เปิดบิลค่ารักษาสูงปรี๊ด ! โรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ อย่าวางใจ ว่าเราวางแผนชีวิตมาดีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน หรือ สุขภาพ เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้หากเจ็บป่วยหรือไม่สบาย โดยเฉพาะ โรคเรื้อรัง ตัวร้าย อาทิ โรคไต โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ที่นอกเหนือจาก ค่ารักษา แสนแพงแล้ว ยังมีค่าห้อง ค่าหมอ ค่ายา ค่าอาหาร และค่าบริการอื่น ๆ ที่คุณคาดไม่ถึง ตามมาให้เจ็บปวดไม่ต่างไปจากอาการป่วย
ดังนั้นวันนี้เรามาเปิดบิลค่ารักษาเบื้องต้นของ โรคเรื้อรัง เหล่านี้กันก่อน เพื่อที่จะได้วางแผนเตรียมความพร้อมให้กับชีวิตและ สุขภาพ หากวันหนึ่งโชคชะตานำพาให้โรคไม่น่ารักเหล่านี้มาให้คุณในช่วง เกษียณ
โรคไต
หากป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง และไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้คุณเป็นภาวะไตวายและไตไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป ต้องได้รับการรักษาและค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย
ข้อมูลจาก ศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลวิภาวดี
- ค่าฟอกเลือด ครั้งแรก ครั้งละ 3,400 บาท (รวมค่าแพทย์) (คิดค่าเปิดใช้ตัวกรองครั้งแรก 1,200 บาท)
- ค่าฟอกเลือด ครั้งต่อไป ครั้งละ 2,200 บาท
- ค่าฟอกเลือด (ICU) ครั้งละ 4,700 บาท
ลองคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ หากคุณต้องฟอกเลือดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2,200 บาท ต้องจ่ายเดือนละ 8,800 บาท หรือในกรณีที่ต้องฟอกเลือดสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2,200 บาท คุณต้องจ่ายเดือนละ 26,400 บาท
หมายเหตุ : ราคานี้ไม่รวมค่ายา และค่าตรวจรักษาเพิ่มเติม
โรคมะเร็ง
1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง เกิดจากมีพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงพันธุกรรมที่อาจส่งผลให้คุณมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้เช่นกัน ซึ่งนี่คือค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ที่คุณต้องเตรียมพร้อมและวางแผนให้ดี เพราะโรคมะเร็งอาจมีอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงและมีความซับซ้อนในการรักษาของแต่ละวิธี ทำให้มะเร็งมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
ข้อมูลจาก สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- มะเร็งเต้านม ค่ารักษาโดยประมาณ 69,300 บาท
- มะเร็งปอด ค่ารักษาโดยประมาณ 141,100 บาท
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ ค่ารักษาโดยประมาณ 103,000 บาท
- มะเร็งต่อมลูกหมาก ค่ารักษาโดยประมาณ 184,400 บาท
- มะเร็งปากมดลูก ค่ารักษาโดยประมาณ 144,400 บาท
- มะเร็งหลอดอาหาร ค่ารักษาโดยประมาณ 150,800 บาท
หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นผลมาจากประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินลดลง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเบาหวานนั้นไม่สูงมาก แต่ถ้าเป็นก็ไม่ดีแน่นอน
ข้อมูลจาก สสส.
- ค่ารักษาโดยประมาณ 28,200 บาทต่อคนต่อปี หรือเฉลี่ยเดือนละประมาณ 2,350 บาท
อย่างที่กล่าวไปที่น่ากังวลมากกว่านั้น คือภาวะแทรกซ้อนที่มักพบในผู้ป่วยซึ่งการควบคุมเบาหวานไม่ดี อาจมีการติดเชื้อแทรกเป็นตัวกระตุ้น และเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือเป็นแผลที่เท้าแล้วสูญเสียประสาทการรับรู้ที่เท้า จนต้องตัดขาทิ้ง
หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง
โรคหัวใจ
โรคหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่มีค่ารักษาสูงมาก ซึ่ง สถาบันโรคทรวงอก กำหนดค่ารักษาโดยประมาณไว้ดังนี้
- การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด ค่ารักษาโดยประมาณ 43,000 – 275,000 บาท
- การทำบอลลูน ค่ารักษาโดยประมาณ 76,000 – 139,000 บาท
- ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ค่ารักษาโดยประมาณ 124,000 - 503,000 บาท
- ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ค่ารักษาโดยประมาณ 18,000 – 436,000 บาท
หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง
นอนโรงพยาบาล ค่าห้องประมาณเท่าไร?
นอกจากอาการเจ็บป่วยที่ต้องรักษา หากจำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายจะไม่ได้หยุดเท่านั้น เพราะต้องจ่ายค่าห้อง โดยค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ประมาณได้ดังนี้
ห้องเดี่ยวมาตราฐาน
- โรงพยาบาลรัฐ เริ่มต้นประมาณ 1,500 บาท
- โรงพยาบาลเอกชน เริ่มต้นประมาณ 2,430 บาท
ห้อง ไอ.ซี.ยู
- โรงพยาบาลรัฐ เริ่มต้นประมาณ 600 บาท
- โรงพยาบาลเอกชน เริ่มต้นประมาณ 3,250 บาท
ตรวจสอบข้อมูลค่าห้องพักโรงพยาบาลทั่วประเทศ
หากคุณไม่อยากเสี่ยงเป็นหนึ่งใน โรคเรื้อรัง เหล่านี้ที่บอกเลยว่า ค่ารักษา แรงมากกกกก ดังนั้นก็ควรหมั่นดูแลสุขภาพให้ดี ตรวจสุขภาพเป็นประจำ และรู้จักวางแผนชีวิตและสุขภาพตั้งแต่วันนี้ พร้อมเพิ่มความอุ่นใจให้กับการใช้ชีวิตที่เหมาะสำหรับทุกเจเนเรชัน ด้วยแผนความคุ้มครองสุขภาพที่ครอบคลุม คุ้มครองทั้งโรคระบาด โรคร้ายแรง โรคทั่วไป โรคโควิด 19 การแพ้วัคซีนโควิด 19 และอุบัติเหตุ เหมาจ่ายค่ารักษาตามจริง หากเจ็บป่วยขึ้นมา ก็สามารถเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลชั้นนำได้ เลือกวงเงินความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 200,000 – 100,000,000 บาท
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 2/08/64
🔖 โรงพยาบาลวิภาวดี (ข้อมูล ณ วันที่ 01/11/58)
🔖 มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ (ข้อมูล ณ วันที่ 19/06/61)
🔖 สสส. (ข้อมูล ณ วันที่ 21/12/59)