ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด อันตรายที่มาในหน้าร้อน
คนไทยเตรียมตัวร้อนตับแตก พร้อมระวังฮีทสโตรกถามหา เพราะปีนี้กรมอุตตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1.2 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิสูงสุด พุ่ง 44.5 องศาเซลเซียส และสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวแบบนี้ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เสี่ยงเป็น ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด จากความร้อนที่สูงได้ เตรียมรับมือหาวิธีรักษาฮีทสโตรก หรือวิธีปฐมพยาบาลฮีทสโตรกไว้รอเลย ที่สำคัญ อาจเกิดฮีทสโตรกกับสุนัขและแมวได้ วันนี้เมืองไทยประกันชีวิตมีข้อมูลดี ๆ มาแนะนำเพื่อให้ทุกคนเตรียมตัวป้องกัน และเฝ้าระวังโรคฮีทสโตรกภัยร้ายที่มากับความร้อนกัน
- ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด คืออะไร
- ประเภทของฮีทสโตรก
- ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นฮีทสโตรก
- อาการของฮีทสโตรก
- วิธีป้องกันฮีทสโตรก
- ฮีทสโตรก วิธีรักษาและปฐมพยาบาล
- ฮีทสโตรกในสุนัขและแมว
- แฮมสเตอร์กับอาการฮีทสโตรก
ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด คืออะไร
“ฮีทสโตรก” (Heat Stroke) หรือ “โรคลมแดด” คือโรคที่ต้องระวังในช่วงหน้าร้อนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป ไม่สามารถควบคุมระดับความร้อนในร่างกายได้ มักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ซึ่งความร้อนที่สูงเกินไปในร่างกาย มักเกิดจากอากาศที่ร้อนจัดเกินไป จากการออกกำลังกายอย่างหนักในที่ที่มีอุณหภูมิสูง รวมไปถึงการทำงานที่ต้องใช้แรงงานหนัก ๆ พอร่างกายเรามีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก ๆ จนร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน ก็จะเกิดฮีทสโตรกได้ ยิ่งเมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาทันที เพราะหากปล่อยไว้นาน อาจส่งผลกระทบต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ และหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
ประเภทของฮีทสโตรก
รู้หรือไม่ว่าฮีทสโตรกไม่ได้เกิดจากอากาศร้อนประเภทเดียว แต่ฮีทสโตรกมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ ซึ่งแบ่งได้ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ได้แก่
- ฮีทสโตรกที่ไม่ได้เกิดจากการออกกำลัง (Classic Heatstroke or Non – Exertional Heatstroke) ฮีทสโตรกประเภทนี้ จะเกิดจากการยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้นเป็นเวลานาน การสวมเสื้อผ้าหนา หรือไม่ระบายอากาศ ทำให้เหงื่อไม่สามารถระเหยออกได้ รวมถึงการดื่มน้ำน้อย การดื่มแอลกอฮอล์ สาเหตุเหล่านี้ จะไปรบกวนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงตามไปด้วย ซึ่งผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคเรื้อรัง มีความเสี่ยงต่อการเป็นฮีทสโตรกประเภทนี้
- ฮีทสโตรกที่เกิดจากการออกกำลัง (Exertional Heatstroke) เกิดจากการออกกําลังกายอย่างหนัก หรือจากการทำงานในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง ยิ่งในคนที่ไม่คุ้นชินกับสภาพอากาศที่ร้อน ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสเป็นฮีทสโตรกได้
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นฮีทสโตรก
นอกจากสภาพอากาศ และปัจจัยแวดล้อมหลาย ๆ อย่างที่ทำให้คนเกิดฮีทสโตรกได้ ยังมีอีกลุ่มที่มีความเสี่ยง "ฮีทสโตรก" ได้แก่
- เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ และผู้สูงอายุ เพราะร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว
- คนที่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง
- คนที่ทำงาน หรือทำกิจกรรมกลางแดดร้อนจัด
- คนที่มีน้ำหนักภาวะอ้วน
- คนที่พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งหากนอนไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อกลไกควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
- คนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เพราะแอลกอฮอล์ จะทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และเกลือแร่สูงกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม ยิ่งดื่มในสภาพอากาศที่ร้อนจัด แอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็ว และแรงขึ้น มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจทำงานหนักขึ้น จนอาจทำให้ช็อก และเสียชีวิตได้
อาการของฮีทสโตรก
ฮีทสโตรก ถือว่าเป็นหนึ่งในโรคที่มากับหน้าร้อนที่อันตราย และหากรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น ในวันที่อากาศร้อนจัด ควรสังเกตอาการเหล่านี้ของตัวเอง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
- ตัวร้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส
- รู้สึกสับสนเฉียบพลัน หงุดหงิดฉุนเฉียว พูดไม่รู้เรื่อง เพ้อ ชัก หรือโคม่า
- หากเป็นฮีทสโตรกจากอากาศร้อน ผิวจะแห้ง และร้อน
- หากเป็นฮีทสโตรกจากการออกกําลังกาย ผิวจะแห้ง และชื้นเล็กน้อย
- ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก
- หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง
- ปวดหัวตุบ ๆ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ
- อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน
วิธีป้องกันฮีทสโตรก
ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เว้นแม้แต่ผู้มีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งการป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนมาก ๆ หรือวันที่รู้ว่าตัวเองต้องได้ทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน ๆ ควรเตรียมตัวไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยวิธีเหล่านี้
- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดด หรือ การเล่นกีฬา ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
- สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน โปร่ง ระบายความร้อนได้ดี
- เติมความชุ่มชื้น และลดอุณหภูมิร่างกาย ด้วยการจิบน้ำบ่อย ๆ อย่างน้อย 6-8 แก้ว ต่อวัน
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา รวมถึงกาแฟ และ เครื่องดื่มน้ำตาลสูง
- สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว ไม่ควรอยู่ในที่อากาศร้อนจัด
- คนที่ออกกำลังกาย แนะนำออกกำลังกายในที่ที่อากาศถ่ายเท และหากออกกำลังกายช่วงเช้าหรือช่วงเย็นก็ยิ่งดี เพราะอากาศไม่ร้อนมาก
- มีอุปกรณ์คลายร้อนติดตัวไว้อยู่เสมอ เช่น พัดลมจิ๋ว หรือพัดมือเล็ก ๆ
ฮีทสโตรก วิธีรักษาและปฐมพยาบาล
หากสังเกตได้ว่าตัวเอง หรือคนใกล้ชิดเริ่มมีอาการน่าเป็นห่วง เสี่ยงเป็นฮีทสโตรก เพราะความร้อนที่สูงขึ้น เราควรช่วยเหลือเบื้องต้นดังนี้
- รีบนำคนป่วยหลบเข้าที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือห้องที่มีความเย็น เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายลง
- ให้คนป่วยนอนราบ ยกเท้าและสะโพกสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
- คลายเสื้อผ้าออกให้หลวม เพื่อระบายความร้อน
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว ซอกคอ ตัว รักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก หรือประคบด้วยน้ำแข็ง เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย ให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด
- หากคนป่วยหมดสติ ให้จับนอนตะแคง เพื่อป้องกันโคนลิ้นอุดทางเดินหายใจ
- แจ้งสายด่วน 1669 หรือนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
ฮีทสโตรกในสุนัขและแมว
ฮีทสโตรกในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ นอกจากจะเป็นอันตรายต่อคนแล้ว สำหรับสัตว์เลี้ยงก็อันตรายไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในสุนัขและแมวที่คนนิยมเลี้ยงกันมากที่สุด ยิ่งขนยาว ขนหนาหรือขนเยอะ และหน้าสั้น ยิ่งน่าเป็นห่วงในช่วงที่อากาศร้อนจัด ๆ ซึ่งฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยง เกิดจากการที่อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียสอย่างรวดเร็ว และระบายความร้อนออกสู่ภายนอกไม่ทัน เหล่าทาสแมวทาสหมาทั้งหลาย จึงต้องเตรียมตัวหาวิธีคลายร้อน เพื่อป้องกันการเกิดฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยงของตัวเอง มาดูกันว่าเราจะสังเกตอาการ เตรียมการป้องกัน และปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร เมื่อน้อง ๆ เป็นฮีทสโตรก ตามมาดูกัน
อาการฮีทสโตรกในสุนัขและแมว
- หายใจรุนแรง หายใจไม่ทัน อ้าปากค้าง และหอบมากกว่าปกติ
- ซึม มีน้ำลายยืด เหนียวมากกว่าปกติ นอนอยู่กับที่ไม่ขยับ
- ม่านตาขยาย นิสัยเปลี่ยนไปหรือดุกว่าปกติ ในระยะเวลาสั้น ๆ
- ตา เหงือก และลิ้นจะแดงกว่าปกติ หากอาการรุนแรงมากจะมีสีซีด
- อุณหภูมิของสัตว์เลี้ยงจะสูงถึง 40.5 องศาเซลเซียส
วิธีป้องกันฮีทสโตรกในสุนัขและแมวเบื้องต้น
- งดพาสัตว์เลี้ยงออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านในช่วงเวลาแดดร้อน
- ทำกิจกรรมในช่วงแดดร่ม ลมตก อาจเป็นช่วงเช้า หรือตอนเย็นไปแล้ว
- ช่วงอากาศร้อนจัด ให้นำสัตว์เลี้ยงเข้ามาภายในบ้าน เปิดพัดลม หรือแอร์ให้สัตว์เลี้ยง
- ควรมีอุปกรณ์คลายร้อนไว้กระจายรอบบ้าน เพื่อให้สัตว์เลี้ยงได้คลายร้อนด้วยตัวเอง เช่น แผ่นเจลเย็นรองนอน โอ่งดินเผา ฯลฯ
- ควรมีน้ำสะอาด ให้สัตว์เลี้ยงได้กินตลอดเวลา
การปฐมพยาบาลสัตว์เลี้ยงเบื้องต้นจากอาการฮีทสโตรก
- นำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในร่มที่ร่ม มีอากาศถ่ายเท หรือสถานที่ที่มีจุดกำบังแดดโดยเร็วที่สุด
- หากมี โซ่ สร้อยคอ หรือเสื้อผ้า ควรปลดออกทั้งหมด
- นำผ้าเปียกน้ำอุณหภูมิปกติบิดหมาด มาเช็ดให้สัตว์เลี้ยงที่บริเวณ ขาหนีบ หรือใต้รักแร้ รวมถึงบนหัวสักพัก เพื่อคลายความร้อน และปรับอุณหภูมิในร่างกาย
- รีบพาไปพบสัตวแพทย์ใกล้บ้าน เพื่อทำการรักษาต่อไป
แฮมเสตอร์กับอาการฮีทสโตรก
แฮมสเตอร์ก็เป็นอีกหนึ่งสัตว์เลี้ยงยอดฮิต ที่เรามักได้ยินข่าว ว่าเกิดฮีทสโตรกบ่อยเช่นกัน ยิ่งแฮมสเตอร์เป็นสัตว์ตัวเล็กตัวน้อย ยิ่งสังเกตอาการน้องยากมากขึ้นไปอีก กว่าจะรู้ตัวว่าน้องป่วย ก็อาจสายไปแล้วก็ได้ มาสังเกตสัญญาณที่บ่งบอกว่า แฮมสเตอร์กำลังเสี่ยงเป็นฮีทสโตรก พร้อมวิธีป้องกันเพื่อ คลายร้อนให้น้องกัน
อาการฮีทสโตรกในแฮมสเตอร์
เพราะแฮมเสตอร์เป็นสัตว์ที่ตัวเล็กมาก คนเลี้ยงจึงต้องคอยสังเกตอาการอย่างอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงที่อากาศร้อนจัด ซึ่งพฤติกรรมและอาการของแฮมเสตอร์จะเปลี่ยนไป ดังนี้
- นอนทับฉี่ หรือนอนบนที่เปียก เย็น หรือนอนทับบนผักสดที่เราให้น้องกิน ซึ่งอาการนี้บ่งบอกว่าแฮมเสตอร์ต้องการระบายความร้อนออกจากร่างกายอย่างหนึ่ง แต่การนอนทับฉี่ หรือ ที่เปียกนาน ๆ อาจทำให้น้องป่วยในภายหลังได้ เช่น ขนร่วง โรคผิวหนัง ปอดบวม หรือ โรคอื่น ๆ ตามมาอีกได้
- กินน้ำเยอะ เพราะเวลาร้อน แฮมเสตอร์จะมีการเสียน้ำในร่างกาย เค้าจึงต้องกินน้ำเยอะขึ้น เพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป
- นอนในถ้วยอาหาร เพื่อเป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกาย เพราะชามอาหารที่เราให้น้องส่วนมากจะเป็นแบบเซรามิก หรือ แบบดินเผา ซึ่งวัสดุเหล่านี้จะมีความเย็นในตัวอยู่แล้ว
- มีเหงื่อออก ในแฮมเสตอร์บางตัว จะมีน้ำบริเวณรอบคอ ถ้าร้อนมาก ๆ อาจมีเหงื่อเปียกบริเวณท้อง หากร้อนมาก ๆ อาจถึงขั้น มีอาการฮีทสโตกได้เลย
- มีอาการหงุดหงิด เมื่ออากาศร้อนมาก ๆ
- นอนนิ่ง ๆ ไม่ค่อยเล่น เคลื่อนไหวน้อยลง เพราะอาจอ่อนเพลียจากอากาศจากอากาศร้อนจัด
- คุ้ยขี้เลื่อยจนเป็นหลุม เพื่อที่จะนอนแนบกับพื้น เพราะที่พื้นจะเย็นสบาย
- ขนร่วง ขนแหว่ง เพราะพออากาศร้อนแฮมเสตอร์บางตัวจะกำจัดขน เพื่อระบายความร้อน
วิธีป้องกันฮีทสโตรกในแฮมเสตอร์
อย่างแรกเลยเมื่ออากาศร้อนจัด อาจต้องงดพาแฮมเสตอร์ออกจากบ้านเลย ยิ่งออกไปที่ร้อนและกลับมาที่เย็น อากาศเปลี่ยนไปมาอาจทำให้แฮมเสตอร์ช็อคอากาศ ถึงตายได้ก็มี น้ำต้องมีตลอดไม่ให้ขาด และที่ที่แฮมเสตอร์อยู่ ต้องอยู่ตรงที่อากาศถ่ายเทสะดวก อย่าให้อับ หรือ ร้อนเกินไป อาจมีแตงกวาเป็นชิ้น ๆ เพื่อให้เค้ากินแก้หิวน้ำ แต่ไม่ควรทิ้งอาหารไว้นาน เพราะหน้าร้อนเชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี อาจทำให้ท้องเสียได้ และ ไม่จำเป็นต้องใส่ขี้เลื่อยเยอะเหมือนปกติ อาจใส่เท่าที่จำเป็น หากเปิดพัดลมเป่าเบา ๆ ไม่ต้องเปิดจ่อยิ่งดี เพราะเป็นการช่วยระบายความร้อนอย่างหนึ่ง
ข้อควรระวัง ห้าม!! ลดอุณหภูมิของสัตว์เลี้ยงด้วยน้ำเย็นจัด และห้ามเปลี่ยนอุณหภูมิห้องฉับพลัน หากอาการไม่ดีขึ้นรีบพาไปหาหมอจะดีที่สุด
เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน อันตรายจากความร้อนและแสงแดดถือว่าค่อนข้างมีความรุนแรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะ ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด ควรหมั่นสังเกตอาการเหล่านี้ให้ดี ๆ ทั้งในคนและสัตว์เลี้ยงที่เรารัก ซึ่งทางที่ดีควรเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน และดูแลให้ร่างกายมีอุณหภูมิที่ใกล้เคียงปกติมากที่สุด รวมถึงวางแผนเสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพจากเมืองไทยประกันชีวิต #เพราะชีวิตทุกวัยมันเจ็บป่วย ป่วยเล็กป่วยใหญ่ ช่วงวัยไหนก็ป่วยได้ไม่ช็อตฟีล
ปล่อยจอยค่ารักษาเพราะมีประกันสุขภาพดูแลให้แบบเหมา ๆ ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท
✅ Elite Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 20-100 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษา ดูแลให้ทั้ง IPD และ OPD(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 157 บาท(2)
✅ D Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 5 ล้านบาท(3) นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุก รพ. เบี้ยวันละไม่ถึง 38 บาท(4)
✅ เหมาจ่าย Extra แอดมิตเข้า รพ. ดูแลค่ารักษาเหมาจ่าย 5 แสนบาท(5) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(6)
พิเศษ! รับส่วนลดสูงสุด 15% สำหรับเบี้ยประกันปีต่ออายุ เพียงทำกิจกรรมผ่านแอปฯ MTL Fit
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต
(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(3) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง
(4) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท มีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (แผน Top Up ความคุ้มครอง) และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(5) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(6) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
- เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
- สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 4/03/67
🔖 ไทยรัฐ
🔖 PPTV