Having heart disease? You can still be fit & firm!
ป่วยเป็นโรคหัวใจ ทำไมจะออกกำลังกายไม่ได้! เพราะการออกกำลังกายมีประโยชน์ทั้งสุขภาพกายและใจ แม้แต่ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเองก็สามารถออกกำลังกายได้อย่างมั่นใจ แต่แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนออกกำลังกายเพื่อเลือกประเภทกีฬาที่เหมาะสมกับวัย สภาพร่างกาย และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพราะความปลอดภัยคือสิ่งสำคัญ ซึ่งวิธีการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหัวใจมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ปรึกษาแพทย์ ก่อนออกกำลังกาย
ประโยชน์ของการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหัวใจคือ เพื่อลดการเกิดโรคและยืดอายุผู้ป่วย และเพื่อรักษาให้สุขภาพกลับไปแข็งแรงใกล้เคียงหรือเท่า ๆ กับตอนก่อนเป็นโรคหัวใจ
แม้การออกกำลังกายจะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่สามารถทำได้ โดยก่อนเริ่มต้นออกกำลังกายควรให้แพทย์เช็กอัพประเมินสภาพความพร้อมของร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ และอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างหรือหลังการออกกำลังกาย ตลอดจนระยะเวลาและความหนักเบาที่เหมาะสมของเราต่อการออกกำลังกายเพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้กับตัวเรานั่นเอง
วิธีออกกำลังกายที่เหมาะ กับผู้ป่วยโรคหัวใจ
สำหรับการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจ มีดังนี้
- เดินเร็ว : เหมาะกับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ เพราะจะไม่ทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยมากจนเกินไป เดินเพียงสัปดาห์ละ 1-3 ชั่วโมง จะร่างกายและหัวใจแข็งแรงขึ้น
- วิ่ง : ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ออกแรงสูบฉีดเร็วกว่า ลดความเครียด และช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ แข็งแรงอีกด้วย
- เทนนิส : ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อแขนและขา พร้อมช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น
- ว่ายน้ำ : มีผลดีต่อสุขภาพหัวใจ เพราะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง สร้างความยืดหยุ่น อีกทั้งน้ำยังเป็นตัวพยุงน้ำหนักที่ดี แม้จะออกแรงมากแต่ก็รู้สึกว่าเหนื่อยน้อยกว่าการออกกำลังกายบนบก
รำกระบอง : เป็นการบริหารร่างกายที่ครบทุกส่วนตามหลักสรีระวิทยา ช่วยให้การสูบฉีดเลือดของหัวใจเป็นปกติ
Tips : อัตราการเต้นของหัวใจ ควรอยู่ใน Zone 1 - 3 (50% - 80%) แต่ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ล่ะคน หมอเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม
ข้อควรระวัง
การออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหัวใจต้องมีขอบเขต และหมั่นสังเกตอาการในระหว่างออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ ซึ่งข้อควรระวังในระหว่างออกกำลังกายมีดังนี้
- ไม่ควรออกกกำลังกายในขณะท้องว่าง
- หากสภาพอากาศร้อน หรือหนาวจัด ควรออกกำลังกายในร่ม
- ก่อนและหลังออกกำลังกายควรอบอุ่นร่างกายและยืดเส้นกล้ามเนื้อประมาณ 5-10 นาที
- ควรอยู่ภายใต้การดูแลของครูฝึก หรือเทรนเนอร์ เพราะหากมีอาการอะไรเกิดขึ้น จะได้มีคนอยู่ช่วยได้ทันท่วงที
- อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ
- ไม่ออกกำลังกายในขณะที่รู้สึกไม่สบาย
- หากมีอาการเจ็บหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หรือเหนื่อยง่าย ควรหยุดหรืองดการออกกำลังกาย
Tips : การออกกําลังเกินขนาด อาจทําให้มีอาการเจ็บ แน่นหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ส่วนโรคหัวใจล้มเหลวและหัวใจประเภทอื่น ๆ นั้น อาจจะมีอาการเหนื่อยหอบมากขึ้นผิดปกติจากภาวะเลือดคั่งในปอด
แม้ว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีต่อหัวใจและสุขภาพ แต่ก็มีความเสี่ยง ดังนั้นจึงต้องระมัดระวัง ค่อยเป็นค่อยไป และรู้จักประเมินสมรรถภาพของตัวผู้ป่วยเองในการออกกำลังกาย และที่สำคัญอย่าลืมเพิ่มความมั่นใจให้กับสุขภาพของคุณด้วยสัญญาเพิ่มเติม ซีไอ เพอร์เฟค แคร์ ที่ช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาล 36 โรคร้าย ตรวจเจอก็รับเงินก้อนไปรักษาสูงถึง 1 ล้านบาท เบี้ยวันละไม่ถึง 7 บาท(1) พร้อมลดหย่อนภาษี #ประกันโรคร้ายไม่ต้องจ่ายแพง
(1) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 28 ปี เลือกจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(2) ผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต และ/หรือกรณีเป็นโรคร้ายแรงระยะเริ่มต้น ระยะกลาง และระยะรุนแรง รวมกันสูงสุด 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติม
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก หรือ โทร. 1766
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- สัญญาเพิ่มเติม ซีไอ เพอร์เฟค แคร์ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- เบี้ยประกันภัยบางส่วนสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุในกรมธรรม์
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
- เบี้ยประกันภัยบางส่วนสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 15/11/64
🔖 กรมการแพทย์ (ข้อมูล ณ วันที่ 21/05/62)
🔖 Goodlife update (ข้อมูล ณ วันที่ 17/09/61)
🔖 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (ข้อมูล ณ วันที่ 21/08/60)
🔖 โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์ (ข้อมูล ณ วันที่ 08/12/63)
🔖 Sanook (ข้อมูล ณ วันที่ 06/11/61)