Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

J2565 Thumbnail 1200 X600

ลดเค็ม เลี่ยงหวาน ! ในเทศกาลกินเจ 2565

September 26, 2022

3 minutes

เข้าสู่เทศกาลกินเจอีกครั้งในปี 2565 นี้ ซึ่งปีนี้เทศกาลกินเจตรงกับวันที่ 26 กันยายน - 4 ตุลาคม 2565 รวมเวลา 9 วัน หลายคนอาจกำลังวางแผนคัดสรรเมนูเด็ดทั้งคาวหวานอยู่ในลิสต์เรียบร้อย ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจคิดว่าการกินเจจะทำให้ร่างกายได้รับแต่สารอาหารที่ดีกว่าเดิม เพราะงดกินเนื้อสัตว์ แต่ความจริงแล้วอาหารเจ ยังมีความเสี่ยงต่อโรคร้ายอยู่มาก จากรสชาติและส่วนผสมของอาหารที่อาจเค็มหรือหวานมากเกินไป  


โดยเฉพาะอาหารรสเค็ม เพราะส่วนมากเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูง หากกินมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ รวมถึงพฤติกรรมการกินอาจทำให้เสี่ยงโรค NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง และไตเรื้อรัง เป็นต้น วันนี้ลองมาดูแนวทางการกินเจเพื่อให้ได้สุขภาพดี ไม่มีโรคร้ายเข้าใกล้กัน จะมีอะไรบ้างนั้น ตามมา !


J2565  Blog 1


เตรียมพร้อมก่อนกินเจ


ก่อนจะถึงเทศกาลกินเจต้องมีการเตรียมพร้อมกันก่อน หรือเรียกอีกอย่างว่า การล้างท้องก่อนกินเจ โดยส่วนมากจะนิยมล้างท้องโดยการงดเว้นเนื้อสัตว์ ผัก และอาหารต้องห้ามทุกชนิดก่อนกินเจจริง ๆ 1 วัน แต่ถ้าใครยังไม่สามารถงดเนื้อสัตว์ได้ในทันที อาจปรับทีละนิดเช่น เปลี่ยนจากการกินเนื้อแดงมาเป็นเนื้อปลาแทน และเน้นกินโปรตีนพวกถั่วต่าง ๆ พร้อมกับเพิ่มผักผลไม้ลงไปในมื้ออาหาร เพื่อให้ระบบย่อยอาหารเริ่มปรับตัวก็ได้เช่นกัน


ที่มา : greenday


J2565  Blog 2


งดอาหารรสเค็มจัด เสี่ยงโซเดียมสูง


ช่วงเทศกาลกินเจควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ผัดผักกาดดอง หัวไชโป๊ว กานาฉ่าย เพราะเป็นอาหารที่ใช้เกลือมาก และผักที่ผ่านกรรมวิธีการดองเป็นเวลานาน จะทำให้เราได้รับคุณค่าทางอาหารที่น้อยลง


ซึ่งข้อมูลจาก สสส. ระบุไว้ว่า ปกติคนทั่วไปไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 600 มิลลิกรัมต่อมื้ออาหาร เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง และไตเรื้อรัง เป็นต้น และหากลองปรับพฤติกรรมการกิน โดยลดโซเดียมลงเพียงเล็กน้อย ก็จะสามารถลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้ถึง 20%


ที่มา : thaihealth (ข้อมูล ณ วันที่ 05/09/65 )


J2565  Blog 3


งดอาหารรสหวาน เพื่อสุขภาพ


เทศกาลกินเจ นอกจากเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มแล้ว ภัยจากการกินรสหวานมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคเรื้อรังตามมาได้ ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้กินน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน แนะนำง่าย ๆ ดังนี้


  • ขนมเจ ส่วนใหญ่มักเป็นขนมหวาน ควรลดปริมาณ เน้นกินหลังอาหารหรือมื้อว่างระหว่างวันแทน ที่สำคัญไม่ควรกินเอาอิ่ม แค่ชิมให้หายอยากก็พอ
  • เครื่องดื่มเจ เครื่องดื่มเจส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้ำตาลทราย 1.5 - 2 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 5-6 ช้อนชา แนะนำให้เลือกกินแบบน้ำตาลน้อยหรือไม่ใส่เลยยิ่งดี
  • ผลไม้ เลือกที่มีน้ำตาลน้อย ไม่แนะนำให้กินผลไม้แทนมื้ออาหาร โดยมีสัดส่วนการกินผลไม้ เช่น ฝรั่งครึ่งลูก ส้ม 1 ผล มะละกอ 7 ชิ้น แอปเปิล 1 ผล เป็นต้น


ที่มา : thaihealth (ข้อมูล ณ วันที่ 05/09/65 )


J2565  Blog 4


เลือกกินอาหารเจเพื่อสุขภาพ ห่างไกลโรค NCDs


เพราะการเลือกกินอาหารเจ ไม่ควรเลือกเพียงรสชาติอร่อยเท่านั้น แต่ยังต้องได้สุขภาพที่ดีตามมาด้วย ดังนั้นหากเราควรเลือกกินอาหารเจให้ถูกหลักโภชนาการ ก็จะช่วยลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง เป็นต้น


  • เลือกกินผักสด
  • สั่งอาหารเค็มน้อย ไม่ใส่ผงชูรส
  • เลือกไม่ปรุงเพิ่ม เพราะมีเกลืออยู่ในน้ำจิ้ม น้ำปลา หรือซอส
  • เลือกอาหารแปรรูปแช่แข็ง มีฉลากโภชนาการทางเลือกสุขภาพ
  • เลี่ยงอาหารอาหารกึ่งสำเร็จรูป เพราะมีเกลือสูง
  • เลี่ยงอาหารหมักดอง เพราะเป็นแหล่งของโซเดียม
  • เลี่ยงขนมกรุบกรอบ เพราะมีโซเดียมสูง


ที่มา : thaihealth (ข้อมูล ณ วันที่ 05/09/65 )


การกินเจนอกจากจะอิ่มบุญแล้ว ยังต้องได้สุขภาพที่ดีตามมาด้วย เน้นกินผักและผลไม้น้ำตาลน้อย งดของมันของหมักดองและของทอด และที่สำคัญต้องไม่ลืมดูแลเรื่องของความสะอาด ล้างมือก่อนกินอาหารทุกครั้ง และสวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่างเมื่อต้องต่อคิวซื้ออาหาร เพราะโควิด 19 ยังไม่หายไปไหน


รวมถึงการมีประกันสุขภาพก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะการซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่ตอนที่เรายังสุขภาพดี จะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ เพราะประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน หากเจ็บป่วยแล้วถึงตัดสินใจซื้อก็อาจสายไป ดังนั้นวางแผนเตรียมไว้มั่นใจกว่า


เสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครองการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โรคอุบัติใหม่ โรคระบาด โรคร้ายแรง และโรคทั่วไป เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี


ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละ 65 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี


รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
☑️ โทร 1766
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขาธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์


เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ


*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย


Interested In

I agree that Muang Thai Life Assurance PCL. Collect and use my personal information above to contact me to offer products and services at I am interested or the company saw that it was beneficial to I have by me to equate the mark In the square is an indication of intent. instead of my consent Signing as evidence. I have read and acknowledged the Privacy Policy.

บทความน่าสนใจ