Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

ตรวจสอบคืนภาษี ยื่นแล้วยังไม่ได้เงินคืน รวมวิธีเช็คมาให้แล้ว

ตรวจสอบคืนภาษี ยื่นแล้วยังไม่ได้เงินคืน รวมวิธีเช็คมาให้แล้ว

04 เมษายน 2567

5 นาที

ช่วงยื่นภาษีแบบนี้ ใครอยากตรวจสอบคืนภาษี กี่วันได้ รีบมามุงด่วน ส่วนใครที่ยังไม่ยื่นให้รีบเลย เพราะใกล้หมดเขตแล้ว ซึ่งการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90/91 ของปีภาษี 2566 จะสามารถยื่นแบบฯ ด้วยกระดาษได้ภายในวันที่ 1 เม.ย. 2567 และแบบที่ยื่นผ่านทางออนไลน์ จะสามารถยื่นได้ถึงวันที่ 9 เม.ย. 2567 ส่วนคนที่ยื่นภาษีแล้ว แต่ยังไม่ได้เงินคืน อยากตรวจสอบคืนภาษี กี่วันได้เงินคืน เช็กยังไง ตรวจสอบผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดา หรือตรวจสอบการยื่นภาษีออนไลน์ได้หรือไม่ วันนี้แอดได้รวบรวมวิธี ตรวจสอบคืนภาษีมาไว้ให้แล้ว



ตรวจสอบคืนภาษี กี่วันได้

เงินคืนภาษี คืออะไร


เงินคืนภาษี เป็นสิทธิที่ผู้เสียภาษีสามารถทำได้ ซึ่งจะมีการกำหนดอัตราเงินได้สุทธิ ที่เข้าเกณฑ์จะต้องจ่ายภาษี 150,000 บาทขึ้นไป โดยต้องยื่นภาษีกับทางกรมสรรพากร และสำหรับคนที่มีสิทธิจะได้เงินคืนภาษีนั้น หากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายระหว่างปี มากกว่ามูลค่าภาษี ที่ตัวเองมีหน้าที่ต้องจ่ายจริง เช่น ภาษีปันผลหุ้น การรับงานนอก ฟรีแลนต์ ที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว เมื่อยื่นเงินภาษีไป สรรพากรก็จะพิจารณาตามเงื่อนไข หากพบว่าคุณมีรายได้สุทธิ อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต้องเสียภาษี จึงสามารถยื่นขอเงินภาษีคืนได้ และจะได้คืนเงินภาษีบางส่วน ที่เกินกว่าที่จ่ายจริงกลับมา


ตรวจสอบคืนภาษี กี่วันได้


เมื่อเรายื่นภาษีเรียบร้อยแล้ว อยากตวรจสอบคืนภาษี กี่วันได้ ก่อนอื่น กรมสรรพากรจะดำเนินการ คืนเงินภาษี ภายใน 3 เดือน ซึ่งในกรณีนี้ คุณต้องยื่นเอกสารครบถ้วนและชัดเจน ว่าได้มีการเสียภาษีไว้เกิน ผิด ซ้ำ หรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ซึ่งการขอคืนภาษีว่าจะได้รับเงินคืนเร็วสุดกี่วันนั้น จะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ความเสี่ยงของผู้ยื่น หากไม่พบปัญหา โดยทั่วไปแล้วจะได้คืนภาษีภายใน 3-4 วัน ทำการ (ในกรณีนี้ต้องรับเงินคืนภาษีผ่านพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน)


ได้เงินภาษีคืนเท่าไหร่ เช็คยังไง


สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งยื่นภาษี อาจจะยังงง ๆ อยู่ว่า หลังจากยื่นภาษีเรียบร้อยแล้ว จะได้เงินคืนภาษีเท่าไหร่ เช็กยังไง โดยหลังจากที่ยื่นภาษี ภ.ง.ด.90/91 ผ่านเว็บของสรรพากรแล้ว ในขั้นตอนสุดท้ายของการยื่นภาษีจะมี แจ้งว่าเราสามารถขอคืนได้เท่าไหร่ในช่องของ “ยอดภาษีสุทธิชำระไว้เกิน” จากนั้น หน้าเว็บไซต์จะขึ้นว่า “ต้องการขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกิน” ขั้นตอนต่อไป เราก็สามารถคลิกตรง “ต้องการขอคืน” ได้เลย ซึ่งหลังจากนั้น เว็บไซต์จะแจ้งผลไปที่เบอร์โทรศัพท์ ที่เราลงทะเบียนไว้ เราก็จะรู้ว่าได้เงินคืนภาษีเท่าไหร่


วิธีตรวจสอบคืนภาษี

วิธีตรวจสอบคืนภาษี


เมื่อเรายื่นภาษีเรียบร้อยแล้ว เราสามารถเช็คการขอคืนภาษี ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91 ได้ง่าย ๆ จากขั้นตอนต่อไปนี้

1. เข้าไปที่เว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/272.html

2. คลิกที่สอบถามการคืนภาษี (E-Refund)

3. กรอกข้อมูลส่วนตัว เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ชื่อ -สกุล ผู้เสียภาษี และ คลิกสอบถาม

4. กดสอบถาม เพื่อเช็คสถานะข้อมูลของเงินคืนภาษี

5. ดูช่องทางการรับคืนเงินภาษี ซึ่งเราสามารถเลือกได้ 3 ช่องทาง ได้แก่

  • คืนเงินผ่านบัญชีธนาคาร ที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
  • คืนเงินผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือ ธ.ก.ส.
  • คืนงินผ่านเช็ค กรณีผู้ขอคืนที่ไม่สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก


ยื่นภาษีผิด ต้องทำยังไง


หลายคนที่เป็นมือใหม่ในการยื่นภาษี อาจใส่ข้อมูลผิด หรือเลือกผิดจนถึงขั้นตอนสุดท้ายถึงจะรู้ตัว ไม่ต้องกังวลไป เพราะหากยื่นภาษีออนไลน์ผิด ก็สามารถยื่นใหม่ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • ผู้ยื่นภาษีจะต้องเข้าสู่ระบบอีกครั้ง และกรอกข้อมูลใหม่
  • หลังจากนั้น ระบบจะเตือนว่า "ท่านได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 แบบปกติ ปีภาษี 2566 ผ่าน Internet แล้ว หากประสงค์จะยื่นแบบภาษีเพิ่มเติม โปรดกดปุ่ม "OK" หากไม่ประสงค์ยื่นแบบภาษี เพิ่มเติมโปรดกดปุ่ม "Cancel"
  • เราต้องการยื่นภาษีอีกครั้ง กดปุ่ม "OK" ได้เลย
  • เมื่อ กดปุ่ม "OK" แล้วก็สามารถกรอกข้อมูลใหม่ให้ถูกต้องได้เลย โดยทางเว็บไซต์จะยึดแบบภาษีที่ส่งมาฉบับล่าสุดเป็นหลัก


ยื่นแบบภาษี แล้วแก้ไขได้ไหม


หากยื่นภาษีออนไลน์แล้วข้อมูลไม่ครบ อาจกรอกตัวเลขผิด หรือกรอกรายการลดหย่อนไม่ครบ ก็สามารถแก้ไขได้ตามขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้เลย


  • ในกรณียื่นแบบออนไลน์ จะต้องเข้าสู่ระบบอีกครั้ง เลือกหัวข้อ “ยื่นเพิ่มเติม”
  • สามารถกรอกข้อมูลที่ที่ถูกต้อง หรือเพิ่มข้อมูล ก่อนกด “ยืนยัน” อีกครั้ง


ซึ่งการยื่นภาษีหากข้อมูลผิด หรือข้อมูลไม่ครบ ผู้ยื่นสามารถยื่นใหม่ หรือแก้ไขกี่ครั้งก็ได้ จนกว่าจะครบกําหนดเวลาการยื่นภาษีในแต่ละปี แต่ให้ดีควรตรวจสอบข้อมูลการยื่นภาษีให้ครบถ้วน และรอบคอบ เตรียมเอกสารให้เรียบร้อย ตั้งแต่ข้อมูลผู้ยื่น ข้อมูลลดหย่อนส่วนต่าง ๆ  ตั้งแต่ครั้งแรกที่ยื่น เพราะหากแก้ไขบ่อย ๆ เจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบแบบภาษีที่ยื่นใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้ได้รับเงินคืนภาษีช้าตามไปด้วย


เคล็ดลับได้เงินคืนภาษีเร็ว ๆ


ใครที่อยากได้เงินคืนภาษีเร็ว ๆ แอดมีเคล็ดลับมาฝาก ซึ่งก่อนจะยื่นภาษีต้องเตรียมตัวดังนี้
 
1. ตรวจสอบข้อมูลเอกสารการยื่นภาษีของให้ถูกต้องและครบถ้วน

2. คอยเช็กว่ามีเอกสาร จากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรส่งมาขอเอกสารเพิ่มเติมหรือไม่ หากมีควรจัดส่งให้เร็วที่สุด

3. ควรยื่นภาษีให้จบในครั้งเดียว หากยื่นแก้ไขหลายครั้งจะทำให้การตรวจสอบคืนภาาีล่าช้าได้

4. หากผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนยิ่งสะดวกต่อการได้รับเงินคืนภาษีเร็วที่สุด


ตรวจสอบคืนภาษี ยื่นแล้วยังไม่ได้เงินคืน รวมวิธีเช็คมาให้แล้ว

สำหรับใครที่ยังรอตรวจสอบคืนภาษี สามารถเช็คได้ทางออนไลน์ตามขั้นตอนที่แอดนำมาฝากได้เลย แต่หากหมดเขตยื่นภาษีประจำปีแล้ว เราก็ยังสามารถขอเช็คเงินคืนภาษีย้อนหลังได้นานถึง 3 ปี เลยทีเดียว เมื่อยื่นภาษีประจำปี 2566 เรียบร้อยแล้ว ก็ยังสามารถวางแผนลดหย่อนภาษีในปี 2567 นี้ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้เลย หรือหากใครสนใจรายการลดหย่อนภาษีอื่น เช่น ประกันสุขภาพ ยังสามารถนำค่าเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท


เลือกทำประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ดูแลค่ารักษาทั้งโรคเล็ก โรคแรง ด้วยวงเงินที่เลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท เข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ คุ้มครองทั้ง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคทั่วไป ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย รวมถึงอายุรับประกันสูงสุด 90 ปี ดูแลต่อเนื่องยาว ๆ สูงสุดถึงอายุ 99 ปี


รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย

  • สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 22/01/67

🔖 finnomena

🔖 fillgoods

🔖 prachachat



 

 

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ