Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

Content Desktop 1440 X390 5

5 โรคร้ายที่พบมากในผู้สูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้นอยากวางแผนทำประกันชีวิตและสุขภาพ เพราะร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมสภาพลง ทำให้ผู้สูงอายุกังวลใจกับโรคภัยที่อาจแฝงมากับวัยที่เปลี่ยนไป เพราะปัญหาสุขภาพนอกจากทำให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายแบบเรื้อรังแล้ว ยังส่งผลไปถึงช่วงเวลาการรักษาที่ต้องมีค่าใช้จ่ายตามมาจนอาจทำให้เงินเก็บสะสมเพื่อใช้ชีวิตหลังเกษียณหมดไปได้


Article 600 X600 5  1


ไม่ว่าจะดูแลตัวเองดีแค่ไหน ปัญหาสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บของคนวัยนี้ก็เป็นเรื่องที่ห้ามยากอยู่ดี ดังนั้นการเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะเมื่ออายุย่างเข้าเลข 5 จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเมื่อเจ็บป่วยขึ้นมาแล้วอาจสายเกินไป ลองมาเช็กกันว่ามีโรคร้ายอะไรบ้างที่พบมากในผู้สูงอายุ เมืองไทยประกันชีวิตรวบรวมข้อมูลมาไว้แล้ว


Article 600 X600 5  2


1.โรคหลอดเลือดหัวใจ


แน่นอนว่าโรคหลอดเลือดหัวใจต้องติดอันดับเพราะเป็นโรคที่คนไทยป่วยมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง และพบมากในกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่สำคัญมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นจะพบว่าหลอดเลือดหัวใจจะเสื่อมสภาพ จากการที่มีคอเลสเตอรอลสะสมเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบแคบ หรืออุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้


อาการโรคหลอดเลือดหัวใจ

  • เจ็บเค้นอก มีอาการเจ็บหนักๆ เหมือนมีอะไรมาทับหรือรัดบริเวณกลางหน้าอกหรือใต้กระดูกกลางหน้าอก
  • เหนื่อยง่ายขณะออกแรงหรือออกกำลังกายที่เกิดขึ้นเฉียบพลันภายใน 1–2 สัปดาห์ หรือเรื้อรังเกินกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป
  • มีอาการเหนื่อย หายใจหอบนอนราบไม่ได้ แน่นอึดอัด หายใจเข้าไม่เต็มปอด อาการอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือเป็นๆ หายๆ
  • หน้ามืดเวียนศีรษะ เป็นลม ร่วมกับอาการแน่นหน้าอก ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากมีความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน
  • หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น


โรคหลอดเลือดหัวใจต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เนื่องจากไม่มียารักษาให้หายขาด และต้องกินยาควบคุมอาการไปตลอดชีวิต ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง


Article 600 X600 5  3


2. โรคหลอดเลือดสมอง


ในส่วนของโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ที่หลายคนรู้จักนั้น ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตและพิการกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือดแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) และ หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke)


อาการโรคหลอดเลือดสมอง

  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด
  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก


ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรืออาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้


Article 600 X600 5  4


3. โรคเบาหวาน


ขาดไม่ได้เลยสำหรับโรคเบาหวานที่เราต่างคุ้นชินจากผู้สูงอายุที่บ้านหรือคนรอบข้างที่ป่วยกันมาก ซึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน ส่งผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โรคเบาหวานแบ่งเป็น 4 ชนิด ตามสาเหตุของการเกิดโรค


  1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus, T1DM) เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก
  2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus, T1DM) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนร่วมด้วย
  3. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus, GDM) เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดเมื่อไตรมาส 2-3 ของการตั้งครรภ์
  4. โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (specific types of diabetes due to other causes) มีได้หลายสาเหตุ เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ ยาบางชนิด เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีความเสี่ยงป่วยโรคเบาหวานสามารถดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงได้


Article 600 X600 5  5


4. โรคความดันโลหิตสูง


โรคร้ายสำหรับผู้สูงวัยที่ต้องระวังอีกโรคคือ โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นโรคที่คุ้นหูของทุกคน โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่มีระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง มีค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ซึ่งคนปกติจะมีค่าความดันโลหิตประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท และหลายคนอาจไม่ทราบว่าตัวเองมีภาวะความดันโลหิต เพราะเป็นโรคที่ไม่ค่อยปรากฏอาการที่ชัดเจนในช่วงแรกนั่นเอง


อาการโรคความดันโลหิตสูง

  • ปวดหัว หรือเวียนหัว
  • เหนื่อยง่าย
  • อาจมีอาการของโรคแทรกซ้อน เช่น อัมพาต หรือ มีภาวะหัวใจวาย


ดังนั้น บุคคลทั่วไปควรเช็คความดันเมื่อมีโอกาส เพราะอาจมีความดันสูงโดยไม่มีอาการเลยก็ได้


Article 600 X600 5  6


5. โรคข้อเข่าเสื่อม


โรคสุดท้ายที่เมืองไทยประกันชีวิตนำมาฝาก คือโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ ที่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุอย่างมาก โดยโรคข้อเสื่อมพบในตำแหน่งของข้อที่รับน้ำหนักมาก คือ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง อาดทำให้เจ็บขณะเคลื่อนไหวหรือใช้งานอวัยวะส่วนนั้นได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากการใช้งานของอวัยวะนั้นเป็นเวลานาน และหนัก เมื่ออายุมากก็ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ได้


อาการโรคข้อเข่าเสื่อม

  • ปวด บวม ที่ข้อเข่า
  • ข้อฝืด หรือ ตึงข้อขณะเคลื่อนไหว
  • ความสามารถในการใช้งานข้อเข่าลดลง


หากมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้เจ็บปวดเรื้อรังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้


เมื่อมีข้อมูลโรคร้ายของผู้สูงวัยแล้ว นอกจากการระมัดระวังในการใช้ชีวิต และดูแลตัวเองเพื่อให้ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยแล้ว โรคแต่ละโรคย่อมมีค่าใช้จ่ายที่สูง เพราะด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นรวมถึงร่างกายที่เสื่อมตามวัยเมื่อเจ็บป่วยขึ้นมาก็เรื้อรังกว่าวัยหนุ่มสาว การวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างมาก การซื้อประกันชีวิตและสุขภาพ จึงเป็นตัวช่วยลดความเสี่ยงได้เป็นอย่างดีทำให้ไม่ต้องกังวลว่าเงินเก็บจะหมด


ซึ่งเมืองไทยประประกันชีวิตได้ออกแบบ สัญญาเพิ่มเติม ซีไอ เพอร์เฟค แคร์ ที่ให้ความคุ้มครองเป็นเงินก้อนเมื่อตรวจเจอโรคร้ายแรง 36 โรค เช่น โรคมะเร็ง โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เนื้องอกในสมอง ชนิดไม่ใช่มะเร็ง เป็นต้น หรือความคุ้มครองสุขภาพ อีลิท เฮลท์ ที่คุ้มครองโรคมะเร็ง โรคทั่วไป และโรคระบาดตามฤดูกาล ให้คุณคลายกังวลค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย


ที่มา : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ที่มา : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

บทความน่าสนใจ