PM2.5 อันตรายต่อสุขภาพกว่าที่คิด
ปัญหาฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ในบ้านเรายังคงมีต่อเนื่องและส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด อากาศที่เราสูดดมเข้าไปในแต่ละวันนั้นกลับมีฝุ่นขนาดเล็กจิ๋วลอดผ่านการกรองของขนจมูก เข้าไปยังหลอดลมจนถึงถุงลมปอดและซึมเข้าสู่กระแสเลือดในร่างกาย ซึ่งหากสูดดมนานเข้าจะเกิดการสะสมในร่างกายจนกลายเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ และอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ขนาดจิ๋วแต่อันตรายไม่ได้จิ๋วแบบนี้ เรามาดูกันว่า PM2.5 เป็นปัจจัยทำให้ป่วยเป็นโรคอะไรบ้าง และกลุ่มเสี่ยงไหนควรหลีกเลี่ยงอันตรายจากฝุ่นจิ๋วนี้ ไปอ่านข้อมูลที่เรานำมาฝากกันได้เลย
อันตรายจาก PM2.5 ที่มีต่อร่างกาย
PM2.5 เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากท่อไอเสียของเครื่องยนต์ ควันจากการเผาขยะ เผาหญ้า ควันธูปหรือบุหรี่ กระบวนการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในโรงงาน เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะสร้าง PM2.5 ในอากาศแล้ว ยังมีมลพิษอื่น ๆ ปนเปื้อนออกมาอีกด้วย เช่น สารไฮโดรคาร์บอน และโลหะหนัก โดย PM2.5 มีอันตรายต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้
- อันตรายต่อทางเดินหายใจและปอด
PM2.5 และมลพิษในอากาศส่งผลโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจและปอด ด้วยขนาดที่เล็กมาก ๆ ของ PM2.5 จึงสามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจได้ง่ายและรวดเร็ว ส่งผลให้อาการของผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบ หรือทำให้คนปกติป่วยเป็นหอบหืดได้เช่นเดียวกัน หากเราสูดดมเอาฝุ่นและมลพิษเข้าสู่ร่างกาย สะสมเป็นเวลานาน ๆ อาจเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ - อันตรายต่อหัวใจ
การหายใจเอา PM2.5 เข้าสู่ร่างกายติดต่อระยะหนึ่ง จะส่งผลให้เกิดการตกตะกอนภายในหลอดเลือด ทำให้เกิดหัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบ นอกจากนี้ มลพิษทางอากาศยังมีผลต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและหัวใจวายเฉียบพลันได้ - อันตรายต่อสมอง
ด้วยขนาดที่เล็กมาก ๆ ของ PM2.5 ทำให้เข้าสู่กระแสเลือดและเกิดการสะสม จนส่งผลให้เลือดมีความหนืด ความดันโลหิตสูง เสี่ยงเกิดลิ่มเลือดในสมอง หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัวจนทำให้เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก และเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิต
4 กลุ่มเสี่ยงอันตรายจาก PM2.5
ความเสี่ยงเจ็บป่วยจาก PM2.5 นั้นมากน้อยขึ้นอยู่กับสุขภาพและความแข็งแรงของร่างกายด้วย ซึ่งกลุ่มเสี่ยงหรือมีโรคประจำตัว ยิ่งมีความเสี่ยงสูงมากขึ้น
- เด็ก : เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ยังมีภูมิคุ้มกันน้อย รวมถึงอวัยวะในร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่เหมือนผู้ใหญ่ เมื่อ PM2.5 เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ง่าย จะทำให้ไปขัดขวางการเจริญเติบโตของระบบต่าง ๆ และเสี่ยงเจ็บป่วยภายหลังได้
- หญิงมีครรภ์ : นอกจาก PM2.5 ส่งผลเสียต่อสุขภาพคุณแม่แล้ว ยังส่งผลต่อทารกในครรภ์อีกด้วย โดยมีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงแท้ง และเพิ่มอัตราการตายของทารกในครรภ์
- ผู้สูงอายุ : พออายุมากขึ้น ส่งผลให้อวัยวะของร่างกายเสื่อมถอยและทำงานลดลง ภูมิคุ้มกันโรคจึงลดตามไปด้วย หากกลุ่มผู้สูงอายุได้รับ PM2.5 มาก ๆ อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหอบหืดได้
- ผู้ป่วยหรือมีโรคประจำตัว : กลุ่มเสี่ยงนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะจะส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าคนทั่วไป อาจทำให้โรคกำเริบหรือรุนแรงจนเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค ดังนี้ 1.กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด 2.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ 3.กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ และ 4.กลุ่มโรคตาอักเสบ
วิธีป้องกันตัวจาก PM2.5
อันตรายของฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างมาก เราจึงต้องป้องกันตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงเจ็บป่วยจากอันตรายของฝุ่น PM2.5 ดังนี้
- หน้ากาก : ควรใส่มาสก์ปิดจมูกที่สามารถกรองอนุภาคฝุ่นได้สูง เช่น หน้ากาก N95 กรองได้อย่างน้อย 95% และหน้ากาก N99 กรองได้มากถึง 99% โดยสวมให้ถูกต้องตามวิธีที่ระบุไว้ กระชับหน้ากากให้แนบสนิท และไม่ควรใช้ซ้ำ
- โหลดแอป : ควรโหลดแอปพลิเคชันเช็กคุณภาพอากาศเอาไว้ในโทรศัพท์มือถือเพื่อเช็กค่าฝุ่นก่อนออกจากบ้าน เช่น Asia Air Quality (Android), Global Air Quality (Android) และ Air Quality Index (iOS)
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมนอกบ้าน : การสูดดมหรือสัมผัสฝุ่น PM2.5 มาก ๆ โดยเฉพาะตอนออกกำลังกายกลางแจ้ง ยิ่งเพิ่มการสูดเอาละอองฝุ่นเข้าสู่ทางเดินหายใจและปอดมากขึ้นตามไปด้วย
- อยู่บ้าน ปิดหน้าต่างให้มิดชิด : ในช่วงที่มีค่าฝุ่นสูง หากเป็นไปได้ควรอยู่บ้านหรือในอาคารจะดีกว่า ปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิด และหากมีเครื่องฟอกอากาศ ควรเปิดเครื่องฟอกเพื่อช่วยกรองฝุ่นเล็ก ๆ ให้อากาศภายในให้ดียิ่งขึ้น
- งดสูบบุหรี่ หรือสร้างฝุ่นควัน : การสูบบุหรี่หรือสูดดมควันต่าง ๆ ยิ่งทำให้ระบบทางเดินหายใจของเราแย่ลง เสี่ยงเป็นหอบหืด หรือมะเร็งปอดได้อีกด้วย
AQI เท่าไหร่อันตรายต่อสุขภาพ?
ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) จะใช้เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย โดยเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศ AQI ของประเทศไทย สามารถแบ่งเป็น 5 ระดับด้วยกัน ดังนี้
- 0 – 25 (คุณภาพอากาศดีมาก) : เหมาะกับกิจกรรมกลางแจ้ง
- 26 – 50 (คุณภาพอากาศดี) : ทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ
- 51 – 100 (ปานกลาง) : ทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ สำหรับผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากเริ่มมีอาการไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
- 101 – 200 (เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) : คนทั่วไปควรเฝ้าระวัง หากมีอาการ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง อาจสวมหน้ากากหรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง ส่วนผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ควรปฏิบัติเช่นเดียวกัน แต่ถ้ามีอาการ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดหัว หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์
- 201 ขึ้นไป (มีผลกระทบต่อสุขภาพ) : ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง และควรพบแพทย์หากมีอาการทางสุขภาพ
PM2.5 ยังคงมีมาเรื่อย ๆ เราจึงควรป้องกันตัวเองให้ดีเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพจากอันตรายของฝุ่นจิ๋วพวกนี้ การป้องกันตัวที่ดีเป็นสิ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงเจ็บป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ที่มีปัจจัยมาจาก PM2.5 ในภายหลังได้ เช่นเดียวกับการซื้อประกันสุขภาพที่ต้องมีไว้ตั้งแต่ตอนที่สุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย เพื่อจะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ เพราะประกันสุขภาพไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนซื้อ เราจึงต้องเตรียมตัวไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
พลัสความคุ้มครองสุขภาพอย่างเหนือระดับ เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต Elite Health Plus เหมาจ่ายตามจริง 20 - 100 ล้านบาทต่อปี +เข้ารักษาได้ทุก รพ. ทั่วไทยหรือทั่วทุกมุมโลก(1) คุ้มครองทั้งโรคอุบัติใหม่ โรคระบาด โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี ดูแลสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี คุ้มครองครบทั้ง IPD และ OPD(2) เบี้ยวันละไม่ถึง 94 บาท(3)
✔ คุ้มครองค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน แบบเหมาจ่ายตามจริง หรือ ห้องเดี่ยวพิเศษก็คุ้มครอง 10,000 - 25,000 บาทต่อวัน
✔ คุ้มครองค่าห้อง ICU แบบจ่ายตามจริง รวมสูงสุด 365 วัน
✔ ครอบคลุมการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งแบบเคมีบำบัดและแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) การวินิจฉัยแบบ MRI และการฟอกไตโดยไม่ต้องแอดมิท
✔ เข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาล
✔ เลือกซื้อเพิ่มได้ ความคุ้มครองคลอดบุตร หรือ แพ็กตรวจสุขภาพประจำปี ทันตกรรม ฉีดวัคซีน และค่ารักษาทางสายตา ได้ตามใจ
ซื้อวันนี้! ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% สูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
(1) กรณีเลือกพื้นที่ความคุ้มครองทั่วโลก
(2) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท
(3) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 34 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
- สัญญาเพิ่มเติมประกันภัยแบบ อีลิท เฮทล์ พลัส ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- ค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน หมายถึง ค่าห้องพักเดี่ยวมาตรฐานของโรงพยาบาลในประเทศไทย
- เงื่อนไขเป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามประกาศ ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 และ แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม 2565 หรืออ้างอิงตามประกาศฉบับล่าสุด
- เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 25/04/65
🔖 กรมควบคุมโรค (ข้อมูล ณ วันที่ 13/01/65)
🔖 รพ.สมิติเวช (ข้อมูล ณ วันที่ 18/01/62)
🔖 air4thai (ข้อมูล ณ วันที่ 20/04/65)