Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

Thumbnail ขอเอกสารลดหย่อนภาษี Cover 800x500

ยื่นภาษี 2568 ขอเอกสารลดหย่อนภาษีจากไหน ใช้อะไรยื่นบ้าง?

การเตรียมตัวยื่นภาษีและการใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทุกคนที่ต้องจ่ายภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีรายได้จากหลายแหล่งหรือมีค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะขอเอกสารลดหย่อนจากไหน และต้องใช้อะไรบ้าง ในบทความนี้ แอดจะมาเล่าให้ฟัง



ยาวไปเลือกอ่านตามหัวข้อได้เลยนะ


1. ขอเอกสารลดหย่อนภาษี หมวดประกันชีวิตและบริการประกันภัย

2. ขอเอกสารลดหย่อนภาษี หมวดดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย

3. ขอเอกสารลดหย่อนภาษี หมวดเงินบริจาค

4. ขอเอกสารลดหย่อนภาษี หมวดการลงทุน

5. ขอเอกสารลดหย่อนภาษี หมวดอื่น ๆ


ขอเอกสารลดหย่อนภาษี หมวดบริการประกันภัย และการดูแล


1. ขอเอกสารลดหย่อนภาษี หมวดบริการประกันภัย และการดูแล

ผู้ที่มีบริการดูแลด้านสูขภาพ หรือถือกรมธรรม์ประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ สามารถขอรับเอกสารสำหรับยื่นลดหย่อนภาษีได้ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้



ประกันชีวิต ประกันบำนาญ และประกันสุขภาพ

  • เอกสารรับรองการชำระเบี้ย ที่ออกโดยบริษัทประกัน
  • เอกสารรับรองการชำระเบี้ยสำหรับยื่นออนไลน์ ขอได้ที่แอปพลิเคชันของผู้ให้บริการประกันที่เป็นผู้ออกกกรมธรรม์



เบี้ยประกันชีวิตพ่อแม่

  • เอกสารรับรองการชำระเบี้ย ที่ออกโดยบริษัทประกัน
  • เอกสารรับรองการชำระเบี้ยสำหรับยื่นออนไลน์ ขอได้ที่แอปพลิเคชันของผู้ให้บริการประกันที่เป็นผู้ออกกกรมธรรม์
  • เอกสารรับรองบุตร (สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เฉพาะบุคคลที่เป็นบุตรโดยกำเนิดเท่านั้น)



ค่าลดหย่อนบุตรและค่าเลี้ยงดูบิดามารดา และผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี

  • หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ล.ย.03)
  • เอกสารรับรองบุตร



ค่าลดหย่อนสำหรับผู้ดูแลผู้พิการหรือทุพพลภาพ

  • หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ/ทุพพลภาพ (ล.ย.04)
  • สำเนาบัตรประจำตัวผู้พิการ แสดงส่วนที่ระบุว่าเป็นผู้ดูแลผู้พิการ



ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร

  • ใบเสร็จรับเงินค่าฝากครรภ์และค่าทำคลอดที่จ่ายให้กับสถานพยาบาล โดยระบุชื่อผู้จ่ายเป็นผู้ฝากครรภ์หรือคู่สมรส
  • ใบรับรองแพทย์ที่ระบุความเห็นแพทย์ที่ว่ามีภาวะตั้งครรภ์



ขอเอกสารลดหย่อนภาษี หมวดดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย


2. ขอเอกสารลดหย่อนภาษี หมวดดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย

ผู้ที่กู้ยืมสินเชื่อเช่าซื้อเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย สามารถขอรับเอกสารสำหรับยื่นลดหย่อนภาษีได้ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้




ดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อบ้าน/ที่อยู่อาศัย

  • สำเนาสัญญากู้ยืมเงิน ที่ระบุหมายเลขประจำตัวผู้กู้ยืม
  • หนังสือรับรองหลักฐานการจ่ายดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย จากสถาบันการเงินผู้เป็นเจ้าของสินเชื่อ



ลดหย่อนบ้านหลังแรก

สิทธิลดหย่อนนี้สามารถใช้ได้กรณีที่ซื้อบ้านหลังแรกในปี พ.ศ. 2558 (บ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท) และกรณีซื้อบ้านหลังแรกในปี พ.ศ. 2562 (บ้านราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท) ใช้เอกสารดังนี้


  • สำเนาสัญญาขาย (ท.ด.13) สำเนาสัญญาซื้อขายห้องชุดในอาคารชุด (อ.ช.23) หรือสำเนาหนังสือโอนกรรมสิทธิ
  • อาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุด แล้วแต่รูปแบบที่อยู่อาศัยที่กู้ซื้อ
  • หนังสือรับรองจากผู้ขายสินทรัพย์ เป็นหลักฐานว่ามีการซื้อ-ขายจริง
  • หนังสือรับรองผู้ซื้อ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าซื้อบ้านหลังแรก หรือคอนโดหลังแรก



ขอเอกสารลดหย่อนภาษี หมวดเงินบริจาค


3. ขอเอกสารลดหย่อนภาษี หมวดเงินบริจาค

ผู้ที่เคยบริจาคเงินกับมูลนิธิ หรืององค์กรต่าง ๆ ตามข้อกำหนด สามารถขอรับเอกสารสำหรับยื่นลดหย่อนภาษีได้ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้




เงินบริจาค

  • ใบอนุโมทนาบัตร หรือใบเสร็จรับเงินที่ระบุชื่อองค์กรที่บริจาค วัน-เวลา ที่บริจาค จำนวนเงิน และชื่อของผู้บริจาค



ค่าลดหย่อนจากการบริจาคผ่านระบบ E-Donation

  • กรณีบริจาคเงินผ่านระบบ E-Donation หรือบริจาคกับองค์กรที่ใช้ระบบ  E-Donation ไม่ต้องขอเอกสารในการยื่
  • ขอลดหย่อน เพราะระบบจะส่งข้อมูลให้ทางสรรพากรอัตโนมัติ



ขอเอกสารลดหย่อนภาษี หมวดการลงทุน


4. ขอเอกสารลดหย่อนภาษี หมวดการลงทุน

ผู้ที่สะสมเงินหรือร่วมลงทุนกับกองทุนต่าง ๆ สามารถขอรับเอกสารสำหรับยื่นลดหย่อนภาษีได้ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้



กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) / กองทุน SSF

  • กรณี PVD สามารถกรอกจำนวนเงินที่หักจ่ายให้กองทุน ในขั้นตอนการยื่นภาษีได้เลย
  • กรณีกองทุน RMF และกองทุน SSF ผู้ลงทุนต้องแจ้งให้ บลจ. นำส่งข้อมูลให้สรรพากร เพื่อแสดงความประสงค์ใช้สิทธิลดหย่อน โดยทาง บลจ. บางแห่งจะส่งหนังสือรับรองกองทุนมาให้ แต่บางแห่งต้องติดต่อขอหนังสือรับรอง แนะนำให้ตรวจสอบกับ บลจ. ที่ดูแลกองทุนของคุณอีกครั้ง


อ่านบทความเพิ่มเติม >> น่ารู้! กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษียังไง เตรียมพร้อมก่อนเกษียณ



เบี้ยประกันสังคม และ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

  • หนังสือรับรองการส่งเงินสมทบ
  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ทวิ 50)
  • ใบแจ้งยอดเงินออม



เงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน (กส.ช.)

  • ใบแจ้งยอดเงินออม




5. ขอเอกสารลดหย่อนภาษี หมวดอื่น ๆ


ค่าซื้อสินค้า OTOP

  • ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน ที่ระบุรายการสินค้า OTOP ที่ซื้อ, ชื่อร้านค้าที่ขาย, วัน-เวลา ที่ซื้อสินค้า, ชื่อ-สกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของคุณ โดยสามารถขอได้ทั้งรูปแบบกระดาษ และ E-Receipt



อ่านบทความเพิ่มเติม >> รู้ก่อนยื่น! e-tax invoice ลดหย่อนภาษี 2568 ใช้ยังไง ลดเท่าไหร่ มาดูกัน!



ค่าลดหย่อนสำหรับอาชีพอิสระและฟรีแลนซ์

  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ทวิ 50) > ถ้ามี
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี (กรณีมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรับเงินได้)
  • หลักฐานเพิ่มเติมอื่นๆ




หากคุณเตรียมเอกสารทุกอย่างให้ครบถ้วนและถูกต้อง ก็จะช่วยให้การยื่นภาษีของคุณเป็นไปอย่างราบรื่น และสามารถใช้สิทธิในการลดหย่อนได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การเตรียมขอเอกสารลดหย่อนภาษีล่วงหน้ายังช่วยให้คุณมีเวลาในการตรวจสอบข้อมูลและจัดการกับเอกสารที่อาจขาดหายได้ทันเวลาอีกด้วย


ดังนั้น อย่าลืมรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ด้วยการจัดเก็บเอกสารที่สำคัญให้ดีและตรวจสอบทุกอย่างให้พร้อมก่อนถึงวันที่ต้องยื่นภาษี จะได้ช่วยลดภาระภาษีที่ต้องจ่ายได้มากที่สุด




ที่มา สืบค้น ณ วันที่  05/03/68

🔖กรมสรรพากร
🔖ThaiPVD
🔖iTAX
🔖Sansiri

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ