Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

เตือน! ไม่ต้องติดหวาน ก็สามารถเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้

เตือน! ไม่ติดหวาน ก็สามารถเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้

โรคเบาหวาน หนึ่งในโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัญหาของระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินกว่าปกติ โดยสาเหตุโรคเบาหวาน เกิดได้ทั้งจากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม ถ้าไม่ระวัง หรือ ป้องกันโรคเบาหวาน ความเสี่ยงก็อาจส่งผลให้เป็นโรคแทรกซ้อนตามมาได้ วันนี้เมืองไทยประกันชีวิตขอพามาทำความรู้จักโรคเบาหวานให้มากขึ้น โดยเฉพาะ อาการโรคเบาหวาน รวมถึงวิธีป้องกันโรคเบาหวาน เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน



โรคเบาหวาน สาเหตุ


โรคเบาหวาน สาเหตุ


ปัจจัยเสี่ยง โรคเบาหวาน มาจากพฤติกรรมการกิน รองลงมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยไม่รู้ตัว รวมถึงอายุ ความเครียด หรือ ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน เกิดจากร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่มีชื่อว่า อินซูลิน ที่คอยทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปเลี้ยงอวัยวะภายในร่างกายเพื่อสร้างเป็นพลังงาน แต่ในผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ฮอร์โมนอินซูลินไม่สามารถทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดมีระดับที่สูงขึ้น


โรคเบาหวาน มีกี่ระยะ และกี่ชนิด


โรคเบาหวาน มีกี่ระยะ และกี่ชนิด


โรคเบาหวาน มีกี่ระยะ อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่สงสัยว่าตัวเองกำลังงมีอาการเริ่มต้นของโรคเบาหวาน หรือไม่ โดยเราสามารถแยกสาเหตุของโรคเบาหวานตามประเภทที่พบโดยทั่วไปได้ดังนี้


โรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ


  • ประเภทที่ 1 เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สร้างภูมิไปทำลาย เบตา เซลล์ (Beta Cells) ของตับอ่อน ซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอตามความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น โดยเบาหวานชนิดที่ 1 สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งเเต่ช่วงวัยเด็ก และ วัยรุ่น โดยเฉพาะในช่วงอายุ 4-7 ปี และ 10-14 ปี
  • ประเภทที่ 2 สามารถพบได้มากที่สุดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน กว่าร้อยละ 95 โดยสาเหตุหลักเกิดจากภาวดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ส่งผลให้อินซูลิน ซึ่งทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือดทำงานได้ไม่ดี ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือ มีภาวะน้ำหนักเกิน เป็นต้น


โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ระยะ


  • ระยะแรก น้ำตาลในเลือดสูง หรือสูงขึ้นเฉียบพลัน เช่น 400-500 เกลือแร่ผิดปกติ มีภาวะขาดน้ำ ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ทำให้คนไข้มีอาการซึมลงได้ หรือ ในภาวะที่เรียกว่า ช็อกน้ำตาล
  • ระยะที่ 2 เป็นเบาหวานมานานแล้วไม่สามารถคุมน้ำตาลได้ จะทำให้เส้นเลือดพัง เส้นเลือดแข็งง่ายขึ้น ตีบง่ายขึ้น และถ้าเส้นเลือดทั่วร่างกายตีบ ก็ส่งผลให้เส้นเลือดในสมองตีบด้วยเช่นกัน ส่งผลต่อเนื่องถึงขั้นการเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้อาจมีอาการเส้นเลือดหัวใจตีบ ส่งผลให้หัวใจขาดเลือด และถ้าเส้นเลือดที่ขาตีบก็จะทำให้เวลาเป็นแผล แผลจะหายช้า เนื่องจากแผลขาดเลือด สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไข้ต้องตัดขาทิ้ง เรียกได้ว่า ส่งผลต่อทุกส่วนของร่างกาย


อย่างที่กล่าวไว้ว่าปัจจุบันโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ถูกตรวจพบมากที่สุด และส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุมาก หรือกลุ่มคนที่มีรูปร่างอ้วน เป็นต้น 


อาการที่เกิดจากโรคเบาหวานมีอยู่ 2 แบบ คือ


อาการที่เกิดจากโรคเบาหวานมีอยู่ 2 แบบ คือ


1. อาการที่เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น เหงื่อออก ใจสั่น มือสั่น รู้สึกหิว อ่อนเพลีย แขนขาไม่มีแรง สับสน หมดสติ ชัก

2. อาการที่เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ น้ำหนักลด คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง เป็นต้น


โรคเบาหวานป้องกันได้อย่างไร


โรคเบาหวานป้องกันได้อย่างไร


จากข้อมูลข้างต้น โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดได้จากหลายปัจจัย และบางปัจจัยเสี่ยงก็ไม่สามารถป้องกันได้ เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยจากโรคประจำตัว การตั้งครรภ์ หรือ ยาประจำตัวที่แพทย์สั่งจ่าย แต่ในส่วนของปัจจัยที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ในส่วนนี้สามารถป้องกันได้ ผ่านการปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้


  • บริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักใบเขียว
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกน้ำหวาน ของหวาน และผลไม้ที่มีรสหวาน
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกปีและสม่ำเสมอ


ใครเสี่ยงโรคเบาหวาน


  • อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือมีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 23
  • สัดส่วนของรอบเอวต่อส่วนสูงมากกว่า 0.5
  • มีประวัติคนในครอบครัวญาติเป็นโรคเบาหวาน
  • ช่วงตั้งครรภ์มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
  • มีประวัติเป็นโรคความดันสูง
  • มีโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น ไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด


โรคเบาหวานถือเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่เราต้องระมัดระวัง โดยอาการของโรคเบาหวานจะค่อย ๆ ส่งสัญญาณให้ร่างกายแสดงออกทีละน้อย หรือรุนแรง และส่วนใหญ่สาเหตุโรคเบาหวานเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงพันธุกรรม ดังนั้นควรตรวจสอบอาการของตัวเองอยู่เสมอ เพราะโรคเบาหวานเป็นแล้วยากที่จะหายขาด หากพบความผิดปกติกับสุขภาพควรหาแนวทางการรักษา ก่อนที่จะเกิดอาการรุนแรงขึ้นตามมา  ส่งผลให้คุณภาพชีวิตและการเงินของผู้ป่วยแย่ลงได้


ดังนั้นมองหาประกันสุขภาพไว้ก่อนป่วย จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาที่เกิดขึ้น พร้อมเสริมความมั่นใจด้วยความคุ้มครองสุขภาพ D Health Plus ความคุ้มครองสุขภาพคนเจนใหม่ เหมาจ่ายค่าห้องค่ารักษา 5 ล้านบาท(1) ครอบคลุมทั้งโรคเล็กถึงโรคแรง ๆ เบี้ยไม่แพง วันละไม่ถึง 53 บาท(2)


✅ มีอาการเมื่อไร แอดมิตก็เหมาจ่ายในวงเงินเดียว ทั้งค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน ค่าห้องไอ.ซี.ยู ค่าหมอ ค่ายา ค่าตรวจ ค่าผ่าตัด แบบจ่ายตามจริง
✅ แอดมิตไม่ต้องรอ นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุกโรงพยาบาล
✅ ปรับเปลี่ยนแผนได้ มีสวัสดิการเลือกแผนมีความรับผิดส่วนแรก เบี้ยถูกลงอีก และอัปเกรดได้เมื่อถึงวัยเกษียณ
✅ เตรียมตัวตั้งแต่ตอนนี้ เพิ่มความคุ้มครอง แคร์ พลัส (Care Plus) ดูแลค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็งและไตวายเรื้อรังทุกระยะทั้ง IPD และ OPD สูงสุด 10 ล้านบาทต่อปี(3)


พวกเราซื้อแล้ว เพื่อน ๆ ซื้อกันรึยัง?

รายละเอียดเพิ่มเติม

✅โทร. 02-015-5447 เวลา 09.00 - 17.00 น.
✅ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต


(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศชาย อายุ 25 ปี เลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(3) กรณีเลือกความคุ้มครองสำหรับโรคมะเร็งและไตวายเรื้อรังแผน 5 ล้านบาท

  • สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ  ดี เฮลท์ พลัส ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
    ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • ความคุ้มครอง แคร์ พลัส (Care Plus) จะคุ้มครองค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคมะเร็งและ/หรือโรคไตวายเรื้อรังสำหรับวิธีการบำบัดรักษาตามที่บริษัทฯ กำหนด
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 29/08/66

🔖 hellokhunmor ข้อมูล ณ วันที่ 7/12/66

🔖 hdmal

🔖 Rama Channel ข้อมูล ณ วันที่ 26/11/65

🔖 Chulalongkornhospital ข้อมูล ณ วันที่ 15/07/64

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ