Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

ลดหย่อนภาษี 2566 :  ประกันอะไรใช้ลดหย่อนได้ สรุปไว้ให้แล้ว!

ลดหย่อนภาษี 2566 : ประกันอะไรใช้ลดหย่อนได้ สรุปไว้ให้แล้ว!

เตรียมเอกสารลดหย่อนภาษี 2566 ให้พร้อม สำหรับคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี อย่าลืมทำหน้าที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันด้วย โดยเฉพาะเอกสารลดหย่อนภาษีที่มีหลายตัวมาก ๆ ถ้าเพื่อน ๆ เตรียมเอกสารไว้ครบถ้วน รับรองว่าจะช่วยลดหย่อนภาษีและไม่เสียสิทธิแน่นอน มาดูกันว่า ประกันสุขภาพ หรือ ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี ได้เท่าไหร่ วันนี้เรามีเช็กลิสต์เอกสารลดหย่อนภาษีของแต่ละตัวมาฝาก มีอะไรบ้างเราสรุปมาให้แล้ว 



เช็กให้ครบ รายการลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง


เช็กให้ครบ รายการลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง  


ตัวช่วยลดหย่อนภาษี แบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน โดยแต่ละกลุ่มมีรายละเอียด ดังนี้


1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว


1.1 ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท ใช้ลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไข

1.2 ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท โดยคู่สมรสจะต้องจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และต้องไม่มีรายได้ (สูงสุด 1 คน)

1.3 ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท โดยสิทธิลดหย่อนนี้จะให้กับภรรยา นอกจากว่าภรรยาไม่มีเงินได้ สามีจึงจะได้สิทธิแทน

1.4 ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท 

  • ต้องเป็นบุตรโดยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว 
  • อายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่ 
  • หากอายุเกิน 25 ปี ขึ้นไป แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 
  • บุตรคนที่ 2 ขึ้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

1.5 ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูพ่อแม่ของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท 

  • พ่อแม่ต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้องได้
  • จะต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม

1.6 ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ


2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มการลงทุน และ ประกัน ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่


2.1 เบี้ยประกันชีวิต และ ประกันออมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

2.2 เบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท (สามารถลดหย่อนภาษีรวมกับข้อ 2.1 ประกันชีวิตและประกันออมทรัพย์ ได้ไม่เกิน 100,000 บาท)

2.3 เงินประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

2.4 เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

2.5 เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

2.6 เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท วางแผนการเงินด้วย ประกันบํานาญ ลดหย่อนภาษีได้ แถมตอนเกษียณยังมีเงินใช้อีกด้วย

2.7 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) นำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

2.8 กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) นำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

2.9 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน นำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

2.10 กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) นำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

2.11 กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท


(สำหรับกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน ข้อ 2.6-2.11 ลดหย่อนภาษีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท)


3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค


3.1 เงินบริจาคทั่วไป ใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี

3.2 เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ นำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี 

3.3 เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป


4. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ


4.1 โครงการช้อปดีมีคืน 2566 สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 40,000 บาท โดยสินค้าและบริการที่นำมาลดหย่อนภาษี 2566 ได้ คือ สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP และสินค้าหมวดหนังสือ (รวม E-Book)

4.2 ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท


ประกันกลุ่ม ทำประกันให้ลูกลดหย่อนภาษีได้ไหม


ประกันแบบไหน? ใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้


Q: ประกันกลุ่ม ลดหย่อนภาษีได้ไหม

ประกันกลุ่ม เป็นสวัสดิการที่บริษัททำให้แก่พนักงาน บริษัทสามารถนำไปลดหย่อนภาษีนิติบุคคลของบริษัทได้ แต่พนักงานนำไปลดหย่อนภาษีไม่ได้


Q: ทำประกันให้ลูกลดหย่อนภาษีได้ไหม

เบี้ยประกันชีวิตของลูก ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยพ่อแม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เฉพาะส่วนของค่าใช้จ่ายของบุตรตามที่รัฐบาลกำหนดเท่านั้น ดังนั้น ก่อนซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี ต้องเลือกประเภทประกันก่อนซื้อ


สำหรับใครที่ยังไม่ได้ศึกษาการซื้อประกันแบบต่าง ๆ แต่อยากได้สิทธิลดหย่อนภาษี 2566 แนะนำให้เลือกซื้อประกันสุขภาพก่อนเลย เพราะได้ทั้งการคุ้มครองสุขภาพ และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย หลังจากนั้นจะศึกษาซื้อประกันรูปแบบอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ประกันบํานาญ ประกันออมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี ได้เหมือนกัน แถมยังเป็นการวางแผนการเงินในอนาคต เกษียณไปก็ไม่ต้องกังวล สามารถเลือกแบบประกันที่ต้องการได้เลย


👉 เลือกแบบประกันที่ต้องการ และนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 2566 ได้เลย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


ลดหย่อนภาษี 2566 :  ประกันอะไรใช้ลดหย่อนได้ สรุปไว้ให้แล้ว!


เลือก ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ดูแลค่ารักษาทั้งโรคเล็ก โรคแรง ด้วยวงเงินที่เลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาทคุ้มครองทั้ง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคทั่วไป ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย รวมถึงอายุรับประกันสูงสุด 90 ปี ดูแลต่อเนื่องยาว ๆ สูงสุดถึงอายุ 99 ปี


ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13% 


รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️  ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย  
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 24/07/66

🔖finnomena 

🔖กรมสรรพากร 

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ