฟ้า ก็เป็นอีกเทคนิคที่ช่วยลดภาระค่าไฟได้เป็นอย่างมาก ที่สำคัญยังเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้ที่บ้านด้วยตัวเอง มาดูกันว่ามีวิธีอะไรบ้าง


1. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า และถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งาน

หลายคนยังมีความเชื่อผิด ๆ ว่าการเสียบปลั๊กทิ้งไว้ หลังไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นแล้ว ไม่ได้ส่งผลอะไร แต่ที่จริงแล้ว การเสียบปลั๊กทิ้งไว้ ก็ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ ดังนั้น หลังการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเสร็จแล้ว ควรปิดและถอดปลั๊กหลังจากเลิกใช้งานทุกครั้ง


2. ใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดไฟธรรมดา

เพราะการใช้หลอดไฟ LED สามารถให้ความสว่างมากกว่าหลอดไฟธรรมดา และใช้กำลังไฟฟ้า (วัตต์) น้อยกว่า จึงกินไฟน้อยกว่า ที่สำคัญยังมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 50,000 ชั่วโมง จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนหลอดไฟบ่อย ๆ ไดีอีกด้วย


3. ไม่เสียบปลั๊กชาร์จโทรศัพท์มือถือทิ้งไว้ เมื่อแบตเตอรี่เต็มแล้ว

หลังจากชาร์จโทรศัพย์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จนแบตเตอรี่เต็มแล้ว ควรถอดปลั๊กหรือสายชาร์จออกทันที เพราะการเสียบชาร์จทิ้งไว้แม้แบตเตอรี่เต็มแล้วจะทำให้กินไฟ และเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ 


4. เปิดแอร์ในอุณหภูมิที่เหมาะสม

ควรตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส และอาจเปิดพัดลมเพื่อช่วยให้ระบายอากาศได้ดีขึ้น ที่สำคัญก่อนออกจากบ้านควรปิดเครื่องปรับอากาศก่อน 1 ชั่วโมง ก็สามารถช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย


5. ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

ทุกคนคงเคยได้ยินกันมานานแล้วว่า หากอยากประหยัดไฟ การซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ก็สามารถช่วยได้ เพราะฉลากนี้จะบ่งบอกระดับการใช้ไฟฟ้าและข้อมูลเบื้องต้น รวมถึงประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายต่อปี เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม


เมื่อรู้วิธีประหยัดไฟฟ้าแล้ว ก็จะช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายได้ไม่มากก็น้อย ยิ่งอากาศร้อน ๆ แบบนี้เครื่องปรับอากาศยิ่งเป็นที่ต้องการของทุกบ้าน จึงควรเปิดอย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยเซฟค่าไฟได้ ที่สำคัญอากาศร้อนอย่าลืมดูแลสุขภาพ เพราะโรคต่าง ๆ ช่วงหน้าร้อนนั้นก็มีไม่น้อยเลยทีเดียว วางแผนเสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพจากเมืองไทยประกันชีวิต #เพราะชีวิตทุกวัยมันเจ็บป่วย ป่วยเล็กป่วยใหญ่ ช่วงวัยไหนก็ป่วยได้ไม่ช็อตฟีล
ปล่อยจอยค่ารักษาเพราะมีประกันสุขภาพดูแลให้แบบเหมา ๆ ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท


✅ Elite Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 20-100 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษา ดูแลให้ทั้ง IPD และ OPD(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 157 บาท(2)

✅ D Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 5 ล้านบาท(3) นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุก รพ. เบี้ยวันละไม่ถึง 38 บาท(4)

✅ เหมาจ่าย Extra แอดมิตเข้า รพ. ดูแลค่ารักษาเหมาจ่าย 5 แสนบาท(5) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(6)


พิเศษ! รับส่วนลดสูงสุด 15% สำหรับเบี้ยประกันปีต่ออายุ เพียงทำกิจกรรมผ่านแอปฯ MTL Fit


รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต

(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

(3) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง

(4) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท มีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (แผน Top Up ความคุ้มครอง) และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

(5) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง

(6) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี


  • เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
  • สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 20/03/67

🔖 PEA

🔖 ฐานเศรษฐกิจ

🔖 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ