Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

คลายสงสัย...ลดหย่อนภาษีสูงสุด 300,000 บาท

คลายสงสัย...ลดหย่อนภาษีสูงสุด 300,000 บาท

26 ตุลาคม 2563

10 นาที

พูดถึงเรื่องลดหย่อนภาษี เราคุ้นเคยกันดีกับการยื่นสิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปใน 100,000 บาทแรก และเมื่อใช้เต็มสิทธิแล้วก็จบกันไป ไม่ค่อยได้สนใจสิทธิลดหย่อนภาษีอีก 200,000 บาท ทั้งที่ความจริงแล้ว ยังมีอีกหนึ่งตัวช่วยในการขอสิทธิลดหย่อนภาษีให้ครบถ้วนเต็มที่ 300,000 บาท อย่างประกันชีวิตแบบบำนาญ หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นเคยเท่าไหร่ หรือคิดไปว่าค่อยซื้อตอนใกล้เกษียณอายุก็ยังทัน แต่เชื่อเถอะ ว่านี่ถือเป็นอีกหนึ่งแบบประกันที่ให้มากกว่าความคุ้มครอง พร้อมสิทธิประโยชน์มากมาย มาดูกันว่า ประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ยังไงบ้าง เมืองไทยประกันชีวิตมีข้อมูลดีๆ มาฝากเช่นเคย


 ประกันชีวิตแบบบำนาญคืออะไร ใช้สิทธิลดหย่อนภาษียังไงบ้าง

ประกันชีวิตแบบบำนาญคืออะไร? และสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษียังไงบ้าง?

 

ประกันชีวิตแบบบำนาญ คือแบบประกันที่เน้นผลตอบแทนมากกว่าความคุ้มครอง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับแบบประกันสะสมทรัพย์ที่เราคุ้นเคย แต่ความแตกต่างคือประกันสะสมทรัพย์จะจ่ายผลตอบแทนเราในรูปแบบของ “เงินคืน” ซึ่งจะเป็นการทยอยจ่ายคืนให้ระหว่างสัญญา แต่ประกันชีวิตแบบบำนาญ จะไม่มีเงินคืนให้ในช่วงที่อายุยังน้อย แต่จะจ่ายคืนให้เป็นรูปแบบของ “เงินบำนาญ” ทุกๆปี หรือทุกๆเดือน ตั้งแต่เริ่มเกษียณ (อายุ 55 ปีเป็นต้นไป) จนถึงอายุที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเงื่อนไขของประกันชีวิตแบบบำนาญในการยื่นลดหย่อนภาษี มีดังนี้


  • ต้องเป็นประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไ
  • ต้องเป็นประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีวงเล็บด้านหลังว่า “บำนาญแบบลดหย่อนได้”
  • ผลประโยชน์จะเริ่มจ่ายเมื่ออายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป - จนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่านั้น
  • ไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นใดก่อนรับเงินบำนาญ ยกเว้นผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต
  • ไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นใด ณ วันครบกำหนดชำระเบี้ยประกันภัย หรือวันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยปีสุดท้ายก่อนรับเงินบำนาญ
  • การจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญในช่วงรับบำนาญต้องกำหนดจ่ายผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ เช่น รายปี รายเดือน เป็นต้นต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเท่านั้น


ทั้งนี้ เมื่อนำไปรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน เงินที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เงินที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญนั้น สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน



วิธีลดหย่อนภาษี 200,000 บาทหลัง คู่กับสิทธิลดหย่อนภาษี 100,000 บาทแรก

ลดหย่อนภาษี 200,000 บาทหลัง คู่กับสิทธิลดหย่อนภาษี 100,000 บาทแรก


แบบที่ 1 : ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 200,000 บาทหลัง คู่กับสิทธิลดหย่อนภาษี 100,000 บาทแรก


โดยปกติเราคุ้นเคยกับการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป และประกันชีวิตและสุขภาพรวมกัน เพื่อขอลดหย่อนภาษีในสิทธิ 100,000 บาท ซึ่งถ้ารวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ (แบบลดหย่อนภาษีได้) ที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาทแล้ว เราก็จะสามารถใช้สิทธิได้สูงสุดถึง 300,000 บาท แต่ในกรณีนี้มีข้อแม้ว่า การใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ รู้แบบนี้แล้ว ลองหาแบบประกันบำนาญที่เหมาะกับเรา แล้วสมัครเพื่อรับทั้งความคุ้มครองและผลประโยชน์กันดีกว่า


การใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต และการใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

หากไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป สามารถใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้สูงสุด 300,000 บาท


แบบที่ 2 : หากไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป สามารถใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้สูงสุด 300,000 บาท


สำหรับใครที่ยังสงสัย ไม่มีประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ แต่สนใจอยากซื้อแบบประกันชีวิตแบบบำนาญไว้เพื่อลดหย่อนภาษี สามารถทำได้หรือไม่? คำตอบคือสามารถทำได้ และสามารถนำเบี้ยของประกันชีวิตแบบบำนาญไปหักลดหย่อนภาษีเพียงอย่างเดียวได้สูงสุดถึง 300,000 บาท นั่นคือใช้สิทธิลดหย่อนภาษีทั้งในส่วนของ 100,000 บาทแรก และ 200,000 บาทหลัง ซึ่งหากรวมกับสิทธิลดหย่อนในส่วนอื่นๆ แล้ว ก็จะทำให้เราได้รับผลประโยชน์ที่น่าพอใจมากขึ้นอีกด้วย

 วิธีใช้สิทธิลดหย่อนของ 100,000 บาทแรก และสิทธิลดหย่อน 200,000 บาทหลัง

ใช้สิทธิลดหย่อนทั้งในส่วนของ 100,000 บาทแรก และสิทธิลดหย่อน 200,000 บาทหลัง


แบบที่ 3 : ใช้สิทธิลดหย่อนทั้งในส่วนของ 100,000 บาทแรก และสิทธิลดหย่อน 200,000 บาทหลัง


ถ้าประกันชีวิตทั่วไปที่เรามี ใช้สิทธิลดหย่อนแล้วยังไม่ครบ 100,000 บาทแรก เราสามารถนำเบี้ยของประกันชีวิตแบบบำนาญขอลดหย่อนรวมเข้าไปในส่วนนี้ได้ และยังสามารถนำมาขอสิทธิลดหย่อนภาษีในส่วนของ 200,000 บาทหลัง ของเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้ในจำนวนเต็มอีกเช่นกัน ถือเป็นอีกหนึ่งความคุ้มค่า ที่ให้เราได้รับทั้งความคุ้มครอง และผลประโยชน์ระยะยาวหลังเกษียณ


นอกจากเรื่องผลตอบแทนในรูปแบบเงินบำนาญในช่วงเกษียณแล้ว ประกันชีวิตแบบบำนาญ (แบบลดหย่อนภาษีได้) ก็ยังสามารถใช้สิทธิขอลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย และหากเราอยากได้รับผลประโยชน์ต่างๆ ได้เต็มประสิทธิภาพ ก็ควรเริ่มต้นวางแผนเอาไว้แต่เนิ่นๆ จะได้ลดความเสี่ยงเรื่องของการเงินในชีวิตบั้นปลาย ทั้งยังสามารถเลือกรับความคุ้มครองที่ตรงใจ ตรงกับเป้าหมายในอนาคตที่เราวางไว้ เมืองไทยประกันชีวิตจึงขอแนะนำ โครงการเมืองไทย รีเทิร์น รีไทร์ ที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งยังการันตีรายได้หลังเกษียณแม้ไม่ได้ทำงาน จ่ายเบี้ยสั้นเพียง 5 ปี ก็มีเงินบำนาญใช้ไปจนถึงอายุ 85 ปี ปีละ 20%(1) รวมสูงสุด 520%(1) พร้อมคุ้มครองชีวิตในช่วงก่อนเกษียณสูงสุด 150%(2) รีไทร์อุ่นใจ เพราะได้รีเทิร์นแบบชัวร์ๆ มีเงินใช้หลังเกษียณทุกปี

(1) เป็น % ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ณ วันเริ่มสัญญา

(2) เป็น % ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้ว


หมายเหตุ

  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครองและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว