Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

มือใหม่ต้องรู้ ! ขายของออนไลน์ ต้องเสียภาษีแบบไหน ?

มือใหม่ต้องรู้ ! ขายของออนไลน์ ต้องเสียภาษีแบบไหน ?

เพราะโควิด 19 อาจทำให้ชีวิตของใครหลายคนเปลี่ยนไป จากที่เคยมีรายได้พอใช้ อาจต้องกลายมาเป็นหารายได้เสริมเข้ามาทดแทน และอาชีพแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึงก็คือการขายของออนไลน์ เพราะการขายของออนไลน์ไม่ต้องลงทุนมากเหมือนการเปิดหน้าร้านทั่วไป การขายของออนไลน์จึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจในยุคนี้


แต่ก่อนที่จะผันตัวเองมาทำอาชีพนี้ ต้องทำความเข้าใจกับการเสียภาษีกันก่อน เพราะหลายคนอาจยังไม่เข้าใจเรื่องการยื่นภาษีและจ่ายภาษีสำหรับการขายของออนไลน์ เช่น การยื่นแบบภาษีต้องทำยังไง ขายของออนไลน์ รายได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี หรือควรต้องเตรียมตัวยังไงบ้างก่อนทำอาชีพนี้ พร้อมแล้วตามไปดูกัน !


ขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษี


ขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีแบบไหน


พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่มาทางนี้ ไม่ว่าเราจะขายอะไรก็ตามแต่ถ้ามีรายได้ยังไงก็ต้องยื่นภาษีนะ เพราะยังถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยจะเสียภาษีหรือไม่เสียภาษีนี้จะต้องขึ้นอยู่กับว่าเรามี "เงินได้สุทธิ" หรือ "กำไรสุทธิ" เมื่อหักค่าใช้จ่าย


ซึ่งหากมีรายได้จากการขายของออนไลน์ จะต้องยื่นภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (8) เมื่อมีรายได้เกิน 60,000 บาท (กรณีโสด) หรือมีรายได้เกิน 120,000 บาท (กรณีสมรส) ต่อปี ในการยื่นภาษีของการของออนไลน์ สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ แบบหักตามจริง และแบบเหมา 60%


หักค่าใช้จ่ายตามจริง

  • เหมาะกับการขายออนไลน์ที่มีต้นทุนสูงในการขายสินค้า เพราะวิธีนี้จะทำให้คนที่มีต้นทุนสูงสามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงด้วย ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายไปแล้ว เงินได้สุทธิที่ต้องนำมาคำนวณภาษีก็จะลดลงตามไป โดยวิธีนี้ต้องจัดเก็บรวบรวมบัญชีรายรับรายจ่ายพร้อมหลักฐานไว้ให้ครบ เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ และช่วยลดความสับสนเมื่อต้องยื่นภาษี


หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60%

  • เหมาะกับการขายออนไลน์ที่มีกำไรเยอะ เช่น กำไรที่แท้จริงหักค่าใช้จ่ายแล้วมีมากกว่า 40% หมายความว่าต้นทุนของธุรกิจจะน้อยกว่า 60% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งข้อดีคือเราไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายกับกรมสรรพากร และทำให้เราได้ประโยชน์ทางภาษีในส่วนต่างของต้นทุนที่แท้จริงกับค่าใช้จ่ายแบบเหมา


ที่มา : bangkokbiznews (ข้อมูล ณ วันที่ 31/05/64)


ร้านค้าออนไลน์ ต้องยื่นภาษีเมื่อไหร่


ขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีเมื่อไหร่ ?


พ่อค้าแม่ค้าที่มีรายได้จากการขายของออนไลน์ ไม่ว่าจะทำงานประจำไปด้วยหรือว่าขายของออนไลน์อย่างเดียวต่างก็ต้องยื่นภาษี โดยการยื่นภาษีสำหรับการขายของออนไลน์นั้นจะต้องยื่น 2 รอบ (ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90) ตามช่วงเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด ดังนี้


  • รอบแรกยื่นภาษีครึ่งปี ยื่นภาษีโดยนำเงินได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. มาแสดงในการยื่นภาษี ตามแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94 ภายในวันที่ 1 ก.ค. - 30 ก.ย. ในปีเดียวกัน โดยสาเหตุที่ให้มีการเสียภาษีครึ่งปีเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้มีรายได้ เพื่อไม่ให้เสียภาษีหนักในครั้งเดียว
  • รอบสองยื่นภาษีปลายปี ยื่นภาษีโดยนำเงินได้ทั้งปี มากรอกในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 ภายในวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของปีถัดไป (เช่น เงินได้ปี 2564 ต้องยื่นภายใน มี.ค.2565)


นอกจากนี้ใครที่ขายของออนไลน์แล้วมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียน VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และต้องออกใบกำกับภาษีให้กับผู้มาใช้บริการด้วย


ที่มา : bangkokbiznews (ข้อมูล ณ วันที่ 31/05/64) , postfamily


ขายของออนไลน์ต้องรู้จัก e - Payment


ขายของออนไลน์ต้องรู้ e - Payment คืออะไร ?


พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มื่อใหม่คงสงสัยกันว่า หากเราไม่ยื่นภาษีจากการขายของออนไลน์ แล้วทางสรรพากรจะรู้ได้ยังไง เอาล่ะ ! ใครที่คิดจะหลบเลี่ยงฟังกันให้ดี เพราะตอนนี้มีกฎหมายออกมารองรับให้ทางสถาบันการเงินต้องมีการส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “อีเพย์เมนต์ (e-Payment)” ที่เริ่มมีผลบังคับใช้จริงแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 ให้กับทางสรรพากรตรวจสอบ ซึ่งจะมีเงื่อนไขที่เข้าข่ายโดนสรรพากรตรวจสอบมีดังนี้


  • เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม
  • ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป


ซึ่งเงื่อนไขที่กล่าวมานี้ หากธนาคารพบว่าบัญชีไหนเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งก็มีสิทธิ์ถูกตรวจสอบและทำการส่งข้อมูลให้ทางสรรพากร ดังนั้นไม่ควรหลบเลี่ยงดีที่สุด


ที่มา : bangkokbiznews (ข้อมูล ณ วันที่ 02/01/65) , page365


ร้านค้าออนไลน์ เตรียมตัวยื่นภาษี


เตรียมตัวยื่นภาษี สำหรับการขายของออนไลน์


มาถึงตรงนี้ใครที่กำลังผันตัวเองเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่ ต้องมีการวางแผนก่อนยื่นภาษีกันหน่อย เพราะหากขาดเอกสารหรือทำอะไรผิดขั้นตอนไปเพียงนิดเดียว อาจมีปัญหาในการยื่นภาษีได้


  • ควรจดบันทึกรายการซื้อขายสินค้า ทำบัญชีรายรับรายจ่ายรายวัน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เราไม่สับสนแล้ว ยังช่วยให้เราจัดการเรื่องเงินได้ง่ายกว่าการทำย้อนหลัง
  • เก็บหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการค้า ธุรกรรมทางการเงิน เพราะนอกจากจะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเมื่อสรรพากรเข้ามาขอตรวจสอบอีกด้วย โดยเฉพาะในกรณีที่ตรวจสอบพบว่าความถี่และจำนวนเงินโอนเข้าบัญชีเข้าเกณฑ์ภาษีe - Payment ของทุกปี
  • แนะนำให้ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีอย่างต่อเนื่อง เพราะเงื่อนไขในแต่ละปีอาจมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะช่วยให้เราจัดการภาษีได้อย่างถูกต้องและไม่มีปัญหาย้อนหลัง


ที่มา : postfamily  


แม้การเสียภาษีสำหรับการขายของออนไลน์อาจะมีหลายขั้นตอน แต่เชื่อว่าไม่ได้ยากเกินไปสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่อย่างแน่นอน คิดถึงข้อดีของการเสียภาษีกันไว้ เพราะนอกจากเราจะเสียภาษีแบบถูกต้องแล้ว ยังช่วยให้ไม่ต้องกังวลการถูกตรวจสอบจากสรรพากร และยังขายของออนไลน์ได้อย่างเปิดเผยอีกด้วย


เตรียมวางแผนการยื่นภาษีกันไปแล้ว อย่าลืมวางแผนลดหย่อนภาษีกันด้วยนะ คุ้มสองต่อได้ทั้งความคุ้มครองสุขภาพและลดหย่อนภาษี ด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย จากเมืองไทยประกันชีวิต คุ้มครองโรคอุบัติใหม่ โรคเก่าที่วนกลับมาใหม่ โรคระบาด โรคร้ายแรง และโรคทั่วไป วงเงินเลือกได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท อายุรับประกันสูงสุด 80 ปี ดูแลต่อเนื่องยาว ๆ สูงสุดถึงอายุ 99 ปี* ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี


ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 65 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี


รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You

พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ และ ดี เฮลท์

  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ