ประกันอุบัติเหตุ ดียังไง ทำไมถึงต้องมี และคุ้มครองอะไรบ้าง
ประกันอุบัติเหตุ เปรียบได้กับผู้ช่วยคนสำคัญที่คอยดูแลจากอุบัติเหตุที่อาจมีอยู่รอบ ๆ ตัว และคาดเดาไม่ได้เลยว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ซึ่งการมี ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล จึงมีความสำคัญมากในการปกป้องเงินเก็บ ช่วยซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลหากเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น และ นี่คือเหตุผลที่เรามัดรวมมาให้ดูกันว่า ทำไมถึงควรมีประกันอุบัติเหตุ พร้อมประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากการทำ ประกัน PA หรือ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
- ทำไมควรมี ประกันอุบัติเหตุ
- เลือกประกันอุบัติเหตุอย่างไร ให้เหมาะกับเด็ก และผู้สูงอายุ
- ควรซื้อประกันอุบัติเหตุเมื่อไหร่ และซื้อที่ไหนดี
ทำไมควรมี ประกันอุบัติเหตุ
การมีประกัน PA หรือ ประกันอุบัติเหตุ ใครว่าไม่จำเป็น เพราะสามารถช่วยปกป้อง และ ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับคุณ และ คนในครอบครัวจากความเสี่ยง หรือ อุบัติเหตุที่ไม่แน่นอนกับคนทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ ซึ่งล้วนมีความเสี่ยงเช่นกัน และ นี่คือเหตุผลสำคัญที่ควรมีประกันอุบัติเหตุติดตัวไว้
ช่วยคุ้มครองหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และ ทุกวัน ไม่ว่าจะจากการเดินทาง เล่นกีฬา กิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงจากการทำงานในทุก ๆ วัน หรือ แม้แต่กิจกรรมบางประเภท ที่คุณคิดว่าปลอดภัยกับตัวเอง หรือ ครอบครัว ก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นได้ ดังนั้นการมี ประกันอุบัติเหตุ จะช่วยให้คุณอุ่นใจ เพราะ สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ส่งผลกระทบกับเงินเก็บ หรือ ภาระทางการเงินของตัวคุณเองและครอบครัวได้
คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลหากเกิดเหตุฉุกเฉิน
อย่างที่ทราบกันอยุ่ว่าหากเกิดอุบัติเหตุ หรือ มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น ผู้ได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหลากหลายรายการ เช่น ค่าหมอ ค่ายา ค่าบริการทางการแพทย์ หรือค่าห้องฉุกเฉิน ที่พอมารวมกันแล้วค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นการมี ประกันอุบัติเหตุ จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหมดกังวลกับเงินที่ต้องนำออกมาโดยไม่จำเป็น
ชดเชยรายได้ ตามแต่กรณี
หากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่งผลให้ไม่สามารถทำงานได้จนถึงขั้นต้องหยุดพักรักษาตัว โดยในบางกรมธรรม์จะมีค่าชดเชยรายได้จาก ประกันอุบัติ เหตุที่ทำไว้ช่วยซัพพอร์ตให้คุณมีรายได้มาหล่อเลี้ยงช่วงเวลาที่หยุดงาน และยังมีความมั่นคงทางการเงิน หรือ หากเกิดกรณีพิการสูญเสียอวัยวะ สายตา ทุพพลภาพ จนถึงขั้นเสียชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ก็จะมีในส่วนของค่าชดเชย รวมถึงค่าทำขวัญ ค่าปลงศพ เป็นต้น
เลือกประกันอุบัติเหตุอย่างไร ให้เหมาะกับเด็ก และผู้สูงอายุ
การเลือก ประกันอุบัติเหตุเด็ก และ ประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุ ทั้งสองอย่างนี้จะมีความต้องการที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มวัย ดังนั้น ข้อสังเกตในการเลือก ประกันอุบัติเหตุ ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และ ผู้สูงอายุ ควรมีอะไรบ้างมาดูกัน
ประกันอุบัติเหตุสำหรับเด็ก
สิ่งที่ผู้ปกครองควรพิจารณาลำดับต้น ๆ ในการเลือกซื้อประกันอุบัติเหตุเด็ก คือ ทุนประกัน และ วงเงินค่ารักษากรณีเกิดอุบัติเหตุกับบุตรหลานของท่าน เมื่อเปรียบเทียบกับเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายต่อปี ข้อต่อมา คือ ความคุ้มครองอื่น ๆ เพิ่มเติม นอกเหนือจากความคุ้มครองหลักว่ามีความจำเป็น หรือ ไม่ เพราะในบางสัญญาอาจสามารถเลือกปรับกรมธรรม์ได้เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ และ การใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล
ประกันอุบัติเหตุสำหรับผู้สูงอายุ
เงื่อนไขหลักของผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยในราคาที่สูงกว่าผู้มีอายุต่ำกว่า 60 ปี เนื่องจากสภาพความเสี่ยงที่อาจเพิ่มมากขึ้น โดยแนะนำว่าควรเลือกแผนประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุที่มี ความคุ้มครอง และ ค่าเบี้ยที่สามารถจ่ายได้ตามความสามารถ เพื่อให้ได้ ประกันอุบัติเหตุ ที่ตรงความต้องการของผู้เอาประกัน และ เงื่อนไขที่วางไว้นั่นเอง
ควรซื้อประกันอุบัติเหตุเมื่อไหร่ และซื้อที่ไหนดี
การซื้อ ประกันอุบัติเหตุ ถือเป็นทางเลือกในการปกป้องตัวคุณเอง และ คนในครอบครัว เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากอุบัติเหตุที่ไม่มีใครอยากให้เกิดก็คือ ความเสียหายทั้งทางร่างกาย จิตใจ และที่สำคัญคือเงินเก็บที่ต้องเสียไปกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ดังนั้นคำถาม คือ เราควรมี ประกันอุบัติเหตุตอนไหน และ ควรเลือกซื้อที่ไหน เพื่อให้ได้ ประกันอุบัติเหตุ ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
ประกันอุบัติเหตุควรซื้อตอนไหน
ก็ตอนที่คุณรู้สึกว่าคุณ หรือ ครอบครัวที่รัก มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น ไม่ว่าจะจากไลฟ์สไตล์ ช่วงอายุต่าง ๆ ที่อาจกระทบต่อชีวิต หรือ การเงินของคุณ ดังนั้นเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางการเงิน การซื้อ ประกันอุบัติเหตุ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึงจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม
ประกันอุบัติเหตุซื้อที่ไหน
สำหรับมือใหม่หัดซื้อ ประกันอุบัติเหตุ หรือ มือเก่าที่ล้างวงการไปนาน การเริ่มต้นซื้อ ประกันอุบัติเหตุ อาจมีความสงสัย และ ข้อกังวลหลาย ๆ อย่าง ดังนั้นเพื่อความมั่นใจแนะนำให้สอบถามข้อมูล หรือ เลือกซื้อประกันอุบัติเหตุ กับตัวแทนประกัน หรือ หากอยากดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผน ประกันอุบัติเหตุ ต่าง ๆ ก็สามารถดู และ เปรียบเทียบแผนที่ตัวเองสนใจผ่านเว็บไซต์บริษัทได้โดยตรงก่อนตัดสินใจทำ ประกันอุบัติเหตุ
หวังว่าพอจะเห็นภาพสำหรับความสำคัญของการมี ประกันอุบัติเหตุ เพราะ เป็นหนึ่งในทางเลือกเพื่อปกป้องตัวคุณ และ ครอบครัว จากความไม่แน่นอนของชีวิต โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงมากหากเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันต่าง ๆ ขึ้น แม้ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยเงินที่จ่ายไปก็สำคัญต่อการใช้ชีวิต ดังนั้นวินาทีต่อจากนี้ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นกับคุณ หรือ คนในครอบครัวที่รักหรือไม่
ดังนั้นการมี ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือ ประกัน PA จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามหากอยากใช้ชีวิตได้อย่าง มั่นใจ ไร้กังวล การมีผู้ช่วยคอยปกป้องค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอนเกิดขึ้นทั้งจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ด้วย ประกันอุบัติเหตุ PA Safety คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุสูงถึง 100,000 บาทต่อครั้ง(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 10 บาท(2)
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ สูงถึง 100,000 บาทต่อครั้ง(1)
- ความคุ้มครองชีวิต ทุพพลภาพ หรือการสูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุ สูงถึง 2,000,000 บาท(3)
- คุ้มครองอุบัติเหตุทุกที่ทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมง
- มีบริการความช่วยเหลือฉุกเฉิน
- เช็กกรมธรรม์, จ่ายเบี้ย, ค้นหาโรงพยาบาล, ยื่นเคลมง่าย ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน “MTL Click”
- สมัครได้ตั้งแต่อายุ 30 วัน – 75 ปี
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
☑️ โทร. 1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต
(1)กรณีเลือกแผน 3
(2)กรณีเลือกแผน 3 สำหรับผู้เอาประกันภัย เพศหญิง อายุ 26 - 60 ปี ชั้นอาชีพ 1 ชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(3) กรณีเลือกแผน 3 และเป็นอุบัติเหตุสารธารณะ
- เบี้ยประกันสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- ผลประโยชน์การสูญเสียอวัยวะ และอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง เป็นไปตามอัตราส่วนที่ระบุไว้ในกรมธรรม
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 24/07/66
🔖สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)