Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

อยากจำกลับลืม เสี่ยงโรคสมองเสื่อม Thumbnail1200 X600

Wanting to remember but risking Alzheimer's disease.

May 26, 2022

5 minutes

หลายคนคงเคยมีอาการ อยากจำกลับลืมกันบ่อย ๆ ไม่ว่าจะอดีตที่ผ่านมานาน หรือแค่เมื่อวานกินข้าวกับอะไร ก็ยังนึกแล้วนึกอีก ซึ่งอาการแบบนี้อาจดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในความธรรมดานั้นอาจไม่ใช่อาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เป็นอาการที่เกิดจากโรคสมองเสื่อม ซึ่งส่งผลกระทบต่อตัวเอง คนรอบข้าง รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน


โรคสมองเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดในผู้สูงอายุ ซึ่งโรคนี้จะทำให้เรามีปัญหาด้านความจำ การตัดสินใจ รวมถึงปัญหาด้านพฤติกรรม ดังนั้นใครที่มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ กันอยู่บ่อย ๆ วันนี้ลองมาทำความรู้จักกับโรคสมองเสื่อมกันสักนิด ว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร อาการแบบไหนที่เป็นสัญญาณเตือนของโรค รวมไปถึงวิธีป้องกันดูแลตัวเองไม่ให้เสี่ยงกับโรคสมองเสื่อมกัน


อยากจำกลับลืม เสี่ยงโรคสมองเสื่อม Blog1


ทำความรู้จักกับ “โรคสมองเสื่อม”


ใครที่เริ่มมีอาการหลงลืมในชีวิตประจำวัน หรือสับสนเวลาสถานที่ ลองเช็กตัวเองกันหน่อย เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้นของโรคสมองเสื่อม ซึ่งประเทศไทยป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นปีละ 10% โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่ไม่ได้ทำงานหรือออกกำลังกาย จะมีโอกาสเกิดภาวะโรคสมองเสื่อม 9 ใน 10 คน


โรคสมองเสื่อมเป็นการทำงานที่ผิดปกติของสมองในด้านความจำ ความคิด การใช้เหตุผล การใช้ภาษา และการรับรู้สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดปัญหาทางความคิด การตัดสินใจ พฤติกรรม และ อารมณ์ที่ผิดปกติไป มีผลต่อการใช้ชีวิตหรือการทำกิจวัตรประจำวัน ภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อย มี 2 ชนิด คือ


โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากความเสื่อมของสมองโดยตรง หรือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)


  • เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โดยการดำเนินของโรคจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ช่วงแรกผู้ป่วยจะมีสมองฝ่อลงโดยเฉพาะสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ มีผลต่อความคิด การพูดสื่อสาร ตลอดจนมีปัญหาพฤติกรรมตามมาได้ แต่หากพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการจะช่วยชะลออาการของโรคได้


โรคสมองเสื่อมจากเส้นเลือดในสมองผิดปกติ (vascular neurocognitive disorder)


  • อายุที่มากขึ้น อาจส่งผลให้มีโรคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เส้นเลือดเล็ก ๆ ในสมองแตกหรือตีบตัน มีผลต่อเนื้อสมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้สมองส่วนความคิด ความจำ การรับรู้เสียไปด้วยได้


🔖 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

🔖 thansettakij (ข้อมูล ณ วันที่ 16/05/65)


อยากจำกลับลืม เสี่ยงโรคสมองเสื่อม Blog2


ใครเป็นได้บ้าง ?


โรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่มักจะพบในผู้สูงวัยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป แต่การศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่า โรคสมองเสื่อมนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนตั้งแต่อายุระหว่าง 30-65 ปี ได้เช่นกัน เรียกว่าภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มคนอายุน้อย (Dementia in young age) ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีเพิ่มมากขึ้นถึง 6.9 % ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั้งหมด โดยเป็นกลุ่มคนวัยทำงาน ซึ่งอาการระยะแรกอาจถูกมองว่าเกิดจากความเครียด หลงลืมเป็นเรื่องปกติ ซึ่งพอปล่อยไว้นาน อาจทำให้พัฒนาเป็นโรคสมองเสื่อมได้


โรคสมองเสื่อมอาการจะเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ในตอนแรก จึงทำให้คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะไม่รู้ตัวเลยว่าตัวเองกำลังป่วย และจะมีอาการมากที่สุดในช่วงอายุประมาณ 84 ปี หลังจากนั้นอาการจะลดลงในระยะสุดท้ายช่วงอายุประมาณ 85-99 ปี


🔖 thansettakij (ข้อมูล ณ วันที่ 16/05/65)

🔖 medicallinelab


อยากจำกลับลืม เสี่ยงโรคสมองเสื่อม Blog3


อาการของโรคสมองเสื่อม


อาการของโรคสมองเสื่อมสามารถแบ่งออกเป็นได้ 3 ระยะดังนี้


ระยะที่ 1

  • อาการสำคัญของคนที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมคือ จะมีการการสูญเสียความจำระยะสั้น ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำเรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายกิจกรรมที่เคยทำแต่วันนี้กลับทำไม่ได้


ระยะที่ 2

  • เริ่มสูญเสียความสามารถทำกิจกรรมที่ทำได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ เช่น การเข้าห้องน้ำ กินข้าว ความจำแย่ลง พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น จากที่เป็นคนใจเย็นก็กลายเป็นหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย เป็นต้น


ระยะที่ 3

  • ถือว่าเป็นระยะรุนแรง ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลง กินอาหารได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด เนื่องจากกลั้นไม่อยู่ และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องพึ่งพาผู้อื่นในเรื่องง่าย ๆ เช่น ป้อนข้าว อาบน้ำ สุดท้ายอาจจำใครไม่ได้แม้แต่ตัวเอง รวมทั้งภูมิคุ้มกันอ่อนแอเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อน ภาวะการติดเชื้อที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้


🔖 thansettakij (ข้อมูล ณ วันที่ 16/05/65)

🔖 โรงพยาบาลนครธน


อยากจำกลับลืม เสี่ยงโรคสมองเสื่อม Blog4


สัญญาณเตือน โรคสมองเสื่อม


จะทำอะไรก็นึกไม่ออก วางของไว้ตรงไหนก็ลืมทุกที สัญญาณเตือนแบบนี้อาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อม แต่ความแตกต่างระหว่างหลงลืมตามวัยกับโรคสมองเสื่อมก็มีข้อแตกต่างกัน เช่น หากเป็นการหลงลืมตามวัยแบบทั่วไป อาจมีการคิดช้า ใช้เวลาในการนึก ตัดสินใจแย่ลง อาจจะเริ่มมีหลงลืม เช่น หากุญแจไม่เจอ จำที่จอดรถไม่ได้ หรืออาจจะนึกชื่อเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนาน ๆ ไม่ออก แต่เมื่อมีการบอกใบ้ ก็จะสามารถดึงข้อมูลนั้นออกมาได้ ที่สำคัญ คือ ยังช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันได้


แต่ถ้าอาการหลงลืมแบบโรคสมองเสื่อม มักจะจำไม่ได้เลยว่ามีเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น ลืมแล้วลืมเลย ลืมแม้กระทั่งทักษาการใช้เครื่องมือในชีวิตประจำวัน หรืออาจจะถึงกับลืมชื่อคนในครอบครัว ดังนั้นลองมาเช็กลิสต์ความเสี่ยงกันหน่อย ว่าอาการหลงลืมแบบไหนที่กำลังเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อม


  • มีอาการหลงลืม เช่น จำเหตุการณ์หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้ ลืมสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ลืมวันสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญที่ผ่านมา
  • สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ฤดูกาล กลับบ้านไม่ถูก
  • จำคนสนิทหรือสมาชิกในครอบครัวไม่ได้
  • มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร หรือเรียกสิ่งของไม่ถูก พูดคำหรือประโยคซ้ำๆ
  • ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ เช่น กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก
  • มีพฤติกรรมที่ผิดแปลกออกไป เช่น ร้องไห้ไม่มีเหตุผล
  • ไม่สนใจดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น แปรงฟันไม่เป็น อาบน้ำไม่เป็น


🔖 โรงพยาบาลนครธน


อยากจำกลับลืม เสี่ยงโรคสมองเสื่อม Blog5


สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง โรคสมองเสื่อม


สาเหตุสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดโรคสมองเสื่อม อันดับแรกมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าหลังอายุ 65 ปี ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มเป็น 2 เท่าในทุก ๆ 5 ปี ที่อายุมากขึ้น อันดับสองกิจกรรมทางกายภาพที่ไม่ได้ทำงาน ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายไม่เพียงพอ และอันดับสาม โรคเบาหวาน ซึ่งงานวิจัยทั่วโลก ระบุว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมมากกว่าคนทั่วไป 2 เท่า ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ มีดังนี้


  • ภาวะเส้นเลือดสมองตีบ ซึ่งมักพบในผู้ป่วยอายุน้อยที่มีภาวะเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ทำให้เส้นเลือดฝอยในสมองตีบ ส่งผลให้เซลล์สมองตาย
  • ฮอร์โมนผิดปกติ โดยเฉพาะฮอร์โมนไทรอยด์ที่มีระดับต่ำกว่าปกติ
  • ร่างกายขาดวิตามินบี 12 หากขาดเป็นเวลานานอาจส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อม
  • พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคสมองเสื่อม ทำให้มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
  • มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวานไขมันในเลือดสูง โรคตับ ไต เรื้อรัง
  • การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จัด
  • การได้รับสารพิษ จากสิ่งแวดล้อม สารเสพติด
  • โรคต่อมไทรอยด์ หรือ พาราไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
  • เกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคเอดส์ ซิฟิลิส
  • ได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองจากอุบัติเหตุหรือจากอาชีพ
  • การขาดสารอาหาร เช่น วิตามินบี 12
  • การเป็นโรคโพรงน้ำในสมองโต หรือการมีเนื้องอกสมอง
  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ในชีวิตประจำวันไม่ได้มีการใช้ความคิด หรือกิจกรรมกระตุ้นความจำ


🔖 thansettakij (ข้อมูล ณ วันที่ 16/05/65)

🔖 โรงพยาบาลพญาไท (ข้อมูล ณ วันที่ 27/03/63)

🔖 โรงพยาบาลสมิติเวช (ข้อมูล ณ วันที่ 17/04/62)

🔖 โรงพยาบาลจุฬาภรณ์


อยากจำกลับลืม เสี่ยงโรคสมองเสื่อม Blog6


วิธีลดความเสี่ยง โรคสมองเสื่อม


การป้องกันโรคสมองเสื่อมจะเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคได้ดังนี้


  • กินอาการให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง
  • รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่
  • หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะและสมอง
  • ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจติดตามโรคประจำตัวที่เป็นอยู่เสมอ
  • ฝึกฝนสมองบ่อย ๆ เช่น คิดเลข อ่านหนังสือ เล่นเกม
  • ฝึกการใช้อุปกรณ์ใหม่ ๆ เช่น Gadget มือถือ
  • มีการการพบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อย ๆ การมีความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยง เข้าชมรมผู้สูงอายุ


ซึ่งวิธีที่กล่าวไปนี้ นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมแล้วยังช่วยให้ผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขมากขึ้นด้วย


🔖 thansettakij (ข้อมูล ณ วันที่ 16/05/65)

🔖 โรงพยาบาลจุฬาภรณ์


เมื่อทราบกันแล้วว่าโรคสมองเสื่อมมีอาการและการป้องกันอย่างไร ดังนั้นทุกคนควรหมั่นเช็กตัวเองและผู้สูงอายุในครอบครัวให้ดี หากมีอาการที่เข้าข่ายจากที่กล่าวไป ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย เพราะการแก้ไขที่รวดเร็วจะให้อาการโรคสมองเสื่อมดีขึ้นได้


เห็นถึงความเสี่ยงของโรคแล้วไม่ว่าจะวัยไหนก็สามารถเจ็บป่วยได้ ดังนั้นควรเริ่มดูแลสุขภาพตัวเอง รวมไปถึงการตรวจเช็กสุขภาพเป็นประจำทุกปี หรือสามารถเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจด้วยการซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่ตอนที่เรายังแข็งแรง มีสุขภาพดี หากมีแล้วจะช่วยเพิ่มความอุ่นใจมากยิ่งขึ้น


พลัสความคุ้มครองสุขภาพอย่างเหนือระดับ และเลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต Elite Health Plus เหมาจ่ายตามจริง 20 - 100 ล้านบาทต่อปี +เข้ารักษาได้ทุก รพ. ทั่วไทยหรือหรือทั่วทุกมุมโลก(1) คุ้มครองทั้งโรคอุบัติใหม่ โรคระบาด โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี ดูแลสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี คุ้มครองครบทั้ง IPD และ OPD(2) เบี้ยวันละไม่ถึง 94 บาท(3)


✔ คุ้มครองค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน แบบเหมาจ่ายตามจริง หรือ ห้องเดี่ยวพิเศษก็คุ้มครอง 10,000 - 25,000 บาทต่อวัน
✔ คุ้มครองค่าห้อง ICU แบบจ่ายตามจริง รวมสูงสุด 365 วัน
✔ ครอบคลุมการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งแบบเคมีบำบัดและแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) การวินิจฉัยแบบ MRI และการฟอกไตโดยไม่ต้องแอดมิท
✔ เข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาล
✔ เลือกซื้อเพิ่มได้ ความคุ้มครองคลอดบุตร หรือ แพ็กตรวจสุขภาพประจำปี ทันตกรรม ฉีดวัคซีน และค่ารักษาทางสายตา ได้ตามใจ


ซื้อวันนี้! ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% สูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13% กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ


รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก  

☑️ โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


(1) กรณีเลือกพื้นที่ความคุ้มครองทั่วโลก
(2) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท
(3) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 34 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

  • สัญญาเพิ่มเติมประกันภัยแบบ อีลิท เฮทล์ พลัส ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • ค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน หมายถึง ค่าห้องพักเดี่ยวมาตรฐานของโรงพยาบาลในประเทศไทย
  • เงื่อนไขเป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามประกาศ ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 และ แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม 2565 หรืออ้างอิงตามประกาศฉบับล่าสุด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

Interested In

I agree that Muang Thai Life Assurance PCL. Collect and use my personal information above to contact me to offer products and services at I am interested or the company saw that it was beneficial to I have by me to equate the mark In the square is an indication of intent. instead of my consent Signing as evidence. I have read and acknowledged the Privacy Policy.

บทความน่าสนใจ