4 Common Illnesses that Pose a Risk to Teachers
16 มกราคมของทุกปี เป็นวันที่ตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณครู ผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่พวกเรา อาชีพครูต้องใช้ทั้งแรงกายและแรงใจในการทำหน้าที่ที่มาพร้อมความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งนั่นอาจบั่นทอนต่อสุขภาพหากไม่หมั่นดูแลร่างกายให้ดี ดังนั้นวันนี้เนื่องในโอกาสวันครู เรามีคำแนะนำดี ๆ มาบอกคุณครูทุกคนถึงโรคใกล้ตัวที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ในอนาคต
กล่องเสียงอักเสบ
กล่องเสียงอักเสบ อาชีพที่ต้องใช้เสียงในการสอนบรรยาย ตะโกน พูดทั้งวัน เป็นเวลานาน มีความเสี่ยงเกิดกล่องเสียงอักเสบได้จากการติดเชื้อ ไวรัส แบคทีเรีย วัณโรค เป็นต้น หากไม่รีบทำการรักษาอย่างถูกวิธีจะมีอาการรุนแรงและลุกลามไปยังระบบทางเดินหายใจส่วนอื่นได้ นำไปสู่ภาวะเส้นเสียงเป็นอัมพาต หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ
การรักษากล่องเสียงอักเสบต้องอาศัยทั้งการรับประทานยาแก้อักเสบตามที่แพทย์สั่งและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่กัน ได้แก่ พักการใช้เสียง พูดให้น้อย ไม่ตะโกน อยู่ในสถานที่ที่รักษาความสะอาด เลี่ยงควันต่าง ๆ และมลภาวะในอากาศ
ออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม ครู อาจารย์ หนึ่งในอาชีพที่ต้องใช้แรงกายในการสอนหนังสือมากพอสมควร หากต้องยืนอยู่หน้ากระดานเป็นเวลานาน ๆ หรือนั่งสอนออนไลน์หน้าคอมพ์ตลอดวันอย่างในยุคโควิด 19 แบบนี้ ยิ่งทำให้เสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้มากขึ้น โดยอาการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือ ปวดเป็นวงกว้างตามบริเวณ คอ บ่า ไหล่ และสะบัก หมุนคอและเอียงคอไม่ได้ บางรายหากระบบประสาทถูกกดทับจะปวดร้าวชาไปที่แขนและมือร่วมด้วย หรือมีอาการอ่อนแรง
การรักษามีหลายวิธี อาทิทั้งการรักษาด้วยยา ปรับเปลี่ยนอิริยาบถการทำงาน กายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อ หรือรักษาด้วยทางเลือกอื่น ๆ เช่น ฝังเข็ม หรือนวดแผนไทย เป็นต้น
โรคอ้วน
โรคอ้วน เนื่องด้วยอาชีพที่ต้องสอนหนังสือและทำหน้าที่บริหารไปพร้อม ๆ กัน จนไม่ค่อยมีเวลาใส่ใจสุขภาพและออกกำลังกาย ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน เช่น เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก นอนกรน ปวดข้อ ปวดหลัง ไขมันในเลือดสูง หอบหืด โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไปจนถึงมะเร็งลำไส้ และโรคร้ายแรงอื่น ๆ ที่คาดไม่ถึง
การรักษาเพื่อลดความเสี่ยง ควบคุมน้ำหนักร่วมกับการออกกำลังกาย ลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใย ผักใบเขียวและผลไม้ ดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
โรคโลหิตจางและมะเร็ง
โรคโลหิตจางและมะเร็ง อาชีพครู อาจารย์ เป็นอาชีพที่ต้องใช้ชอล์กและปากกาไวท์บอร์ดในการสอนหนังสือ โดยเฉพาะในห้องเรียนที่ระบบระบายอากาศไม่ดี ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะในปากกาไวท์บอร์ดมีสารอินทรีย์ระเหย หากสูดดมเป็นเวลานานจะส่งผลให้ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง ไขกระดูกไม่ทำงานจนอาจถึงขั้นเป็นมะเร็งไขกระดูกได้
ส่วนผงชอล์กมีส่วนประกอบจากแคลเซียมและหินปูน การสูดดมในระยะยาวจะทำให้มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง หลอดลมอักเสบ
วิธีการแก้ไข คือ สวมใส่หน้ากากป้องกันและพยายามอย่าให้ผงชอล์กฟุ้งกระจาย เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรค
ครู อาจารย์ อีกหนึ่งอาชีพที่ควรได้รับการยกย่องเพราะเสียสละทั้งเวลาและสุขภาพ แต่ต้องอย่าลืมหมั่นดูแลสุขภาพเป็นสำคัญ หาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารมีประโยชน์ และมองหาประกันสุขภาพที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษา ที่สามารถอัปเกรดวงเงินจากสวัสดิการสุขภาพที่มีอยู่ ด้วยความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ (D Health) ที่ช่วยดูแลค่ารักษาแอดมิทก็เหมาจ่ายในวงเงินเดียว 1-5 ล้านบาท ต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง รวมค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน ค่าหมอ ค่ายา ค่าผ่าตัด ดูแลค่ารักษายามเจ็บป่วย ทั้งจาก โควิด 19 โรคระบาด โรคทั่วไป หรือโรคร้ายแรง สมัครได้ถึงอายุ 80 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี ให้คุณได้สบายใจ คลายกังวล กับความคุ้มครองที่ครอบคลุมและตอบโจทย์ได้ทุกความต้องการ
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 65 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง มีค่าเสียหายส่วนแรก 30,000 บาท และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร 1766
☑️ ติดต่อสาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- การปรับลดระยะเวลารอคอย (waiting period) เหลือ 14 วัน สำหรับการติดเชื้อโรคโควิด 19 เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยเริ่มตั้งแต่ 28 พ.ค. 2564- 31 ม.ค. 2565
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 10/01/65
🔖 Thairath (ข้อมูล ณ วันที่ 15/01/56)
🔖 โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์ (ข้อมูล ณ วันที่ 07/12/64)
🔖 Mgronline (ข้อมูล ณ วันที่ 17/01/51)