Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

Cover Banner1440 X400

ไอหนัก เรื้อรัง ระวัง ! เสี่ยงมะเร็งปอด


ไอหนักจนตัวโยก ! อาจทำสุขภาพทุกข์โศกได้ 😷 ยิ่งช่วงนี้ฝุ่นก็มาอากาศก็เปลี่ยน ทำให้ต้องหมั่นดูแลสุขภาพกันหน่อย ใครที่มีอาการไอบ่อย หรือมีปัญหาด้านระบบทางเดินหายใจ อย่าเพิ่งชะล่าใจว่าเป็นเพราะภูมิแพ้หรือฝุ่น PM2.5 เพราะโรคมะเร็งปอดเป็นภัยเงียบที่ต้องระวัง ทั้งควันบุหรี่ ฝุ่น PM2.5 รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ก็อาจทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดไม่รู้ตัว


วันนี้เมืองไทยประกันชีวิตชวนมาเช็กกันให้ชัวร์ เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งปอด อาการของมะเร็งปอด รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้เสี่ยงกับโรคมะเร็งปอด จะมีอะไรบ้างไปดูกัน !


Blog1 814x400


จากข้อมูลของกรมการแพทย์ โรคมะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามเพราะมะเร็งปอดส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณเตือนเมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็งมากขึ้น ซึ่งอาการของมะเร็งปอดมีดังนี้


  • ไอเรื้อรัง มีอาการไอเป็นเวลานาน มีเสมหะเป็นเลือด เสียงแหบ เจ็บหน้าอกขณะไอ
  • ปัญหาด้านการหายใจ มีอาการหายใจลำบาก รู้สึกเหนื่อยหอบตลอดเวลา หายใจมีเสียงหวีด
  • เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย และส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างผิดปกติ
  • มีไข้ หนาวสั่น หรือปอดติดเชื้อซ้ำ ๆ


🔖 โรงพยาบาลพระรามเก้า  (ข้อมูล ณ วันที่ 11/03/65)

🔖 โรงพยาบาาลเพชรเวช  (ข้อมูล ณ วันที่ 01/04/63)


Blog2 814x400


หลายคนอาจคิดว่า ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดเกิดจากการสูบบุหรี่เพียงเท่านั้น แต่ความจริงแล้วโรคมะเร็งปอดเกิดได้จากหลายปัจจัย


  • พันธุกรรม

หากมีประวัติการเป็นมะเร็งปอดของญาติพี่น้องสายตรง โดยเฉพาะหากตรวจพบมะเร็งปอดเมื่ออายุยังน้อย ปัจจัยนี้ก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นได้


  • อายุ

ผู้ที่เสี่ยงจะเป็นมะเร็งปอดมากที่สุดจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 55 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สูบบุหรี่


  • พฤติกรรมสูบบุหรี่ / ควันบุหรี่มือสอง

85% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมีประวัติการสูบบุหรี่ ซึ่งการสูบบุหรี่นั้นทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 10 เท่า นอกจากนี้ การได้รับควันบุหรี่มือสองก็ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งปอดได้เช่นกัน โดยพบว่า 30% ของผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่เสียชีวิตจากมะเร็งปอดเพราะได้รับควันบุหรี่จากผู้ใกล้ชิด


  • PM 2.5

หากได้รับฝุ่นละออง PM2.5 มากกว่า 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดได้ถึง 1.3 เท่า


  • สารพิษและมลภาวะต่าง ๆ

การสูดดมเขม่าควันจากการทำอาหาร การเผาไหม้ต่าง ๆ รวมถึงสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น แร่ใยหิน, ก๊าซเรดอน, สารหนู, ถ่านหิน ฯลฯ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้


  • โรคปอดเรื้อรังบางชนิด

ผู้ที่เป็นวัณโรคปอดจะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดมากขึ้น


  • การฉายแสง

การฉายแสงเพื่อรักษามะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม ก็เพิ่มอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งปอดได้


🔖 กระทรวงสาธารณสุข (ข้อมูล ณ วันที่ 16/09/65)

🔖 โรงพยาบาลพระรามเก้า  (ข้อมูล ณ วันที่ 11/03/65)

🔖 kapook  (ข้อมูล ณ วันที่ 25/05/61)


Blog3 814x400


แม้ปัจจัยในเรื่องของอายุและพันธุกรรมป็นความเสี่ยงที่ป้องกันโรคมะเร็งปอดไม่ได้ แต่ยังมีอีกหลายพฤติกรรมที่เราสามารถหลีกเลี่ยงจากโรคมะเร็งปอดได้ ดังนี้


  • เลิกสูบบุหรี่ และไม่ควรอยู่ใกล้คนที่สูบบุหรี่
  • เลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีเขม่าควันนาน ๆ
  • หากค่าฝุ่น PM2.5 สูง ควรใส่หน้ากากอนามัยที่กรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน หรือเลี่ยงไม่ออกไปนอกสถานที่
  • เลี่ยงการสูดควันจากสารเคมีหรือแร่ใยหินโดยตรง แต่หากปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ใยหิน ใยแก้ว หรือโลหะหนักต่าง ๆ ควรใส่หน้ากากอนามัยที่กรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ตลอดเวลาปฏิบัติงาน
  • เลี่ยงการใช้สเปรย์ในห้องอับ
  • หากมีอาการไอเรื้อรัง มีอาการเจ็บหน้าอก ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ
  • ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง
  • หมั่นออกกำลังกาย กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และพักผ่อนให้เพียงพอ


🔖 โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง  

🔖 kapook  (ข้อมูล ณ วันที่ 25/05/61)


จะเห็นได้ว่าโรคมะเร็งปอดใกล้ตัวกว่าที่เราคิด และไม่สามารถตรวจพบในระยะแรก ๆ ได้ รวมถึงมีอัตราการตายที่สูง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งฝุ่น ควัน มลพิษในอากาศ โดยเฉพาะควันบุหรี่มือสอง หันมาใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้นด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ตรวจสุขภาพประจำปี และถ้ามีอาการเสี่ยงควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด


นอกจากจะดูแลตัวเองให้สุขภาพดี ห่างไกลจากโรคมะเร็งปอดแล้ว การวางแผนเรื่องสุขภาพก่อนเจ็บป่วยก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เพราะการซื้อประกันโรคร้ายแรงตั้งแต่ตอนที่เรายังสุขภาพดี จะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ หากเจ็บป่วยแล้วถึงตัดสินใจซื้อก็อาจสายไป


ดังนั้นวางแผนเตรียมไว้มั่นใจกว่า กับ CI Perfect Care ช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาล 36 โรคร้าย ตรวจเจอก็รับเงินก้อนไปรักษาสูงถึง 1 ล้านบาท(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 7 บาท(2)


#ประกันโรคร้ายไม่ต้องจ่ายแพง

✔ คุ้มครองโรคร้าย มากถึง 36 โรคร้ายแรงรวมสูงสุดถึง 100%(3)

✔ รับความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตรวมสูงสุดถึง 100%(3)

✔ ดูแลโรคร้ายแบบต่อเนื่อง ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ระยะกลาง หรือระยะรุนแรง

✔ เพิ่มเติม รับผลประโยชน์หากเจ็บป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน ผ่าตัดขยายหลอดเลือดแดงหัวใจ รับความคุ้มครองอย่างละ 10%(4)

✔ สมัครได้ตั้งแต่อายุ 30 วัน – 65 ปี (คุ้มครองถึงอายุ 85 ปี)

✔ สามารถชำระเบี้ยประกันภัยผ่านบัตรเครดิตได้


รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


(1) กรณีเลือกซื้อสัญญาเพิ่มเติม ซีไอ เพอร์เฟค แคร์ จำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัย เพศหญิง อายุ 28 ปี เลือกซื้อสัญญาเพิ่มเติม ซีไอ เพอร์เฟค แคร์ จำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

(3) ผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต และ/หรือกรณีเป็นโรคร้ายแรงระยะเริ่มต้น ระยะกลาง และระยะรุนแรง รวมกันสูงสุด 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติม

(4) จ่ายผลประโยชน์เป็นร้อยละของจำนวนเงินเอาประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติม โดยจ่ายความคุ้มครองให้เพียง 1 ครั้งต่อโรค ตลอดอายุสัญญา


  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • เบี้ยประกันภัยบางส่วนสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ