Early-stage serious illness vs. advanced-stage
“ระยะเริ่มต้นกับระยะลุกลาม” ส่วนมากมักได้ยินหรือคุ้นเคยกันในโรคร้าย อย่างโรคมะเร็ง และโรคไต ซึ่งโรคมะเร็งเป็นโรคที่มีการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทย ทำให้หลายคนคุ้นชินเมื่อคนใกล้ตัวหรือแม้กระทั่งตัวเองตรวจพบ และหากตรวจพบโรคอย่างแรกที่ต้องการทราบคือระยะของโรค ซึ่งหากเป็นเพียงระยะเริ่มต้นก็ยิ่งทำให้ผู้ป่วยโล่งใจมากขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่าระยะของโรคนั้นสามารถบ่งบอกอะไรได้บ้าง หรืออะไรเป็นตัวกำหนดระยะของโรค? แน่นอนว่าการซื้อความคุ้มครองสุขภาพ ก็ทำให้อุ่นใจหากเจ็บป่วยก็มีคนช่วยดูแลค่ารักษา แต่การรู้รายละเอียดเบื้องต้นของโรคร้ายก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจมากขึ้น เมืองไทยประกันชีวิตจึงนำข้อมูลระยะของโรคมะเร็งมาให้ทุกท่านได้ทราบกัน
ระยะของมะเร็ง (Stage of Cancer) คืออะไร
ระยะของมะเร็งเป็นตัวบ่งบอกการลุกลาม หรือความรุนแรงของมะเร็ง โดยมะเร็งเกือบทุกชนิดมีการจัดระยะของโรคเรียกว่า “ระยะของมะเร็ง” ซึ่งระยะของมะเร็งจะแบ่งตามความรุนแรงของโรคจากน้อยไปมาก คือ ระยะที่ 0 ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 ระยะที่ 4 ส่วนตัวที่กำหนดระยะของมะเร็งคือ เซลล์มะเร็งแบ่งตัว เติบโต นอกเหนือการควบคุมจากร่างกาย สามารถเติบโตลุกลามเข้าไปในอวัยวะใกล้เคียง โดยเข้ากระแสเลือด ต่อมน้ำเหลืองได้ และการแบ่งระยะของโรคจะทราบก็ต่อเมื่อตรวจร่างกายโดยการเอ็กซเรย์ต่าง ๆ ผลเลือด ผลชิ้นเนื้อ ลักษณะของก้อนที่พบจากการผ่าตัด
มะเร็งระยะต่าง ๆ แตกต่างกันแค่ไหน?
ระยะที่ 0
คือมะเร็งระยะต้น ๆ ที่อยู่บนชั้นของเซลล์ปกติยังไม่แทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อปกติหรือยังจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณพื้นผิวของเยื่อบุอวัยวะนั้นๆ มีการพยากรณ์โรคดีที่สุด มักจะมีโอกาสหายขาดได้เกินกว่า 95 %
ระยะที่ 1 - 2
เรียกว่ามะเร็งระยะต้น เป็นระยะมะเร็งที่มีการพยากรณ์โรคดี โดยแพทย์จะรักษาอวัยวะให้สามารถมีการทำงานให้ใกล้เคียงปกติที่สุด โดยทั่วไปผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี อยู่ระหว่าง 70–95% แล้วแต่ตำแหน่งของมะเร็งต้นกำเนิด
ระยะที่ 3
เป็นมะเร็งระยะลุกลามเฉพาะที่ มีการลามของมะเร็งไปยังอวัยวะข้างเคียง หรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง การรักษาด้วยการผ่าตัดมักจะยากขึ้นกว่ามะเร็งระยะต้น มักจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีอยู่ระหว่าง 40 – 70% โดยการรักษามะเร็งระยะที่ 3 จะเป็นการรักษาแบบผสมผสาน เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี และการให้ยาเคมีบำบัด โดยลำดับการรักษาว่าจะเริ่มต้นด้วยวิธีใดก่อนนั้นขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์
ระยะที่ 4
เป็นระยะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ซึ่งเป้าหมายของการรักษามะเร็งระยะที่ 4 คือการยืดอายุและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะที่ 4 ส่วนใหญ่ไม่หายขาด และอาจจะได้รับความทุกข์ทรมานจากก้อนมะเร็งที่แพร่กระจาย
ดูแลตัวเองห่างไกลโรคร้าย
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที จะช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจได้ ความอ้วน ความเครียด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งได้
ทำจิตใจให้แจ่มใส
เพราะความเครียดเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลง และส่งเสริมการเกิดโรคมะเร็งได้
กินผักผลไม้
ในผักผลไม้จะมีสารต้านมะเร็งอย่างแอนติออกซิแดนซ์ (Antioxidant) ได้แก่ วิตามินเอ ซี อี สารเบตาแคโรทีน สารไลโคปีน สารไอโซฟลาโวนอยด์ เส้นใยอาหาร ที่จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับเยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่และลดการเกิดโรคมะเร็งได้
กินอาหารหลากหลาย
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่จำเจ และใหม่สด สะอาด ปราศจากเชื้อรา ลดอาหารที่ไขมันสูง อาหารปิ้ง ย่าง ทอดที่ไหม้เกรียม เนื้อสัตว์สีแดง และอาหารหมักดอง
ตรวจร่างกายเป็นประจำ
การตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี จะช่วยลดความเสี่ยงเมื่อตรวจเจอก็สามารถรักษาได้ทันท่วงที
ถึงแม้จะดูแลตัวเองแค่ไหนก็ไม่สามารถป้องกันมะเร็งหรือโรคร้ายอื่น ๆ ได้ 100% การหาตัวช่วยลดความเสี่ยงยามเจ็บป่วยจะได้ไม่ต้องกับกังวลกับค่ารักษา ด้วยการซื้อประกันสุขภาพ ซึ่งเมืองไทยประกันชีวิตได้ออกแบบสัญญาเพิ่มเติม ซีไอ เพอร์เฟค แคร์ ที่คุ้มครองครอบคลุมโรคร้าย ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น มากถึง 36 โรคร้าย เช่น โรคมะเร็ง โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เนื้องอกในสมอง ชนิดไม่ใช่มะเร็ง เจ็บป่วยขึ้นมาก็เบาใจได้เรื่องค่ารักษา
หมายเหตุ
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครองและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา :
รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Ampro health
โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ