เปิด 5 โรคในผู้สูงวัยที่ต้องระวัง
อายุที่เพิ่มขึ้นร่างกายก็เสื่อมไปตามวัย ยิ่งช่วงชีวิตที่ผ่านมาไม่ได้ดูแลร่างกายเท่าที่ควร ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคภัยตามมา หรือแม้จะดูแลตัวเองดีแค่ไหน การเจ็บป่วยของวัยนี้ก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ถ้าไม่ได้วางแผนไว้ หากเจ็บป่วยขึ้นมาอาจทำให้กระทบเงินเก็บได้ ซึ่งการมีผู้ช่วยดี ๆ อย่างประกันสุขภาพ หรือประกันชีวิต ที่มีความคุ้มครองครอบคลุมแบบที่ต้องการ ก็จะช่วยให้ใช้ชีวิตอย่างมั่นใจมากขึ้น แต่ก่อนอื่นมาดูกันว่ามีโรคไหนบ้างที่ควรระวังเมื่ออายุมากขึ้น เมืองไทยประกันชีวิตชวนมาหาคำตอบไปด้วยกัน
โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เป็นโรคที่ผู้สูงวัยต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นจะทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพลง เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้ผิวชั้นในของผนังหลอดเลือดด้านหนาตัวหรือแข็งขึ้น จากการที่มีไขมันหรือหินปูนมาเกาะ ทำให้ให้เลือดไหลผ่านได้น้อยลง หากสะสมนานไปเลือดอาจไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยจะมีอาการผิดปกติ เช่น ตามองไม่เห็น ชาครึ่งซีก เป็นต้น พบมากในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ ภาวะเครียด การขาดการออกกำลังกาย และสูบบุหรี่
โรคข้อเข่าเสื่อม
สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมที่ใครหลายคนมักนำมาอำกันขำ ๆ ว่าอายุเยอะแล้วข้อเข่าไม่ดี นั้นไม่เกินจริงเลย เพราะเมื่ออายุมากขึ้นความแข็งแรงของกระดูกก็ลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจาก จากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อจากการใช้ข้อเข่ามานาน การรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไป การใช้งานขาและหัวเข่าผิดท่า พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เคยเกิดอุบัติเหตุกับหัวเข่า ฯลฯ และเมื่อกระดูกผิวข้อเสื่อมแล้วก็จะมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ หากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก คือ มีอาการเจ็บปวดของข้อและข้อบวม อาการข้อขัด รูปร่างขาโก่งผิดปกติ เหยียดขาได้ไม่สุด ข้อเข่าผิดรูป หรือขาโก่ง
โรคตา
นอกจากข้อเข่าจะเสื่อมตามอายุที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยิ่งอายุมากดวงตาก็เสื่อมลงด้วยเช่นกัน เนื่องจากดวงตามักเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยโรคตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อกระจก โรคต้อหิน เป็นต้น
- โรคจอประสาทตาเสื่อม มักมีอาการตามองไม่ชัดเฉพาะตรงกลางภาพ แต่เห็นภาพข้าง ๆ ได้เหมือนเดิม บางรายอาจเห็นภาพบิดเบี้ยว
- โรคต้อกระจก อายุมากขึ้นทำให้เลนส์แก้วตาแข็งและขุ่นขึ้น ส่งผลให้สายตามัวหรือเห็นภาพซ้อน จะมัวเหมือนมีฝ้าหรือหมอกบัง ตาสู้แสงไม่ได้
- โรคต้อหิน เกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตา หากเป็นต้อหินแบบเฉียบพลัน จะปวดตา ตามัวลง และเห็นรุ้งรอบดวงไฟ ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นอีกโรคยอดฮิตที่พบมากในผู้สูงอายุ และยังเป็นโรคเรื้อรังที่เมื่อเป็นแล้วต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญยังเสี่ยงก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาอีกหลายโรค โดยโรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ตามปกติ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกาย นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ตาพร่ามัว ตาบอด ไตเสื่อม ชาตามปลายมือปลายเท้า และอาจติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคอาจเกิดได้จากกรรมพันธุ์ ความอ้วน การตั้งครรภ์ อายุที่มากขึ้น การรับประทานยาบางชนิด
โรคไต
โรคสุดท้ายที่เมืองไทยประกันชีวิตนำมาฝากก็คือโรคไต ซึ่งอายุที่มากขึ้นก็เป็นสาเหตุให้ป่วยโรคนี้ได้ เพราะไตจะมีขนาดเล็กลงเมื่ออายุมากขึ้น ไตเริ่มเสื่อม ทำให้ความสามารถในการกรองของเสียและน้ำของไต รวมถึงการกักเก็บโปรตีนเข้าสู่กระแสเลือดลดลง ซึ่งหากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือภาวะดื้อต่ออินซูลิน โรคเครียด ฯลฯ รับประทานอาหารที่มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต หรือไขมันที่สูงมากเกินไปทำให้ร่างกายเผาผลาญและนำไปใช้ได้ไม่หมด ก็จะทำให้เร่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เร็วขึ้น และเมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ส่งผลให้เข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรัง จนต้องเข้ากระบวนการรักษาอย่างการล้างไต ฟอกเลือด และเปลี่ยนไตในที่สุด ซึ่งการเสื่อมของไตอาจทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา
จะเห็นได้ว่าโรคต่าง ๆ ที่เมืองไทยประกันชีวิตรวบรวมข้อมูลมาให้นั้น ส่วนใหญ่มักเกิดจากความเสื่อมของร่างกายเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ทุกคนควรเริ่มดูแลสุขภาพตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค และสามารถเพิ่มความอุ่นใจในอนาคตด้วยประกันชีวิตควบการลงทุน อายุเพิ่มขึ้นก็ไม่ต้องกังวลค่าเบี้ยประกันเพราะ เบี้ยรวมคงที่ตลอดสัญญา แม้แนบสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ(1) กรมธรรม์ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ กับ uDesign ประกันชีวิตควบการลงทุนจากเมืองไทยประกันชีวิต ที่ให้ความคุ้มครองมากกว่า ใช้ชีวิตคุ้มค่ามากขึ้น
- เบี้ยรวมคงที่ตลอดสัญญา แม้แนบสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ(1)
- จ่ายเบี้ยเท่ากันแต่เลือกความคุ้มครองชีวิตได้มากกว่า(2)
- คุ้มครองครอบคลุม โรคโควิด 19 โรคอุบัติใหม่ โรคร้ายแรง และโรคทั่วไป ดูแลสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี(3)
- กรมธรรม์ยืดหยุ่น เพิ่ม ถอน หยุดพักชำระเบี้ยระหว่างสัญญาได้
- โอกาสรับผลตอบแทนที่ดีกว่าจากการลงทุนในกองทุนรวมคุณภาพที่หลากหลาย
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
หมายเหตุ:
(1) สัญญาเพิ่มเติมแบบชำระค่าการประกันภัยโดยการหักจากมูลค่าการลงทุน
(2) ความคุ้มครองที่มากกว่าขึ้นอยู่กับอายุ เพศ สุขภาพ และผลตอบแทนจากการลงทุน เมื่อเทียบระหว่างแบบประกันภัยเมืองไทยยูนิตลิงค์ 1 (ชำระเบี้ยประกันภัยรายงวด) กับแบบประกันภัยเมืองไทย สมาร์ท โพรเทคชั่น 99/20
(3) เมื่อแนบสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพแบบอีลิท เฮลท์ หรือแบบดี เฮลท์ โดยคุ้มครองตราบเท่าที่มูลค่าการลงทุนมีเพียงพอที่จะชำระค่าใช้จ่ายตามกรมธรรม์
- ระยะเวลาคุ้มครองขึ้นอยู่กับระยะเวลาการชำระเบี้ย อัตราผลตอบแทนการลงทุน และการถอนเงินลงทุนบางส่วนจากกรมธรรม์
- เบี้ยประกันภัย (ไม่รวมส่วนของการลงทุน) ของแบบประกันภัยนี้ สามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 172 และ 383
- ภาวะการลงทุนที่ผันผวน การหยุดพักชำระเบี้ยประกันภัย รวมถึงการถอนเงินลงทุนออกบางส่วนจากกรมธรรม์ อาจส่งผลให้ผลประโยชน์และความคุ้มครองที่จะได้รับลดลง
- เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุในกรมธรรม์
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- โครงการ uDesign เป็นชื่อทางการตลาดของโครงการเมืองไทยยูนิตลิงค์
- เงื่อนไขเป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามประกาศ ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 และ แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด 19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม 2565 หรืออ้างอิงตามประกาศฉบับล่าสุด
- เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทำประกันภัย