เป็นเบาหวานหรือไม่นั้น แพทย์จะวินิจฉัยได้จากระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากงดอาหาร ถ้าปกติระดับน้ำตาลจะน้อยกว่า 100 มก./ดล. ถ้าอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล. ถือเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงแต่ยังไม่เป็นเบาหวาน หรือเราเรียกภาวะนี้ว่าเป็นเบาหวานแฝง แต่ถ้าเกิน 126 มก./ดล. จะจัดว่าเป็นเบาหวานแล้ว โดยผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีอาการปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน หิวน้ำบ่อย กินจุแต่น้ำหนักลด ผิวแห้ง เมื่อเป็นแผลแล้วหายยาก มีอาการตาพร่ามัว ชาปลายมือปลายเท้า และหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หากใครมีอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาทันที ทั้งนี้ เบาหวานสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ
จริงๆ แล้ว อาหารที่เรากินในชีวิตประจำวันล้วนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตหรือมีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็นข้าว แป้ง น้ำตาล ผัก ผลไม้ นม และผลิตภัณฑ์นม ซึ่งผู้ที่เป็นเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมปริมาณให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยอาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวานนั้นมีจุดประสงค์เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ พร้อมทั้งช่วยป้องกันความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอีกด้วย โดยอาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวานทั้งประเภทที่ 1 และ 2 ควรเลือกกิน มีดังนี้
ถั่ว ธัญพืชที่มีไฟเบอร์สูงและมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันชนิดที่ไม่ดีได้ด้วย
บร็อกโคลี่ เป็นผักชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการอย่างคาร์โบไฮเดรต แมกนีเซียม และวิตามินซี มีการศึกษาพบว่าอาจช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และยังช่วยต้านอนุมูลอิสระในระหว่างกระบวนการเมตาบอลิซึมได้เช่นกัน
สตรอเบอร์รี่ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ไฟเบอร์ วิตามินซี โฟเลต โพแทสเซียม แมงกานีส และสารสีแดงอย่าง แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือด และลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานอย่างโรคหัวใจได้
น้ำมันมะกอก มีกรดโอเลอิก (Oleic Acid) ที่ช่วยปรับปรุงระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์และไขมันชนิดที่ดี และยังมีโพลีฟีนอล (Pholyphenols) สารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ลดระดับไขมันชนิดที่ไม่ดี ลดระดับความดันโลหิต และปกป้องหลอดเลือดจากความเสียหายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
แอปเปิ้ลไซเดอร์ น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลที่อุดมด้วยกรดอะซิติก (Acetic Acid) หรือกรดน้ำส้ม ช่วยปรับปรุงการตอบสนองต่ออินซูลิน และยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือผู้ที่มีความเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม ขนมอบ ของทอด น้ำมันปาล์ม หรืออาหารที่มีไขมันทรานส์สังเคราะห์ เช่น ขนมที่มีมาการีนเป็นส่วนประกอบ รวมถึงลดอาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอล เช่น อาหารประเภทผลิตภัณฑ์จากนม หรือเนื้อสัตว์ที่มีไขมันและโปรตีนสูงอย่างเครื่องในสัตว์ ไข่แดง และควรลดโซเดียมลงเพื่อควบคุมปริมาณของเหลวในร่างกาย ลดการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง เลือดข้น รวมทั้งหัวใจและไตทำงานหนัก โดยอาหารดังกล่าวจะทำให้เสี่ยงเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ลิ่มเลือดอุดตัน หรือภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้
โรคเบาหวาน ภัยเงียบที่คนไทยป่วยเป็นอันดับต้นๆ การเลือกกินอาหารต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ ต้องเน้นแต่สารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และควรเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วย หากยังกังวลว่าการดูแลสุขภาพและการควบคุมอาหารยังไม่ดีพอ ลองเพิ่มความคุ้มครองสุขภาพ Super Health ที่คุ้มครองครอบคลุม ทั้งโรคร้ายทุกระยะ โรคทั่วไป รวมถึงโรคระบาด สมัครได้ตั้งแต่อายุ 11 - 80 ปี ดูแลต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี เข้าถึงการรักษาได้อย่างสบายใจเลือกความคุ้มครองได้ตามที่คุณต้องการ
หมายเหตุ
ข้อมูลจาก: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , โรงพยาบาลกรุงเทพ, Pobpad