Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเกษียณ Thumbnail1200 X600

เตรียมให้พร้อมก่อนเกษียณ ถ้าไม่อยากพังเพราะโรคร้าย

หลายคนอาจคิดว่าการเริ่มต้นวางแผนเกษียณของคนหนุ่มสาวอายุประมาณ 35 ปี ดูเป็นเรื่องไกลตัว ซึ่งความจริงแล้วไม่ไกลตัวอย่างที่คิด เพราะถือเป็นการเตรียมพร้อมชีวิตวัยเกษียณตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเงิน หรือสุขภาพ เพราะเมื่อเราอายุมากขึ้น หนี้สิน ค่าใช้จ่ายก็จะมากตามมาด้วย รวมถึงการยอมรับความเสี่ยงอาจไม่แกร่งกล้าเท่าคนหนุ่มสาว และที่สำคัญสุขภาพคือตัวขับเคลื่อนชีวิต ถ้าเริ่มดูแลช้าความเสี่ยงก็จะมาก ดังนั้นการดูแลสุขภาพไปพร้อม ๆ กับการสร้างความมั่นคงทางการเงินจึงไม่ควรมองข้าม หากไม่อยากอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินกับโรคร้ายเหล่านี้เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ


เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเกษียณ Blog1

โรคเบาหวาน เบาหวานได้เบา


ชื่อโรคอาจฟังดูเบ๊า เบา แต่บอกเลยว่าหากโรคเบาหวานมาเยี่ยมเยียนในช่วงวัยเกษียณ ความฝัน ความสุขและเงินทองที่เก็บสะสมไว้ผิดแผนอย่างแน่นอนโดยโรคเบาหวาน คือความผิดปกติที่ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน เป็นต้น โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีอาการดังนี้


  • ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ อ่อนเพลีย
  • กินอาหารมากแต่น้ำหนักลด
  • มีภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานขึ้นตา ไตวาย และแผลเรื้อรังที่เท้า
  • อาจมีอาการเลือดเป็นกรดจากน้ำตาลสูงมาก ซึม หายใจหอบ


วิธีป้องกัน


การดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน เริ่มต้นได้ง่าย ๆ คือ ไม่กินน้ำตาลมากเกินจำเป็น เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ลดการกินข้าว แป้ง หรือกินข้าวกล้อง ธัญพืชที่ไม่ขัดสีแทน และต้องไม่ลืมกินผัก ผลไม้ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ


🔖 โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

🔖 สสส. (ข้อมูล ณ วันที่ 17/11/58)


เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเกษียณ Blog2


โรคหัวใจขาดเลือด อายุมากยิ่งเสี่ยง


อายุมากขึ้นความเสี่ยงยิ่งเพิ่มตามสำหรับโรคหัวใจขาดเลือด โดยสาเหตุเกิดจากหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้นหรือตัน ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถหล่อเลี้ยงหัวใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อที่หัวใจเสื่อมสภาพและตายลง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเกิดจากโรคไขมัน โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ที่สำคัญคือการสูบบุหรี่ และกรรมพันธุ์หากประวัติพ่อแม่เป็นโรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจ ก็มีโอกาสเสี่ยงสูง โดยอาการเบื้องต้นที่พบจะมีดังนี้


  • แน่นหน้าอก
  • หายใจถี่
  • เหนื่อยง่าย
  • วิงเวียนศีรษะ
  • เหงื่อออกขณะที่ร่างกายเย็น


วิธีป้องกัน


อย่างที่ได้กล่าวไป ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งเสี่ยงเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ดังนั้นหันมาใส่ใจสุขภาพกันตั้งแต่อายุไม่มาก เริ่มต้นจากการกินอาหารที่มีประโยชน์ เลิกสูบบุหรี่ ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ควบคุมน้ำหนัก และตรวจสุขภาพหัวใจ (สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง) เป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยง


🔖 โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

🔖 Pobpad


เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเกษียณ Blog3



โรคความดันโลหิตสูง มาเงียบ ๆ แต่อันตราย


โรคความดันโลหิตสูง แม้จะไม่เป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตวายระยะสุดท้าย โดยโรคความดันโลหิตสูง จำแนกตามสาเหตุได้ 2 ชนิด คือ ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ พบในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุมาจากการเป็นโรคอื่นมาก่อน เช่น เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ไตวายเรื้อรัง เป็นต้น โดยจะมีอาการได้ดังนี้


  • เจ็บหน้าอก
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว
  • เลือดกำเดาไหล
  • เหนื่อยง่าย
  • หัวใจเต้น


วิธีป้องกัน


โรคความดันโลหิตถือเป็นหนึ่งในโรคที่ได้รับฉายาว่าฆาตกรเงียบ หากมีเพียงความดันสูงเล็กน้อยหรือปานกลาง มักไม่แสดงอาการ ดังนั้นควรป้องกันตัวเองเพื่อลดความเสี่ยง เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่กินอาหารเค็มจัด ควบคุมน้ำหนัก และตรวจเช็กร่างกายสม่ำเสมอ


🔖 Thairath (ข้อมูล ณ วันที่ 08/01/65)

🔖 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเกษียณ Blog4


มะเร็ง สาเหตุหลัก พฤติกรรม


มะเร็งที่พบบ่อยที่สุดของคนไทยได้แก่ มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ซึ่งสามารถแบ่งปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ปัจจัยภายนอก เช่น สารก่อมะเร็งในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม ยารักษาโรค เป็นต้น ส่วนปัจจัยภายในร่างกาย อาทิเช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุเช่นกัน ซึ่งอาการของผู้ป่วยมะเร็งเบื้องต้นมีดังนี้


  • ระบบขับถ่ายมีการเปลี่ยนแปลง
  • กลืนอาหารลำบาก
  • แผลที่รักษาแล้วไม่ยอมหาย
  • ทวารทั้งหลายมีเลือดไหล
  • มีการเปลี่ยนแปลงของไฝและหูด
  • ไอและเสียงแหบจนเรื้อรัง
  • มีเลือดออกผิดปกติ จากทวารต่าง ๆ


วิธีป้องกัน


หนึ่งในปัจจัยการเกิดมะเร็งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนั้นการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง คือ เลิกบุหรี่ แอลกกอฮอล์ กินอาหารที่มีประโยชน์  ออกกำลังกายให้มากขึ้น นอนหลับให้สนิท และหมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี


🔖 สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

🔖 ประชาชาติธุรกิจ (ข้อมูล ณ วันที่ 21/02/65)

🔖 คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล


เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเกษียณ Blog5


โรคอุบัติใหม่ ลดเสี่ยงได้ ถ้าระวังและป้องกัน


หลายคนอาจยังไม่คุ้นชินกับคำว่าโรคอุบัติใหม่ แต่ถ้ายกตัวอย่างว่าโรคโควิด 19 คือหนึ่งในโรคอุบัติใหม่ น่าจะพอร้องอ๋อกันมากขึ้น โดยเป็นโรคติดต่อชนิดใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและต้องใช้เวลาในการวิจัยเพื่อหาวิธีรักษา เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อใหม่ โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ใหม่ โรคติดต่ออุบัติซํ้าและเกิดจากการกระทำของมนุษย์ด้วยสารชีวะ เป็นต้น
สาเหตุการเกิดโรคอุบัติใหม่มีหลายปัจจัยทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านประชากร การเปลี่ยนแปลงของเชื้อโรค การใช้ยาที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงด้านวิถีชีวิตและพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้โรคแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว และเป็นตัวเร่งให้เกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ขึ้นมากมาย ได้แก่ โรคซาร์ส ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ ไวรัสอีโบลา ไวรัสซิก้า และโควิด 19 


วิธีป้องกัน


โรคอุบัติใหม่เป็นโรคที่ไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้น แต่ก็สามารถตั้งรับและเตรียมความพร้อมให้กับตัวเองเพื่อเป็นเกราะป้องกัน ที่สำคัญ หากโรคเหล่านี้แพร่ระบาด เช่น การเตรียมสุขภาพร่างกายและจิตใจให้พร้อมเสมอ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคชนิดต่าง ๆ  หาข้อมูลของโรคที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อเตรียมรับมือ หมั่นออกกำลังกายและกินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่


🔖 กรมควบคุมโรค

🔖 thestandard (ข้อมูล ณ วันที่ 12/03/63)



การไม่มีโรคถือเป็นลาภอันประเสริฐ คำๆ นี้ ยังสามารถใช้ได้กับทุกช่วงวัย โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมให้กับสุขภาพในยามเกษียณ เพราะอายุที่มากขึ้น การเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก แถมหลังเกษียณอายุ สวัสดิการที่เคยมีอยู่ก็จะหายไป หากเราวางแผนไว้ไม่ดีพอ นอกจากสุขภาพที่พัง แผนอื่นๆ ที่วางไว้อย่างการซื้อบ้านหลังใหม่ หรือไปเที่ยวรอบโลก อาจต้องมาสะดุดเพราะเงินเก็บที่เตรียมไว้ ต้องโยกมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล 


การวางแผนให้ครอบคลุมทั้งเรื่องความคุ้มครองชีวิต สุขภาพ และการลงทุน จึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ต้องเลือกให้คุ้มค่าที่สุด แม้เจ็บป่วยก็ไม่ต้องกังวลด้วย uDesign ประกันชีวิตควบการลงทุนจากเมืองไทยประกันชีวิต ที่ให้ความคุ้มครองมากกว่า ใช้ชีวิตคุ้มค่ามากขึ้น


  • จ่ายเบี้ยเท่ากันแต่เลือกความคุ้มครองชีวิตได้มากกว่า (1)
  • เบี้ยรวมคงที่ตลอดสัญญา แม้แนบสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ (2)
  • คุ้มครองครอบคลุม โรคโควิด 19 โรคอุบัติใหม่ โรคร้ายแรง และโรคทั่วไป ดูแลสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี (3)
  • กรมธรรม์ยืดหยุ่น เพิ่ม ถอน หยุดพักชำระเบี้ยระหว่างสัญญาได้
  • โอกาสรับผลตอบแทนที่ดีกว่าจากการลงทุนในกองทุนรวมคุณภาพที่หลากหลาย


รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


หมายเหตุ:

(1) ความคุ้มครองที่มากกว่าขึ้นอยู่กับอายุ เพศ สุขภาพ และผลตอบแทนจากการลงทุน เมื่อเทียบระหว่างแบบประกันภัยเมืองไทยยูนิตลิงค์ 1 (ชำระเบี้ยประกันภัยรายงวด) กับแบบประกันภัยเมืองไทย สมาร์ท โพรเทคชั่น 99/20
(2) สัญญาเพิ่มเติมแบบชำระค่าการประกันภัยโดยการหักจากมูลค่าการลงทุน
(3) เมื่อแนบสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพแบบอีลิท เฮลท์ หรือแบบดี เฮลท์ โดยคุ้มครองตราบเท่าที่มูลค่าการลงทุนมีเพียงพอที่จะชำระค่าใช้จ่ายตามกรมธรรม์

  • ระยะเวลาคุ้มครองขึ้นอยู่กับระยะเวลาการชำระเบี้ย อัตราผลตอบแทนการลงทุน และการถอนเงินลงทุนบางส่วนจากกรมธรรม์
  • เบี้ยประกันภัย (ไม่รวมส่วนของการลงทุน) ของแบบประกันภัยนี้ สามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 172 และ 383
  • ภาวะการลงทุนที่ผันผวน การหยุดพักชำระเบี้ยประกันภัย รวมถึงการถอนเงินลงทุนออกบางส่วนจากกรมธรรม์ อาจส่งผลให้ผลประโยชน์และความคุ้มครองที่จะได้รับลดลง
  • เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุในกรมธรรม์
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • โครงการ uDesign เป็นชื่อทางการตลาดของโครงการเมืองไทยยูนิตลิงค์
  • เงื่อนไขเป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามประกาศ ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 และ แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด 19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม 2565 หรืออ้างอิงตามประกาศฉบับล่าสุด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว