Know Before You Get Sick: Benefits of Annual Health Check-Ups
ร่างกายคนเราก็เหมือนเครื่องจักร ถ้าใช้มากเกินไปและไม่มีการตรวจเช็กสภาพสม่ำเสมอ รู้ตัวอีกทีร่างกายอาจเจ็บป่วยจนรักษาไม่ทันแล้วก็ได้ ยิ่งอายุมากขึ้น อวัยวะในร่างกายก็เสื่อมลงด้วยเช่นกัน การตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรทำเป็นประจำเพื่อจะได้เช็กอัพร่างกายว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคหรือไม่ ซึ่งรู้เร็วก็รักษาได้เร็ว ลดความรุนแรงของโรคและค่ารักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะหากป่วยหนัก การรักษาจะซับซ้อนและใช้เวลานานต่อเนื่องตามอาการของโรคด้วย เรามาดูกันว่าการตรวจสุขภาพประจำปีนั้นจำเป็นมากแค่ไหน และอายุเท่าไหร่ต้องตรวจอะไรบ้าง
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี
ร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ นั้นทำงานอยู่ตลอดเวลา พออายุมากขึ้นก็จะเสื่อมสภาพและทำงานได้ไม่เต็มที่เหมือนเดิม อาจทำให้เกิดความเสี่ยงก่อโรคได้ นอกจากปัจจัยจากร่างกายแล้ว ยังมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราได้แบบไม่รู้ตัวอีกด้วย ทั้งมลภาวะฝุ่น PM 2.5 ควันพิษจากท่อไอเสีย สารเคมีและสารก่อมะเร็งที่ตกค้างในอาหาร โรคระบาดต่าง ๆ รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงก่อโรคในชีวิตประจำวัน เช่น นอนดึก กินอาการไม่มีประโยชน์ ไม่ออกกำลังกาย ความเครียด สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้หากสะสมไปเรื่อย ๆ จะยิ่งทำให้ร่างกายของเราแย่ลงได้
การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จึงเป็นการตรวจเพื่อค้นหาโรคต่าง ๆ หรือความเสี่ยงก่อโรคในร่างกายของเราตั้งแต่ระยะแรก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการออกมา เช่น เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หากปล่อยไว้นาน หรือไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด อาการอาจลุกลามและป่วยจนยากต่อการรักษาแล้วก็ได้ ใครที่ชอบคิดว่า ไม่มีอาการ = ไม่ป่วย เลิกคิดแบบนี้ไปได้เลย
วัยไหนต้องตรวจสุขภาพประจำปีอะไรบ้าง
การตรวจสุขภาพประจำปีนั้นจะตรวจแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ เพศ กรรมพันธุ์ และความเสี่ยงเกิดโรคของแต่ละคน โดยเราสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- กลุ่มเด็กและวัยรุ่น (อายุ 0-18 ปี) จะเป็นการตรวจเพื่อดูการเจริญเติบโตและพัฒนาการตามช่วงอายุ ตรวจสุขภาพร่างกายและประเมินจิตใจ การฉีดวัคซีนตามแต่ละช่วงวัย รวมถึงค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ความเครียด ปัญหาการเรียน ยาเสพติด
- กลุ่มวัยทำงาน (อายุ 19-60 ปี) จะเป็นการตรวจเพื่อค้นหาโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในร่างกาย เช่น การวัดความดันโลหิต การวัดชีพจร การวัดอัตราการหายใจ การตรวจเลือด (หาระดับน้ำตาล ระดับไขมัน การทำงานของไตและตับ เป็นต้น) การตรวจเอ็กซเรย์ทรวงอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจอัลตร้าซาวน์ช่องท้อง การตรวจปัสสาวะ รวมถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผู้หญิงสำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปหรือเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว การคัดกรองมะเร็งเต้านมสำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงสำหรับคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
- กลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีเพิ่มเติมจากการตรวจสุขภาพแบบเบื้องต้น ซึ่งประกอบไปด้วย การตรวจสภาพสายตา การประเมินสมรรถภาพการทำงานของสมอง การตรวจความหนาแน่นกระดูก การตรวจสมรรถภาพหัวใจจากการวิ่งสายพานหรือการอัลตร้าซาวน์หัวใจ
เราควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรเลือกตรวจให้เหมาะสมกับอายุ เพศ และความเสี่ยงของตัวเอง จะได้ตรวจสุขภาพได้อย่างครบถ้วนและเหมาะสมนั่นเอง สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
สุขภาพ+ความคุ้มครองเสริม ซื้อก่อนป่วย หมดกังวลเรื่องค่ารักษา
การตรวจสุขภาพประจำปีนั้นจะช่วยให้เรารู้ความเสี่ยงได้ก่อนที่จะเจ็บป่วยเป็นโรค โดยโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปีนั้นมีหลากหลายราคาด้วยกันขึ้นอยู่กับเพศและช่วงอายุของแต่ละคน ซึ่งราคาโดยประมาณอยู่ที่หลักพันถึงหลักหมื่น แม้ราคาดูเหมือนจะเยอะ แต่ถ้าเทียบกับค่ารักษาพยาบาลหากป่วยเป็นโรคขึ้นมา บอกเลยว่าเยอะกว่าหลายเท่าแน่นอน
หากไม่อยากกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลและค่าห้อง เราควรซื้อความคุ้มครองสุขภาพเอาไว้ “ก่อนป่วย” และเพิ่มความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพเหมาจ่ายวงเงินสูงจากเมืองไทยประกันชีวิต
- D Health Plus คุ้มครอง 1 - 5 ล้านบาทต่อการรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง
- Elite Health Plus คุ้มครอง 20 - 100 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้ เรายังสามารถซื้อความคุ้มครองสุขภาพเพิ่มเติมควบคู่ไปกับประกันสุขภาพเหมาจ่ายได้อีกด้วย โดย สุขภาพดี พลัส (Well-Being Plus) คุ้มครองเช็กสุขภาพประจำปีได้ปีละ 1 ครั้ง, ทำฟัน, ดูแลสายตา และความคุ้มครองการคลอดบุตร พลัส (Maternity Plus) ดูแลค่าใช้จ่ายตลอดการตั้งครรภ์รวมถึงภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดของคุณแม่
หมายเหตุ :
- อาณาเขตความคุ้มครองสำหรับบันทึกสลักหลัง สุขภาพดี พลัส (Well-Being Plus) และ ความคุ้มครองการคลอดบุตร พลัส (Maternity Plus) มีอาณาเขตความคุ้มครองเฉพาะประเทศไทย
- บันทึกสลักหลัง สุขภาพดี พลัส (Well-Being Plus) และ ความคุ้มครองการคลอดบุตร พลัส (Maternity Plus) ต้องซื้อแนบกับสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ ดี เฮลท์ พลัส / อีลิท เฮลท์ พลัส ที่มีผลบังคับอยู่เท่านั้น
วางแผนเรื่องสุขภาพไม่ให้กระทบเงินเก็บภายหลังด้วยการดูแลร่างกายให้แข็งแรง และตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมถึงซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่ายวงเงินสูง มาช่วยดูแลสุขภาพของคุณและคนที่รักในทุกช่วงเวลาของชีวิตได้อย่างมั่นใจ ประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากเมืองไทยประกันชีวิต พร้อมดูแลคุณในทุกช่วงเวลาของชีวิต คุ้มครองทั้งโรคร้ายแรง มะเร็ง หัวใจ ไต โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ หมดกังวลทั้งค่าห้องและค่ารักษา
เลือกความคุ้มครองที่คุณต้องการ
- D Health Plus คุ้มครอง 1 - 5 ล้านบาทต่อการรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง
- Elite Health Plus คุ้มครอง 20 - 100 ล้านบาทต่อปี
✔ นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุกโรงพยาบาล
✔ หากเจ็บป่วยหนัก ก็คุ้มครองค่าห้อง ICU แบบจ่ายตามจริง
✔ สมัครได้ถึงอายุ 11 - 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี
✔ ซื้อความคุ้มครองเสริมพิเศษเพิ่มได้ ตรวจสุขภาพ ทำฟัน ดูแลสายตา หรือคุ้มครองคลอดบุตร
✔ ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือนหรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
พลัสความคุ้มครองให้แผนการเงินไม่สะดุด
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต
- สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ ดี เฮลท์ พลัส และ อีลิท เฮลท์ พลัส ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
- เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 07/07/65
🔖 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
🔖 รพ.เวชธานี
🔖 รพ.สมิติเวช (ข้อมูล ณ วันที่ 14/04/64)
🔖 สสส. (ข้อมูล ณ วันที่ 21/02/62)