ช้อปดีมีคืน 2566 สรุปครบ จบที่นี่ !
ช้อปหนักตั้งแต่ต้นปีก็ไม่ต้อง worry กัน เพราะตอนนี้ช้อปดีมีคืน 2566 กลับมาแล้ววว ! พูดเลยว่าสายช้อปปิ้งได้เงินคืนจุก ๆ กันแน่นอน
ซึ่งหลายคนอาจคุ้นเคยกับมาตรการช้อปดีมีคืนกันมาบ้างแล้ว แต่ก็อาจมีอีกหลายคนที่พลาดไปเมื่อปีก่อน วันนี้เมืองไทยประกันชีวิตชวนทุกคนมาเช็กให้ชัวร์กันอีกครั้ง ว่ามาตรการช้อปดีมีคืนคืออะไร ลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง และเราสามารถช้อปสินค้าและบริการอะไร ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ตามมาดูกัน !
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่ามาตรการช้อปดีมีคืน 2566 คืออะไร และมีเงื่อนไขอะไรบ้าง มาตรการช้อปดีมีคืน 2566 คือ การที่เราสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าหรือบริการ รวมถึงการเติมน้ำมัน ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ม.ค - 15 ก.พ. 66 มาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้
ต้องซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากร้านที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และสามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบให้ได้เท่านั้น ยกเว้นการซื้อสินค้าโอทอป (OTOP) และหนังสือหรือ E-book ที่ใช้ใบเสร็จรับเงินได้ โดยระบุชื่อ-นามสกุลให้ชัดเจน
สินค้าและบริการที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ต้องเป็นสินค้าและบริการที่เสียภาษี VAT หากเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษี VAT จะไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
ต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการ และจ่ายค่าสินค้าหรือค่าบริการนั้น ในระหว่างวันที่ 1 ม.ค - 15 ก.พ. 66
หากจ่ายค่าสินค้าในปี 2565 แต่ไปใช้บริการในวันที่ 1 ม.ค - 15 ก.พ. จะไม่สามารถใช้สิทธิช้อปดีมีคืนได้ เพราะถือว่าไม่ได้ใช้จ่ายในช่วงเวลาที่กำหนด
🔖 thairath (ข้อมูล ณ วันที่ 01/01/66)
🔖 kapook (ข้อมูล ณ วันที่ 21/12/65)
ใครที่สนใจจะใช้มาตรการช้อปดีมีคืน ไม่ต้องลงทะเบียน เพียงแค่ซื้อสินค้าหรือบริการตามเงื่อนไขที่กำหนด และขอใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบจากร้านค้า ก็สามารถยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2566 เพือลดหย่อนภาษีได้
เงื่อนไขคนที่ได้รับสิทธิช้อปดีมีคืน
- ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่รวมถึงคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล
- ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่สามารถใช้สิทธิ์มาตรการนี้ได้
- ส่วนคนที่ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี จะไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้ เนื่องจากไม่ได้เข้าข่ายที่ต้องจ่ายภาษีอยู่แล้วนั่นเอง
🔖 kapook (ข้อมูล ณ วันที่ 21/12/65)
🔖 itax (ข้อมูล ณ วันที่ 31/12/65)
✅สินค้าและบริการที่สามารถลดหย่อนภาษีได้✅
- สินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่มีหน้าร้าน หรือร้านค้าออนไลน์ก็ได้แต่ต้องเป็นร้านค้าที่จดทะเบียนภาษี VAT ซึ่งสามารถออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบให้ได้เท่านั้นน เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร
- หนังสือ ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์หรืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ทุกประเภท (ยกเว้นหนังสือประเภทนิตยสารและหนังสือพิมพ์) ทั้งนี้ หากเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจน จึงจะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้
- สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว โดยสามารถตรวจสอบร้านค้าได้ที่ otoptoday
❌สินค้าและบริการที่ไม่สามารถใช้สิทธิได้❌
- ค่าสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ
- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
- ค่าที่พักในโรงแรม
- ค่าสาธารณูปโภค น้ำประปา ไฟฟ้า บริการสัญญาณโทรศัพท์และบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้ บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลา ตามที่กำหนดไว้ (วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566) เช่น ค่าสมาชิกต่างๆ
- ค่าประกันวินาศภัย
🔖 accrevo (ข้อมูล ณ วันที่ 24/11/65)
🔖allwellhealthcare (ข้อมูล ณ วันที่ 28/12/65)
มาตรการช้อปดีมีคืน 2566 สามารถใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ถึง 40,000 บาท (รวม VAT) โดยแบ่งสิทธิ์ลดหย่อนได้ดังนี้
- ซื้อสินค้า-บริการ จำนวนไม่เกิน 30,000 บาทแรก โดยออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ หรือใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร
- ซื้อสินค้า-บริการ อีกจำนวนไม่เกิน 10,000 บาท ใช้ได้เฉพาะใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)ของกรมสรรพากร
🔖 prd (ข้อมูล ณ วันที่ 02/01/66)
🔖 accrevo (ข้อมูล ณ วันที่ 24/11/65)
เนื่องจากมาตรการช้อปดีมีคืน สามารถใช้ได้กับบุคคลที่เสียภาษีเงินได้ท่านั้น โดยจะได้รับการลดหย่อนภาษีจากมาตรการช้อปดีมีคืน ดังนี้
- เงินได้สุทธิ 0-150,000 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษีอยู่แล้ว ไม่ได้ประโยชน์จากโครงการ “ช้อปดีมีคืน”)
- เงินได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท อัตราภาษี 5% ช้อปเต็มจำนวน 40,000 บาท มีสิทธิคืนภาษีสูงสุด 2,000 บาท
- เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท อัตราภาษี 10% ช้อปเต็มจำนวน 40,000 บาท มีสิทธิได้คืนภาษีสูงสุด 4,000 บาท
- เงินได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท อัตราภาษี 15% ช้อปเต็มจำนวน 40,000 บาท มีสิทธิได้คืนภาษีสูงสุด 6,000 บาท
- เงินได้สุทธิ 750,001-1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% ช้อปเต็มจำนวน 40,000 บาท มีสิทธิได้คืนภาษีสูงสุด 8,000 บาท
- เงินได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% ช้อปเต็มจำนวน 40,000 บาท มีสิทธิได้คืนภาษีสูงสุด 10,000 บาท
- เงินได้สุทธิ 2,000,001-5,000,000 บาท อัตราภาษี 30% ช้อปเต็มจำนวน 40,000 บาท มีสิทธิได้คืนภาษีสูงสุด 12,000 บาท
- เงินได้สุทธิตั้งแต่ 5,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35% ช้อปเต็มจำนวน 40,000 บาท มีสิทธิได้คืนภาษีสูงสุด 14,000บาท
จบกันไปแล้วสำหรับมาตรการช้อปดีมีคืน 2566 ซึ่งมาตรการนี้หลัก ๆ แล้วเหมาะกับนักช้อปมนุษย์เงินเดือนทุกคนที่เสียภาษี โดยเฉพาะคนที่มีฐานภาษีสูงและต้องการตัวช่วยในการลดหย่อนภาษี มาตรการช้อปดีมีคืนจึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะได้ช้อปแล้วยังได้ลดหย่อนอีกด้วย และอย่าลืมเงื่อนไขการใช้หลักฐานต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. - 15 ก.พ. 66 เตรียมไว้ให้ครบเก็บไว้ให้ดี เมื่อถึงเวลาลดหย่อนภาษีในช่วง ม.ค.-มี.ค. 67 จะได้จัดหนักจัดเต็มกันจุก ๆ
วางแผนช้อปปิ้งเพื่อลดหย่อนภาษีกันแล้ว เริ่มต้นปีทั้งทีอย่าลืมวางแผนดูแลตัวเองและครอบครัวกันบ้าง เพราะถึงแม้ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต จะไม่สามารถใช้ช้อปดีมีคืนได้ แต่ก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้
- ประกันชีวิตทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันชีวิตบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- ประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี แต่เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพพ่อ-แม่ ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขาธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย