Health Planning Tips for Salaried Employees
เพราะสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดเดาได้ วันนี้หลายคนอาจจะคิดว่าตัวเองยังแข็งแรง แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้และการันตีไม่ได้ว่าอนาคตจะไม่ป่วย ดังนั้นการเริ่มวางแผนสุขภาพกันไว้ตั้งแต่วันนี้ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ก็จะได้ไม่ต้องกังวลกับค่ารักษาพยาบาล และเป็นภาระกับคนในครอบครัว
ซึ่งวันนี้เมืองไทยประกันชีวิต มีมุมมองการวางแผนด้านสุขภาพฉบับมนุษย์เงินเดือนมาฝาก ว่าทำไมความคุ้มครองสุขภาพถึงมีความสำคัญต่อไลฟ์สไตล์ของพวกเขา จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกัน !
คุณนภัทร จิตรภัทรินทร์ พนักงานเมืองไทยประกันชีวิต
คุณนภัทร ได้แชร์ประสบการณ์ไว้ว่า เคยเป็นโรคเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ทำให้ต้องผ่าตัดและใช้เงินประมาณ 7 แสนกว่าบาท สวัสดิการที่มีไม่เพียงพอ แต่ก็ถือว่ายังโชคดีที่ได้ทำประกันสุขภาพเอาไว้ จึงทำให้เห็นความสำคัญของประกันที่ช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เพราะอาจจะกระทบเงินเก็บทั้งหมดที่มี
”อย่าให้เงินเก็บหมดไปกับค่ารักษาพยาบาล แม้เราจะไม่รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า แต่เราสามารถวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนของชีวิตได้”
คุณนักคิด ปิ่นนพภัณฑ์ พนักงานเมืองไทยประกันชีวิต
อย่ารอช้าเพราะเรื่องสุขภาพไม่รอเรา หากอนาคตอีก 5-10 ปี สุขภาพเราจะดีแบบนี้หรือไม่ ไม่มีใครรู้ เริ่มต้นวางแผนสุขภาพกันตั้งแต่วันนี้ เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันทั้งอุบัติเหตุ หรือป่วยหนักเลเวลไหน เราก็ไม่ต้องกังวลค่ารักษาว่าจะจบลงที่เท่าไหร่ ซึ่งคุณนักคิด ได้เคยให้คำแนะนำดี ๆ ไว้ดังนี้
“อย่าปล่อยให้ป่วยแล้วค่อยซื้อความคุ้มครองสุขภาพ เพราะถึงวันนั้นอาจเกินสายไป”
คุณเสนีย์ ชาววาณิช พนักงานเมืองไทยประกันชีวิต
เพราะความตั้งใจในการซื้อประกันสุขภาพของคุณเสนีย์ คืออยากมีประกันสุขภาพเอาไว้เพื่อคุ้มครองเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย เวลาที่เราไม่สบายต้องนอนโรงพยาบาลก็จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา และที่สำคัญไม่ทำให้ครอบครัวต้องเดือดร้อนหาเงินมาใช้จ่ายกับการเจ็บป่วยของเรา
“ข้อดีของการมีประกันสุขภาพคือ เมื่อเจ็บป่วยหรือไม่สบาย เราสามารถเข้าถึงการรักษาได้ทันที โดยไม่ต้องกังวลกับค่ารักษาที่เกิดขึ้น”
คุณชญาภา เกลื่อนกลางดอน พนักงานเมืองไทยประกันชีวิต
ด้วยความที่ไม่รู้ว่าอนาคตจะแข็งแรงอย่างนี้ต่อไปหรือเปล่า คุณชญาภา จึงตัดสินใจเลือกทำประกันสุขภาพ และคิดว่าควรตัดสินใจทำก่อนป่วย เพราะความคุ้มครองสุขภาพ มีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงกับอนาคตที่เราไม่รู้
“เราไม่รู้ว่าอนาคต สุขภาพจะเป็นอย่างไร ควรตัดสินใจทำประกันก่อนป่วย เพราะหากป่วยแล้วสวัสดิการที่มีอาจไม่เพียงพอต่อการรักษา”
เรื่องสุขภาพคาดเดาไม่ได้จึงต้องวางแผนเอาไว้ตั้งแต่วันนี้ ซื้อความคุ้มครองสุขภาพเหมาจ่าย ของเมืองไทยประกันชีวิต ดูแลคุณ ให้ก้าวไปข้างหน้าในแต่ละบทบาทของตัวเองได้อย่างมั่นใจ ด้วยความคุ้มครองสุขภาพเหมาจ่าย ของเมืองไทยประกันชีวิต ให้คุณเลือกวงเงินความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท เข้าถึงการรักษาที่คุณต้องการ คุ้มครองโรคระบาด โรคมะเร็ง โรคไต โรคหัวใจ โรคร้ายแรง โรคทั่วไป โรคเก่าที่วนมาเกิดซ้ำได้ หรือโรคอุบัติใหม่ ก็มั่นใจได้ ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย อายุรับประกันสูงสุด 90 ปี* ดูแลคุณสูงสุดถึงอายุ 99 ปี* เพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิต ไม่ต้องกังวลกับค่ารักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เลือกความคุ้มครองสุขภาพเหมาจ่าย ของเมืองไทยประกันชีวิต
ดูแลเรื่องสุขภาพของคุณได้ในแบบที่ต้องการ
✅ เลือกวงเงินความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท
✅ คุ้มครองโรคระบาด โรคมะเร็ง โรคไต โรคหัวใจ โรคร้ายแรง โรคทั่วไป โรคเก่าที่วนมาเกิดซ้ำได้ หรือโรคอุบัติใหม่
✅ อายุรับประกันสูงสุด 90 ปี ดูแลคุณสูงสุดถึงอายุ 99 ปี*
✅ ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย
✅ ไม่ต้องกังวลกับค่ารักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ซื้อความคุ้มครองสุขภาพในวันที่คุณแข็งแรง ได้รับความคุ้มครองเต็มที่ เพื่อให้คุณเลือกใช้ชีวิตได้ตามที่คุณต้องการ
*สำหรับสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส และ ดี เฮลท์ พลัส
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
- เงื่อนไขเป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามประกาศ ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 และ แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม 2565 หรืออ้างอิงตามประกาศฉบับล่าสุด