คลายข้อสงสัยเกี่ยวกับ
ประกันภัยคุ้มครองสินเชื่อ เพื่อประชาชน
ผู้เอาประกันภัยสามารถหาซื้อได้ที่สำนักงานใหญ่ หรือสาขาเมืองไทยประกันชีวิตทั่วประเทศ
เอกสารประกอบการซื้อแบบประกันภัยคุ้มครองสินเชื่อเพื่อประชาชน มีดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน
- ใบคำขอเอาประกันชีวิตฯ
- ใบเสนอขาย
- แบบฟอร์ม PDPA และ KYC
- แบบฟอร์ม CRS
หมายเหตุ : เอกสารข้อ 2-5 สามารถดาวน์โหลดได้ที่รายละเอียดด้านบน หรือขอรับได้ที่สำนักงานใหญ่ หรือ สาขาเมืองไทยประกันชีวิตทั่วประเทศ
สามารถดูตัวอย่างการกรอกใบคำขอได้จากรายละเอียดด้านบน โดยตัวอย่างการกรอกใบคำขอจะแสดงขึ้นมาพร้อมกับเอกสารที่ให้ดาวน์โหลด
ไม่สามารถชำระเบี้ยประกันภัยผ่านบัตรเครดิตได้
กรณีที่จำนวนเงินเอาประกันภัยไม่เกิน 4 ล้านบาท ใช้ใบคำขอเอาประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิต แบบคุ้มครองสินเชื่อ ชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว ประเภทสามัญ (แบบไม่ตรวจสุขภาพ)
ส่วนกรณีที่จำนวนเงินเอาประกันภัยเกิน 4 ล้านบาท ใช้ใบคำขอเอาประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิต แบบคุ้มครองสินเชื่อ ชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว ประเภทสามัญ ชนิดมีคำถามสุขภาพอย่างละเอียด
ผู้เอาประกันภัยสามารถยกเลิกกรมธรรม์ได้ โดยแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้
- กรณีผู้เอาประกันภัยยังไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน สามารถขอยกเลิกกรรม์นี้ได้ โดยการส่งคืนกรมธรรม์มายังบริษัทภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ และบริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยที่เหลือหลังจากหักค่าตรวจสุขภาพตามที่จ่ายจริงและค่าใช้จ่ายของบริษัท ฉบับละ 500 บาท
- กรณีผู้เอาประกันภัยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินไปแล้ว สามารถยกเลิกกรมธรรม์นี้ได้ โดยการขอเวนคืนกรมธรรม์ สำหรับกรณีที่ยังชำระหนี้ไม่หมดจะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับประโยชน์หลัก(ผู้ให้กู้)
-สำหรับระยะเวลาเอาประกันภัยต่ำกว่า 10 ปี เบี้ยประกันภัยของสัญญาประกันภัยนี้ สามารถ นำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้บางส่วน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 383
-สำหรับระยะเวลาเอาประกันภัยตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป เบี้ยประกันภัยของสัญญาประกันภัยนี้ สามารถ นำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้บางส่วน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่172 และ 383
- กรณีเสียชีวิต
1.1 กรมธรรม์มีอายุสัญญาไม่ถึง 2 ปี
- กรมธรรม์ฉบับจริง หรือ เอกสารใบแจ้งความสูญหาย กรณี กธ.ฉบับจริงหาย สำเนาใบมรณะบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน ของผู้เอาประกันภัยและผู้รับผลประโยชน์หลักและผู้รับผลประโยชน์รองทุกคน ถ้อยคำผู้รับผลประโยชน์ (ขอรับแบบฟอร์มได้ที่บริษัท) ถ้อยคำแพทย์พร้อมหนังสือรับรอง (ขอรับแบบฟอร์มได้ที่บริษัท) หนังสือมอบอำนาจตามแบบฟอร์มของบริษัท กรมธรรม์ฉบับจริง(กรณีสูญหายให้ส่งใบแจ้งความแทน)
1.2 กรมธรรม์มีอายุสัญญามากกว่า 2 ปีและเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย ต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- กรมธรรม์ฉบับจริง หรือ เอกสารใบแจ้งความสูญหาย กรณี กธ.ฉบับจริงหาย สำเนาใบมรณะบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน ของผู้เอาประกันภัยและผู้รับผลประโยชน์ ถ้อยคำผู้รับผลประโยชน์ (ขอรับแบบฟอร์มได้ที่บริษัท) ถ้อยคำแพทย์พร้อมหนังสือรับรอง (ขอรับแบบฟอร์มได้ที่บริษัท)
- กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีสัญญาโรคร้ายแรง กรมธรรม์ฉบับจริง(กรณีสูญหายให้ส่งใบแจ้งความแทน)
1.3.กรณีที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุหรือการถูกฆาตกรรม
ต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม จาก ข้อ 1.1. และ ข้อ 1.2 ดังนี้
- สำเนาบันทึกประจำวัน
- สำเนาใบชัณสูตรพลิกศพ (หน้า-หลัง)
- รายงานการตรวจศพ (กรณีมีการผ่าศพพิสูจน์)
- กรณีทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร
- สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน ของผู้เอาประกันภัยและผู้รับผลประโยชน์
- แบบฟอร์มทุพพลภาพจากแพทย์ผู้รักษา (ขอรับแบบฟอร์มได้ที่บริษัท)
- ประวัติการรักษา (ถ้ามี)
ในกรณีเรียกร้องค่าทดแทนเนื่องจากการทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร ให้ส่งหลักฐานดังกล่าวข้างต้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มเกิดทุพพลภาพ แต่การไม่เรียกร้องภายในกำหนดดังกล่าวไม่ทำให้สิทธิการเรียกร้อง เสียไปหากแสดงให้เห็นว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถเรียกร้องได้ภายในกำหนด และได้ทำการเรียกร้องโดยเร็วที่สุดเท่าที่สามารถจะกระทำได้แล้ว
บริษัทมีสิทธิจะขอตรวจร่างกายของผู้เอาประกันภัยตามที่เห็นสมควรในระหว่างที่บริษัทพิจารณาการเรียกร้องทดแทน