Sky-High Medical Bills! Chronic Diseases in the Elderly
ผู้สูงอายุ อย่าวางใจ ว่าเราวางแผนชีวิตมาดีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน หรือ สุขภาพ เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้หากเจ็บป่วยหรือไม่สบาย โดยเฉพาะ โรคเรื้อรัง ตัวร้าย อาทิ โรคไต โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ที่นอกเหนือจาก ค่ารักษา แสนแพงแล้ว ยังมีค่าห้อง ค่าหมอ ค่ายา ค่าอาหาร และค่าบริการอื่น ๆ ที่คุณคาดไม่ถึง ตามมาให้เจ็บปวดไม่ต่างไปจากอาการป่วย
ดังนั้นวันนี้เรามาเปิดบิลค่ารักษาเบื้องต้นของ โรคเรื้อรัง เหล่านี้กันก่อน เพื่อที่จะได้วางแผนเตรียมความพร้อมให้กับชีวิตและ สุขภาพ หากวันหนึ่งโชคชะตานำพาให้โรคไม่น่ารักเหล่านี้มาให้คุณในช่วง เกษียณ
โรคไต
หากป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง และไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้คุณเป็นภาวะไตวายและไตไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป ต้องได้รับการรักษาและค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย
ข้อมูลจาก ศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลวิภาวดี
- ค่าฟอกเลือด ครั้งแรก ครั้งละ 3,400 บาท (รวมค่าแพทย์) (คิดค่าเปิดใช้ตัวกรองครั้งแรก 1,200 บาท)
- ค่าฟอกเลือด ครั้งต่อไป ครั้งละ 2,200 บาท
- ค่าฟอกเลือด (ICU) ครั้งละ 4,700 บาท
ลองคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ หากคุณต้องฟอกเลือดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2,200 บาท ต้องจ่ายเดือนละ 8,800 บาท หรือในกรณีที่ต้องฟอกเลือดสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2,200 บาท คุณต้องจ่ายเดือนละ 26,400 บาท
หมายเหตุ : ราคานี้ไม่รวมค่ายา และค่าตรวจรักษาเพิ่มเติม
โรคมะเร็ง
1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง เกิดจากมีพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงพันธุกรรมที่อาจส่งผลให้คุณมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้เช่นกัน ซึ่งนี่คือค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ที่คุณต้องเตรียมพร้อมและวางแผนให้ดี เพราะโรคมะเร็งอาจมีอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงและมีความซับซ้อนในการรักษาของแต่ละวิธี ทำให้มะเร็งมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
ข้อมูลจาก สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- มะเร็งเต้านม ค่ารักษาโดยประมาณ 69,300 บาท
- มะเร็งปอด ค่ารักษาโดยประมาณ 141,100 บาท
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ ค่ารักษาโดยประมาณ 103,000 บาท
- มะเร็งต่อมลูกหมาก ค่ารักษาโดยประมาณ 184,400 บาท
- มะเร็งปากมดลูก ค่ารักษาโดยประมาณ 144,400 บาท
- มะเร็งหลอดอาหาร ค่ารักษาโดยประมาณ 150,800 บาท
หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นผลมาจากประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินลดลง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเบาหวานนั้นไม่สูงมาก แต่ถ้าเป็นก็ไม่ดีแน่นอน
ข้อมูลจาก สสส.
- ค่ารักษาโดยประมาณ 28,200 บาทต่อคนต่อปี หรือเฉลี่ยเดือนละประมาณ 2,350 บาท
อย่างที่กล่าวไปที่น่ากังวลมากกว่านั้น คือภาวะแทรกซ้อนที่มักพบในผู้ป่วยซึ่งการควบคุมเบาหวานไม่ดี อาจมีการติดเชื้อแทรกเป็นตัวกระตุ้น และเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือเป็นแผลที่เท้าแล้วสูญเสียประสาทการรับรู้ที่เท้า จนต้องตัดขาทิ้ง
หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง
โรคหัวใจ
โรคหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่มีค่ารักษาสูงมาก ซึ่ง สถาบันโรคทรวงอก กำหนดค่ารักษาโดยประมาณไว้ดังนี้
- การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด ค่ารักษาโดยประมาณ 43,000 – 275,000 บาท
- การทำบอลลูน ค่ารักษาโดยประมาณ 76,000 – 139,000 บาท
- ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ค่ารักษาโดยประมาณ 124,000 - 503,000 บาท
- ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ค่ารักษาโดยประมาณ 18,000 – 436,000 บาท
หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง
นอนโรงพยาบาล ค่าห้องประมาณเท่าไร?
นอกจากอาการเจ็บป่วยที่ต้องรักษา หากจำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายจะไม่ได้หยุดเท่านั้น เพราะต้องจ่ายค่าห้อง โดยค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ประมาณได้ดังนี้
ห้องเดี่ยวมาตราฐาน
- โรงพยาบาลรัฐ เริ่มต้นประมาณ 1,500 บาท
- โรงพยาบาลเอกชน เริ่มต้นประมาณ 2,430 บาท
ห้อง ไอ.ซี.ยู
- โรงพยาบาลรัฐ เริ่มต้นประมาณ 600 บาท
- โรงพยาบาลเอกชน เริ่มต้นประมาณ 3,250 บาท
ตรวจสอบข้อมูลค่าห้องพักโรงพยาบาลทั่วประเทศ
หากคุณไม่อยากเสี่ยงเป็นหนึ่งใน โรคเรื้อรัง เหล่านี้ที่บอกเลยว่า ค่ารักษา แรงมากกกกก ดังนั้นก็ควรหมั่นดูแลสุขภาพให้ดี ตรวจสุขภาพเป็นประจำ และรู้จักวางแผนชีวิตและสุขภาพตั้งแต่วันนี้ พร้อมเพิ่มความอุ่นใจให้กับการใช้ชีวิตที่เหมาะสำหรับทุกเจเนเรชัน ด้วยแผนความคุ้มครองสุขภาพที่ครอบคลุม คุ้มครองทั้งโรคระบาด โรคร้ายแรง โรคทั่วไป โรคโควิด 19 การแพ้วัคซีนโควิด 19 และอุบัติเหตุ เหมาจ่ายค่ารักษาตามจริง หากเจ็บป่วยขึ้นมา ก็สามารถเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลชั้นนำได้ เลือกวงเงินความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 200,000 – 100,000,000 บาท ต้องการแบบไหนก็เลือกได้ ดูแลสุขภาพยาว ๆ สมัครได้ตั้งแต่อายุ 11 – 80 ปี จนถึงอายุ 99 ปี*
เลือกประกันสุขภาพแบบที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ โทร. 1766
*สำหรับความคุ้มครองสุขภาพ อีลิท เฮลท์ และ ดีเฮลท์
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ใหม่เท่านั้น
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- ความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติมเนื่องจากผลกระทบหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิค 19 เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด รับความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 11 พ.ค.- 31 ธ.ค 2564
- การปรับลดระยะเวลารอคอย (Waiting Period) เหลือ 14 วัน สำหรับการติดเชื้อโรคโควิด 19 เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยเริ่มตั้งแต่ 28 พ.ค. - 31 ธ.ค. 2564
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 2/08/64
🔖 โรงพยาบาลวิภาวดี (ข้อมูล ณ วันที่ 01/11/58)
🔖 มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ (ข้อมูล ณ วันที่ 19/06/61)
🔖 สสส. (ข้อมูล ณ วันที่ 21/12/59)