พนักงานออฟฟิศ ถ้าไม่อยากป่วย ปรับด่วนนน!!
พนักงานออฟฟิศใช้เวลาทำงานเฉลี่ยวันละ 8-10 ชั่วโมง หรือพูดง่าย ๆ คือในหนึ่งวันชีวิตจะเปย์ให้กับการทำงานที่ยาวนาน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และพฤติกรรมการของทำงานเป็นหนึ่งสาเหตุหลักของอาการเจ็บป่วยและโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะจากท่าทางการนั่ง กินจุบกินจิบไม่ตรงเวลา จ้องอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน หรือความเครียดสะสมที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าคุณไม่อยากเจ็บป่วยจากพฤติกรรมการทำงาน เมืองไทยประกันชีวิตขอแนะนำให้เริ่มรีเซ็ต รีบปรับตัวกันด่วน ๆ ก่อนจะสายเกินไป
กินอาหารไม่ตรงเวลา
กินอาหารไม่ตรงเวลา กินจุบจิบ กินอิ่มมากหรือน้อยเกินไป บอกเลยว่าพฤติกรรมเหล่านี้มีส่วนทำให้กระเพาะอาหารของเราทำงานผิดปกติ เกิดเป็นโรคกระเพาะอาหาร โรคลำไส้แปรรวนหรือกรดไหลย้อนตามมาได้
ดังนั้นหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรักษาให้หายขาด อาการเหล่านี้อาจพัฒนาไปเป็นโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารทะลุ หรือมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น
🔖 Rama Channel (ข้อมูล ณ วันที่ 11/08/59)
🔖 pptvhd36 (ข้อมูล ณ วันที่ 26/09/59)
ใกล้ชิด ติดจอ มากเกินไป
ถ้าคุณเริ่มมีอาการ ตาแห้ง ตาล้า แสบตา และดวงตาไม่สามารถสู้แสงหรือโฟกัสได้ รวมถึงมีอาการปวดหัว คอ บ่า ไหล่ เกิดขึ้นด้วย แปลว่าสุขภาพของคุณกำลังเข้าใกล้โรค Computer Vision Syndrome หรือ CVS คือกลุ่มของอาการทางตาและการมองเห็น ซึ่งสาเหตุไม่ใช่เรื่องไกลตัว เกิดจากการพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์ ในระหว่างทำงานเป็นเวลายาวนาน จุดทำงานแสงไม่เพียงพอ ระยะมุมอาจมองใกล้หรือไกลจนเกินไป ซึ่งส่งผลเสียต่อสายตาเราทั้งหมด
วิธีหลีกเลี่ยงคือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพิ่มแสงไฟและจอแสดงผลให้เพียงพอ ปรับมุมมองของสายตากับจอให้อยู่ในระยะที่เหมาะสม และหมั่นพักสายตาระหว่างทำงาน ฝึกกะพริบตาบ่อย ๆ หรือหากรู้สึกตาแห้งให้หยอดน้ำตาเทียมเพื่อช่วยให้รู้สึกชุ่มชื้นและสบายตาขึ้น
🔖 Rama Channel (ข้อมูล ณ วันที่ 11/08/59)
🔖 Wongnai (ข้อมูล ณ วันที่ 06/09/64)
นั่งผิดท่า ผิดทาง โดยไม่รู้ตัว
เชื่อว่าพนักงานออฟฟิศแค่รู้สึกปวดหลังเบา ๆ ก็หวาดระแวงว่าเราเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมแล้วรึยังนะ และถ้ามีอาการปวดร้าวบริเวณคอ บ่า ไหล่ รวมถึงอาการชาที่นิ้วมือ ฝ่ามือ หรือแขน ประกอบด้วย อาจบอกได้ชัดเจนว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมในเร็ววัน เนื่องจากพฤติกรรมการนั่งทำงานที่ผิดท่าผิดทาง ตำแหน่งของโต๊ะทำงานกับเก้าอี้ไม่สัมพันธ์กับสรีระ ส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ และหากปล่อยทิ้งไว้นานวันอาจเริ่มมีอาการปวดตามมาเป็นลำดับ ซึ่งถ้าไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งทำงาน และพักจากงานเพื่อยืดเส้นสายบ้าง
นอกจากนี้ โรคออฟฟิศซินโดรม ยังมีกลุ่มอาการที่เกิดจากส่วนของกระดูกสันที่หลังมีปัญหาและอาจรุนแรงได้ เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น หรือโรคกระดูกสันหลังคด เป็นต้น
🔖 Rama Channel (ข้อมูล ณ วันที่ 11/08/59)
🔖 Praram 9 Hospital (ข้อมูล ณ วันที่ 11/06/64)
นอนดึก ตื่นเช้า ระวังตัวให้ดี
คนนอนดึกเพราะโหมงานหนัก แถมรุ่งเช้ายังต้องรีบตื่นเพื่อไปทำงานต่อ จนนาฬิกาชีวิตเปลี่ยน เวลานอนหรือพักผ่อนนั้นไม่เพียงพอ หากทำบ่อย ๆ อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือสมาธิสั้นลงได้
ดังนั้นไม่ควรปล่อยให้พฤติกรรมการนอนดึกตื่นเช้าเกิดขึ้นจนกลายเป็นเรื่องปกติ ควรจัดสรรเวลางานเสียใหม่ และหมั่นหาเวลาพักผ่อนหลับในช่วงพักกลางวันสัก 10-15 นาที หรือควรนอนหลับให้นานมากขึ้นคืนละอย่างต่ำ 6-7 ชม. เพื่อสุขภาพที่ดี
🔖 Rama Channel (ข้อมูล ณ วันที่ 11/08/59)
🔖 Thairath (ข้อมูล ณ วันที่ 14/02/54)
แม้ว่าในบางพฤติกรรมนั้นอาจยังไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยตรง แต่ในระยะยาวหากไม่รีเซตพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ อาจส่งผลให้เกิดโรคที่รุนแรงภายหลังได้ พร้อมเสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 65 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร 1766
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขาธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
- *เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่ - ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
🔖 Rama Channel (ข้อมูล ณ วันที่ 11/08/59)
🔖 pptvhd36 (ข้อมูล ณ วันที่ 26/09/59)
🔖 Wongnai (ข้อมูล ณ วันที่ 06/09/64)
🔖 Praram 9 Hospital (ข้อมูล ณ วันที่ 11/06/64)
🔖 Thairath (ข้อมูล ณ วันที่ 14/02/54)