ไข้เลือดออก อันตรายแค่ไหน พร้อมอาการที่ควรระวัง
ประเทศไทยเข้าสู่ช่วงหน้าฝนอย่างเป็นทางการ นอกจากความชุ่มฉ่ำของสายฝนแล้ว ยังมียุงลายตัวร้าย ที่กัดคนเราแล้วยังมีโรคพ่วงตามมาด้วย นั่นก็คือ “ไข้เลือดออก” ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังในช่วงหน้าฝน เพราะหากป่วยขึ้นมาก็อาจเสี่ยงถึงชีวิตได้ ซึ่งวันนี้แอดได้นำวิธีสังเกตอาการไข้เลือดออกมาฝาก และหากป่วยเป็นไข้เลือดออก รักษาที่บ้านได้หรือไม่ แล้วจริงไหมที่เป็นไข้เลือดออกต้องกินอาหารสร้างเกล็ดเลือด หรือไข้เลือดออกติดต่อกันไหม หลากหลายคำถามที่คนอยากรู้ตามไปดูพร้อมกันเลย
1. ไข้เลือดออก สาเหตุ
2. อาการไข้เลือดออก
3. ไข้เลือดออก เป็นซ้ำได้หรือไม่?
4. ไข้เลือดออกติดต่อไหม
5. วิธีป้องกันอย่างไรให้ไกลจากโรคไข้เลือดออก
6. ไข้เลือดออก รักษา
1. ไข้เลือดออก สาเหตุ
สำหรับโรคไข้เลือดออกที่มักแพร่ระบาดในหน้าฝน เชื่อว่าทุกคนคงรู้ผ่านบทเรียนมาตั้งแต่เด็กแล้วว่า ไข้เลือดออกมีสาเหตุมาจากอะไร แต่วันนี้เรามาอัปเดตข้อมูลล่าสุดกัน ซึ่งโรคไข้เลือดออก ติดต่อโดยยุงลายเป็นตัวพาหะนำโรคผ่านเชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 DENV-4 เมื่อยุงตัวเมียกัดและดูดเลือดคนเข้าไปแล้ว
ใครเสี่ยงไข้เลือดออกบ้าง?
สำหรับไข้เลือดออกเป็นโรคที่สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบบ่อยในเด็กวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น แต่สำหรับคนที่มีภาวะเสี่ยงเมื่อป่วยไข้เลือดออกแล้ว จะมีอาการโรครุนแรงเพิ่มขึ้นหรือมีภาวะแทรกซ้อนเด็กทารกและผู้สูงอายุ มีดังนี้
- คนที่มีแผลในกระเพาะอาหาร
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างมีประจำเดือน หรือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
- คนที่มีโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย หรือโรคที่เกิดจากฮีโมโกลบินผิดปกติ
- ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด โรคหัวใจขาดเลือด ไตวาย ตับแข็ง
- ผู้ที่กินยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) หรือยาในกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory หรือ NSAIDs)
2. อาการไข้เลือดออก
การสังเกตตัวเองหรือคนรอบข้างให้เร็ว ว่าอาการนี้คือป่วยไข้เลือดออกได้เร็วเท่าไรยิ่งดี ซึ่งไข้เลือดออกมีหลายระยะ โดยระยะแรกจะมีอาการดังนี้
อาการไข้เลือดออก ระยะแรก
กว่าร้อยละ 90 ของคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกครั้งแรกมักไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการก็มักจะไม่รุนแรง คนที่ป่วยอาจรู้สึกว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา เพราะไม่มีอาการไอ หรือมีน้ำมูก แต่จะเริ่มมีอาการใน 4-10 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีมีไข้สูงเฉียบพลัน 39-40 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 2-7 วัน ซึ่งระยะไข้สูงมีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดหัว หน้าแดง
- ปวดเบ้าตา ปวดรอบกระบอกตา
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- เบื่ออาหาร
- ปวดข้อ หรือปวดกระดูก
- มีจ้ำเลือด หรือผื่นแดงขึ้นที่บริเวณผิวหนังร่างกาย
- อาจมีอาการปวดท้อง (บริเวณชายโครงขวา) กดเจ็บบริเวณลิ้นปี่
ระยะวิกฤต
ระยะวิกฤตจะเป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน หลังระยะไข้สูง และถือว่าเป็นระยะที่ต้องเฝ้าระวังและน่าเป็นห่วง สำหรับคนที่ป่วยโรคไข้เลือดออก เพราะอาจเกิดภาวะช็อกจากไข้สูง หรือช็อกจากอาการเลือดออกที่อวัยวะภายใน ที่เกิดจากสารน้ำในหลอดเลือดรั่วไหลออกนอกหลอดเลือดทำให้ความดันโลหิตต่ำ ชัก หมดสติ และหัวใจหยุดเต้นที่นำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด โดยจะมีวิธีสังเกตอาการของระยะวิกฤตดังนี้
- ปวดท้องอย่างรุนแรง
- คลื่นไส้ อาเจียนอย่างต่อเนื่อง เบื่ออาหาร
- มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
- เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล
- ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด หรืออาเจียนเป็นเลือด
- มีจ้ำเลือด หรือจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามผิวหนัง
- หายใจลำบาก หายใจถี่เร็ว
- อาการกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
- เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย มีอาการซึม
- มือเท้าเย็น ตัวเย็น มีเหงื่อออกตามตัว
- ภาวะช็อกจากอาการขาดน้ำหรือเสียเลือด มักเกิดขึ้นใน 3-8 วันหลังจากที่มีไข้สูงลอย
- ไข้ลดลดลงอย่างรวดเร็ว
- เลือดออกในทางเดินอาหาร
- ความดันโลหิตไม่สม่ำเสมอ วัดชีพจรไม่ได้
- ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หรือภาวะช็อก
ระยะฟื้นตัว
ระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของการเป็นไข้เลือดออก ที่คนป่วยเริ่มมีอาการดีขึ้น เป็นช่วงที่ร่างกายค่อย ๆ ฟื้นตัว ความดันโลหิตเริ่มกลับมาคงที่ อาการต่าง ๆ ของโรคไข้เลือดออกค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งระยะฟื้นตัวจะเริ่มมีอาการดังนี้
- ไข้ลดลง อุณหภูมิร่างกายเป็นปกติ
- ชีพจรเต้นแรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น
- ปัสสาวะออกมากขึ้น
- ภาวะตับโตลดลงภายใน 1-2 สัปดาห์
- เริ่มกลับมาอยากกินอาหารมากขึ้น
- มีผื่นสีแดงเล็ก ๆ สาก ๆ เป็นวงสีขาวขึ้นตามร่างกาย
ไข้เลือดออก อันตรายไหม
หากป่วยเป็นไข้เลือดออกแล้วไม่ควรชะล่าใจ เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้ จะทำให้เกิดการอักเสบในหลายอวัยวะ จากที่กล่าวมาในระยะต่าง ๆ ข้างต้น ทั้งยังมีการรั่วของสารน้ำออกนอกหลอดเลือดในปริมาณมาก ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะหากช้าเกินไปอาจทำให้อันตรายถึงชีวิตได้
3. ไข้เลือดออก เป็นซ้ำได้หรือไม่?
สำหรับคนที่เคยป่วยไข้เลือดออก สามารถติดเชื้อไวรัสเดงกีทั้ง 4 สายพันธุ์ซ้ำได้หลายครั้ง แต่หากเคยติดเชื้อสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์นั้นไปตลอดชีวิต แต่จะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกีในอีก 3 สายพันธุ์ที่เหลือ ซึ่งไข้เลือดออก ยิ่งเป็นซ้ำอาการยิ่งรุนแรง เพราะหากได้รับเชื้อในครั้งก่อน ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะเชื้อสายพันธุ์ที่ได้รับ หากติดเชื้ออีกครั้งซึ่งเป็นสายพันธุ์ต่างกัน อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถต้านทานไวรัสได้ดีพอ ทำให้การติดเชื้อไวรัสครั้งต่อไปมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้
4. ไข้เลือดออกติดต่อไหม
หลายคนยังมีความเข้าใจผิดว่า ไข้เลือดออกสามารถติดต่อจากคนสู่คนกันได้ ซึ่งไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มีการแพร่กระจายผ่านยุงที่เป็นพาหะ ไม่สามารถติดต่อได้จากคนสู่คนโดยตรง แต่หากมีการสัมผัสกับเลือด ของคนที่ติดเชื้อไข้เลือดออกผ่านยุงที่กัด เช่น ตัวยุงลายพาหะสามารถติดเชื้อไข้เลือดออกได้ ซึ่งในกรณีที่มีการคิดว่าตัวเองเริ่มมีอาการของไข้เลือดออก ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วน
5. ไข้เลือดออก ป้องกันอย่างไร
การห่างไกลโรคไข้เลือดออกได้เท่าไรยิ่งดี เพราะป่วยทีทั้งทรมานและอาจเสี่ยงถึงชีวิตได้ ซึ่งการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลโรคไข้เลือดออกมีวิธีดังนี้
- นอนในมุ้งหรืออยู่ในห้องที่สามารถป้องกันยุงลายได้
- ขจัดลูกน้ำและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ครอบตัวให้หนาแน่นพอดี ในกรณีที่รู้ตัวว่าต้องอยู่ในบริเวณที่มียุงชุม
- ใช้ยากันยุงหรือสเปรย์กันยุงเพื่อป้องกันยุง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเลือดจากบุคคลที่เชื้อไข้เลือดออกอยู่
- ฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
6. ไข้เลือดออก รักษา
การรักษาโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันยังไม่มียารักษา แต่เป็นการรักษาตามอาการและความรุนแรง โดยเริ่มแรกเราสามารถให้คนใกล้ชิดดูแลได้ด้วยวิธีดังนี้
- เช็ดตัวเพื่อลดไข้ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุณหภูมิปกติบิดหมาด ๆ เช็ดที่ใบหน้า ซอกคอ รักแร้ ข้อพับ ขาหนีบ
- กินยาลดไข้ ต้องเป็นยาพาราเซตามอลในกรณีที่มีไข้สูงเท่านั้น
- ห้ามกินยาแอสไพรินหรือไอบูโพรเฟนเด็ดขาด และไม่ควรกินมากเกินไปเพราะอาจเป็นพิษต่อตับ
- ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายเสียไป เพราะการมีไข้สูงหรืออาเจียน ทำให้ร่างกายขาดน้ำและโซเดียม
- หากอาการยังไม่ดีขึ้น เช่น ยังอาเจียน ปวดท้องมากบริเวณชายโครงขวา กดแล้วเจ็บ ตัวเย็น มือเท้าเย็น กระสับกระส่าย เลือดออกตามเยื่อบุต่าง ๆ ซึมลง หายใจเหนื่อย ไม่รู้สึกตัว ควรรีบพบแพทย์ทันที
ตั้งแต่เด็กทุกคนคงมีความรู้สึกเหมือนกันอยู่แล้ว ว่าไม่อยากป่วยเป็นไข้เลือดออก เพราะป่วยทีมันช่างทรมานทั้งร่างกายและค่ารักษา เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะหายดีตอนไหน แต่หากเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าก็เบาใจ ด้วยการวางแผนเสริมความมั่นใจ กับประกันสุขภาพจากเมืองไทยประกันชีวิต #เพราะชีวิตทุกวัยมันเจ็บป่วย ป่วยเล็กป่วยใหญ่ ช่วงวัยไหนก็ป่วยได้ไม่ช็อตฟีล
ปล่อยจอยค่ารักษาเพราะมีประกันสุขภาพดูแลให้แบบเหมา ๆ ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท
✅ Elite Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 20-100 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษา ดูแลให้ทั้ง IPD และ OPD(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 157 บาท(2)
✅ D Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 5 ล้านบาท(3) นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุก รพ. เบี้ยวันละไม่ถึง 38 บาท(4)
✅ เหมาจ่าย Extra แอดมิตเข้า รพ. ดูแลค่ารักษาเหมาจ่าย 5 แสนบาท(5) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(6)
พิเศษ! รับส่วนลดสูงสุด 15% สำหรับเบี้ยประกันปีต่ออายุ เพียงทำกิจกรรมผ่านแอปฯ MTL Fit
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต
(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(3) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง
(4) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท มีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (แผน Top Up ความคุ้มครอง) และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(5) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(6) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
- เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
- สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 28/06/67