ซัมเมอร์นี้ต้องรอด! วิธีเอาตัวรอดจากแสงแดด
อากาศร้อนจนต้องร้องขอชีวิตมันมีอยู่จริงนะคุ๊ณณณ ยิ่งนับถอยหลังอีกไม่กี่วันก็จะเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ บอกเลยว่าปีนี้จัดหนักจัดเต็มอุณหภูมิสูงปรี๊ดกันแน่นอน นอกจากจะร้อนตับแทบไหม้แล้ว ทุกคนรู้มั้ยว่าอากาศร้อนจัดนี่แหละ จะทำให้ร่างกายของเราเจ็บป่วยได้ง่าย ๆ ดังนั้นก่อนจะเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ เราจึงต้องหาวิธีดูแลตัวเองรับซัมเมอร์นี้ให้ดี
วันนี้เมืองไทยประกันชีวิต มีทริคดี ๆ ไว้ดูแลตัวเองรับซัมเมอร์มาฝาก ไม่ว่าจะท้าลมท้าแดดก็ไม่ต้องเฟล จะมีอะไรบ้างนั้นตามมา!
พอเข้าสู่หน้าร้อน สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เลยก็คือแสงแดด ซึ่งในแสงแดดจะมีรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet Radiation : UV) ที่มีความเข้มข้นแตกต่างกัน 3 ชนิด คือ UVA, UVB และ UVC ซึ่งรังสี UV ที่อันตรายจนส่งผลกระทบต่อร่างกาย คือ
- UVA : หากโดนมากไปจะไปทำลาย DNA ของเซลล์ผิวหนัง เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งผิวหนัง รอยเหี่ยวย่นริ้วรอยก่อนวัย และต้อกระจกตา
- UVB : เป็นสาเหตุหลักของผิวไหม้จากแสงแดด และทำลาย DNA ของเซลล์ผิวหนัง เสี่ยงโรคมะเร็งผิวหนังเช่นกัน
เห็นความร้ายของแสงแดดแล้ว แนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงแสงแดดจัดช่วง 10.00-16.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่รังสี UV มีความเข้มข้นมากที่สุด แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ให้พยายามอยู่ในที่ร่ม ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รวมถึงใส่หมวกและแว่นกันแดด โดยสิ่งสำคัญที่สุดที่ขาดไม่ได้ก็คือ การทาครีมกันแดดทุกวัน
🔖 โรงพยาบาลพญาไท (ข้อมูล ณ วันที่ 27/06/65)
จะเห็นได้ว่าอันตรายจากแสงแดดส่งผลร้ายต่อสุขภาพของเรามากมาย ไม่ว่าจะทำร้ายสายตาทำให้เกิดต้อกระจก ผิวหนังไหม้ อักเสบ ดูเหี่ยวย่นแก่ก่อนวัย หรือร้ายแรงจนถึงขั้นเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ นอกจากแสงแดดที่ทำร้ายเราแล้ว อุณหภูมิที่ร้อนจัดยังส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำและฮีทสโตรกได้อีกด้วย ดังนั้นในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ เราจึงต้องเตรียมตัวรับซัมเมอร์ด้วยวิธีง่าย ๆ ตามนี้เลย
- ดื่มน้ำบ่อย ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว แต่ก็ไม่ควรดื่มมากเกินไปเพราะอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ลองคำนวณปริมาณการดื่มน้ำที่เหมาะสม โดยคิดจากสูตร น้ำหนักตัว(กิโลกรัม) หารด้วย 30 = ปริมาณน้ำหน่วยเป็นลิตรที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน ตัวอย่างเช่น น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ก็ควรจะดื่มน้ำให้ได้ประมาณวันละ 1.66 ลิตรต่อวัน นอกจากนี้ ไม่ควรกินน้ำแข็งหรือดื่มน้ำเย็นจัด เพราะจะทำให้ร่างกายปรับสภาพไม่ทัน ส่งผลให้อวัยวะภายในบิดตัวอย่างรุนแรง เช่น มีอาการปวดท้องทันที เป็นต้น
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอากาศร้อนอาจทำให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เร็วกว่าปกติ
- สำหรับสายสปอร์ต ควรออกกำลังกายในช่วงเช้าหรือเย็นที่แดดไม่แรงมากนัก เพราะถ้าออกกำลังตอนที่แดดแรงและอากาศร้อนมากเกินไป อาจทำให้เป็นฮีทสโตรกหรือภาวะขาดน้ำได้ อย่าลืมสังเกตอาการตัวเองและหมั่นจิบน้ำบ่อย ๆ
- ก่อนออกจากบ้านควรทาครีมกันแดดที่มีค่าSPF 15 ขึ้นไป สวมใส่อุปกรณ์กันแดด เช่น แว่นตากันแดด เสื้อคลุม
- ใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี และมีสีอ่อน
- เด็กเล็ก ผู้สูงวัย และคนที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในห้องที่มีอากาศระบายได้ดี
🔖 โรงพยาบาลวิชัยยุทธ (ข้อมูล ณ วันที่ 12/05/62)
🔖 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
🔖 pobpad
🔖 nestle
แม้แสงแดดจะเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตประจำวัน แต่เราสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงให้ห่างไกลกับโรคที่มาพร้อมกับแสงแดดได้ โดยเฉพาะคนที่ทำอาชีพกลางแจ้งบ่อย ๆ ยิ่งต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพราะมีความเสี่ยงในด้านสุขภาพมากกว่าคนอื่น ๆแต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าอาชีพไหนก็ต้องดูแลตัวเองให้ดี ตรวจสุขภาพปีละครั้ง พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย เพราะหากเจ็บป่วยขึ้นมาอาจกระทบทั้งอาชีพการงานและครอบครัว
เสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง วันละไม่ถึง 65 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
☑️ โทร 1766
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขาธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
- สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย