Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่ต้องรู้ ! ต้องเสียภาษีขายของออนไลน์แบบไหน ?

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่ต้องรู้ ! ต้องเสียภาษีขายของออนไลน์แบบไหน ?

February 19, 2025

5 minute

ยุคนี้เป็นยุคแห่งความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะกดสั่งอะไรก็ต้องผ่านช่องทางออนไลน์กันแทบทั้งนั้น อาชีพขายของออนไลน์จึงเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน แต่ก่อนที่จะผันตัวเองมาทำอาชีพนี้ ต้องทำความเข้าใจกับการเสียภาษีกันก่อน เพราะหลายคนอาจยังไม่เข้าใจเรื่องการยื่นภาษีและจ่ายภาษีสำหรับการขายของออนไลน์ เช่น ขายของออนไลน์ ต้องเสียภาษีไหม เสียเท่าไหร่ การยื่นภาษีขายของออนไลน์ รายได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี เอกสารยื่นภาษีขายของออนไลน์มีอะไร้บ้าง หรือ พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ คิดภาษียังไง พร้อมแล้วตามไปดูกัน!


ยาวไปเลือกอ่านได้นะ


1. ขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีแบบไหน

2. ขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีเมื่อไหร่?

3. เงินเข้าบัญชีบ่อย ๆ ต้องเสียภาษี e-Payment ไหม

4. เตรียมตัวยื่นภาษี สำหรับการขายของออนไลน์



ขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีแบบไหน


1. ขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีแบบไหน


พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่มาทางนี้ ไม่ว่าเราจะขายอะไรก็ตามแต่ถ้ามีรายได้ยังไงก็ต้องยื่นภาษีนะ เพราะยังถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยจะเสียภาษีหรือไม่เสียภาษีนี้จะต้องขึ้นอยู่กับว่าเรามี "เงินได้สุทธิ" หรือ "กำไรสุทธิ" เมื่อหักค่าใช้จ่าย


ซึ่งหากมีรายได้จากการขายของออนไลน์ จะต้องยื่นภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (8) เมื่อมีรายได้เกิน 60,000 บาท (กรณีโสด) หรือมีรายได้เกิน 120,000 บาท (กรณีสมรส) ต่อปี ในการยื่นภาษีของการขายของออนไลน์ สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ แบบหักตามจริง และแบบเหมา 60%


หักค่าใช้จ่ายตามจริง


เหมาะกับการขายออนไลน์ที่มีต้นทุนสูงในการขายสินค้า เพราะวิธีนี้จะทำให้คนที่มีต้นทุนสูงสามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงด้วย ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายไปแล้ว เงินได้สุทธิที่ต้องนำมาคำนวณภาษีก็จะลดลงตามไป โดยวิธีนี้ต้องจัดเก็บรวบรวมบัญชีรายรับรายจ่ายพร้อมหลักฐานไว้ให้ครบ เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ และช่วยลดความสับสนเมื่อต้องยื่นภาษี


หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60%


เหมาะกับการขายออนไลน์ที่มีกำไรเยอะ เช่น กำไรที่แท้จริงหักค่าใช้จ่ายแล้วมีมากกว่า 40% หมายความว่าต้นทุนของธุรกิจจะน้อยกว่า 60% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งข้อดีคือเราไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายกับกรมสรรพากร และทำให้เราได้ประโยชน์ทางภาษีในส่วนต่างของต้นทุนที่แท้จริงกับค่าใช้จ่ายแบบเหมา



ขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีเมื่อไหร่?


2. ขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีเมื่อไหร่?


พ่อค้าแม่ค้าที่มีรายได้จากการขายของออนไลน์ ไม่ว่าจะทำงานประจำไปด้วยหรือว่าขายของออนไลน์อย่างเดียวต่างก็ต้องยื่นภาษี โดยการยื่นภาษีสำหรับการขายของออนไลน์นั้นจะต้องยื่น 2 รอบ (ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90) ตามช่วงเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด ดังนี้


  • รอบแรกยื่นภาษีครึ่งปี ยื่นภาษีโดยนำเงินได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. มาแสดงในการยื่นภาษี ตามแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94 ภายในวันที่ 1 ก.ค. - 30 ก.ย. ในปีเดียวกัน โดยสาเหตุที่ให้มีการเสียภาษีครึ่งปีเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้มีรายได้ เพื่อไม่ให้เสียภาษีหนักในครั้งเดียว
  • รอบสองยื่นภาษีปลายปี ยื่นภาษีโดยนำเงินได้ทั้งปี มากรอกในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 ภายในวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของปีถัดไป (เช่น เงินได้ปี 2564 ต้องยื่นภายใน มี.ค.2565)


นอกจากนี้ใครที่ขายของออนไลน์แล้วมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียน VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และต้องออกใบกำกับภาษีให้กับผู้มาใช้บริการด้วย



เงินเข้าบัญชีบ่อย ๆ ต้องเสียภาษี e-Payment ไหม


3. เงินเข้าบัญชีบ่อย ๆ ต้องเสียภาษี e-Payment ไหม


การใช้ e-Payment เป็นเรื่องที่สะดวก แต่ผู้ขายของออนไลน์ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้อง และเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อให้การทำธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น และหลีกเลี่ยงปัญหาภาษีในอนาคต ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่คงสงสัยกันว่า การรับเงินผ่าน e-Payment ต้องเสียภาษีหรือไม่ คำตอบคือ ต้องเสียภาษี หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด


1. การส่งข้อมูลให้สรรพากร


  • ธนาคารจะส่งข้อมูลให้กับสรรพากร หากเข้าข่าย "ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ" ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ขายของออนไลน์เท่านั้น แต่ใช้กับทุกคนที่มีการฝากหรือรับโอนเงิน


2. หน้าที่ของผู้ขายของออนไลน์


  • ผู้ขายของออนไลน์ควรเตรียมความพร้อมด้วยการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างถูกต้อง เก็บเอกสารหลักฐาน และยื่นภาษีให้ครบถ้วน


ภาษีที่เกี่ยวข้องกับเงินได้จาก e-Payment


  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากคุณมีรายได้จากการขายของออนไลน์ หรือรับเงินผ่าน e-Payment อื่น ๆ ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 (40(8)) ซึ่งต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากคุณมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการผ่าน e-Payment เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้า


เกณฑ์การยื่นภาษี


  • เงินได้สุทธิ หากคุณมีเงินได้สุทธิ (รายได้ - ค่าใช้จ่าย) เกิน 150,000 บาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • รายได้จากการขายของออนไลน์ หากคุณมีรายได้จากการขายของออนไลน์เกิน 60,000 บาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


การยื่นภาษี


  • ภ.ง.ด. 90 เป็นการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี คุณต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป
  • ภ.ง.ด. 94 เป็นการยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปี คุณต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ภายในวันที่ 30 กันยายนของปีเดียวกัน
  • เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม
  • ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป

ซึ่งเงื่อนไขที่กล่าวมานี้ หากธนาคารพบว่าบัญชีไหนเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งก็มีสิทธิ์ถูกตรวจสอบและทำการส่งข้อมูลให้ทางสรรพากร ดังนั้นไม่ควรหลบเลี่ยงดีที่สุด



เกณฑ์การยื่นภาษี


  • เงินได้สุทธิ หากคุณมีเงินได้สุทธิ (รายได้ - ค่าใช้จ่าย) เกิน 150,000 บาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • รายได้จากการขายของออนไลน์ หากคุณมีรายได้จากการขายของออนไลน์เกิน 60,000 บาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


การยื่นภาษี


  • ภ.ง.ด. 90 เป็นการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี คุณต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป
  • ภ.ง.ด. 94 เป็นการยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปี คุณต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ภายในวันที่ 30 กันยายนของปีเดียวกัน
  • เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม
  • ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป


ซึ่งเงื่อนไขที่กล่าวมานี้ หากธนาคารพบว่าบัญชีไหนเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งก็มีสิทธิ์ถูกตรวจสอบและทำการส่งข้อมูลให้ทางสรรพากร ดังนั้นไม่ควรหลบเลี่ยงดีที่สุด


4. เตรียมตัวยื่นภาษี สำหรับการขายของออนไลน์


ถึงตรงนี้ใครที่กำลังผันตัวเองเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่ ต้องมีการวางแผนก่อนยื่นภาษีกันหน่อย เพราะหากขาดเอกสารหรือทำอะไรผิดขั้นตอนไปเพียงนิดเดียว อาจมีปัญหาในการยื่นภาษีได้


1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้อง


  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90/94): ผู้ขายของออนไลน์ที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 (40(8)) ซึ่งต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีเกณฑ์การยื่นภาษีดังนี้
  • ภ.ง.ด. 90: ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป
  • ภ.ง.ด. 94: ยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปี ภายในวันที่ 30 กันยายนของปีเดียวกัน
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): หากผู้ขายมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 01) ภายใน 30 วันหลังจากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท และต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 ทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป


2. จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย 


  • การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ จะช่วยให้การคำนวณภาษีเป็นเรื่องง่าย และยังเป็นหลักฐานสำคัญเมื่อถูกตรวจสอบภาษี
  • ควรเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ-ขายสินค้า เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ให้เป็นระเบียบ


3. คำนวณรายได้และค่าใช้จ่าย


  • รายได้จากการขายของออนไลน์ ได้แก่ เงินที่ได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการ
  • ค่าใช้จ่าย ได้แก่ ต้นทุนสินค้า ค่าขนส่ง ค่าแพ็กเกจจิ้ง ค่าโฆษณา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
  • เงินได้สุทธิ คือ รายได้ - ค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้


4. ยื่นภาษีให้ถูกต้อง


  • ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนยื่นภาษี เพื่อป้องกันปัญหาในภายหลัง
  • สามารถยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร หรือยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากร


แม้การเสียภาษีสำหรับการขายของออนไลน์อาจมีหลายขั้นตอน แต่เชื่อว่าไม่ได้ยากเกินไปสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่อย่างแน่นอน คิดถึงข้อดีของการเสียภาษีกันไว้ เพราะนอกจากเราจะเสียภาษีแบบถูกต้องแล้ว ยังช่วยให้ไม่ต้องกังวลการถูกตรวจสอบจากสรรพากร และยังขายของออนไลน์ได้อย่างเปิดเผยอีกด้วย


เตรียมวางแผนการยื่นภาษีกันไปแล้ว อย่าลืมวางแผนลดหย่อนภาษีกันด้วยนะ คุ้มสองต่อได้ทั้งความคุ้มครองสุขภาพและลดหย่อนภาษี ด้วยประกันสุขภาพเหมาจ่าย จากเมืองไทยประกันชีวิต ที่ดูแลค่ารักษา ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท และยังสามารถนำค่าเบี้ยไปลดหย่อนภาษี ได้สูงสุด 25,000 บาท อีกด้วย


รายละเอียดเพิ่มเติม 

☑️ โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต 


  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 11/02/68

🔖 thairath

🔖 kasikorn bank

🔖 กรมสรรพากร

Interested In

I agree that Muang Thai Life Assurance PCL. Collect and use my personal information above to contact me to offer products and services at I am interested or the company saw that it was beneficial to I have by me to equate the mark In the square is an indication of intent. instead of my consent Signing as evidence. I have read and acknowledged the Privacy Policy.

บทความน่าสนใจ