วัยรุ่นยุค 2000 (Y2K) ปัจจุบันเสี่ยงโรคอะไรบ้าง
เรียกได้ว่าเป็นคำฮิตและกำลังมาแรงแซงทุกเทรนด์ในยุคนี้ เพราะจะหันไปทางไหนก็เจอแต่กระแส Y2K ทั้งแฟชั่นแบบ Y2K ถ่ายรูปแบบ Y2K ยิ้มแบบ Y2K เพลงแบบ Y2K และอีกสารพัด Y2K แต่จริง ๆ แล้ว Y2K คืออะไร จุดเริ่มต้นมาจากช่วงไหนกันแน่ แล้ววัยรุ่นในยุคนั้นจริง ๆ ไลฟ์สไตล์และแฟชั่นเป็นยังไง รวมไปถึงโรคฮิตวัยรุ่นของช่วงนั้นมีโรคอะไรบ้าง ตามมาหาคำตอบพร้อมย้อนอดีตไปด้วยกันกับเมืองไทยประกันชีวิต
Y2K คืออะไร ทำไมกลับมาฮิต?
“Y2K” จริง ๆ แล้วเป็นทั้งศัพท์เฉพาะทางคอมพิวเตอร์ และเป็นเทรนด์แฟชั่นในช่วงปลายปี 1990 จนถึงช่วงต้นของปี 2000 ซึ่งเป็นยุคที่เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตกำลังเฟื่องฟู แต่เมื่อโลกกำลังก้าวเข้าสู่ปี 2000 ผู้คนต่างกังวลว่าระบบคอมพิวเตอร์ที่บันทึกด้วยตัวเลข 2 หลักท้ายมาตลอด จะบันทึกเป็น 00 เมื่อถึงวันที่ 1 มกราคม 2000 ทำให้ระบบทั่วโลกรวน แต่ในที่สุดก็มีคนแก้ปัญหานี้ให้ผ่านพ้นไปได้
แต่ถ้าในแง่ของเทรนด์แฟชั่น Y2K จะย่อมาจาก “Year 2000” ก็คือ ค.ศ. 2000 ส่วน K ย่อมาจาก KILO ซึ่งในภาษาละตินหมายถึง "1000" เมื่อรวมกับคำว่า Year และตัวเลขจึงกลายเป็นคำว่า "Year 2000"
แฟชั่นแบบไหนเรียกว่า Y2K
แฟชั่นแบบ Y2K วายทูใจในยุคนั้นเรียกได้ว่า แปลกใหม่ มีสีสัน และล้ำสมัยสุด ๆ เพราะนิยมกระโปรงมินิสเกิร์ต กางเกงเอวต่ำ เสื้อครอปท็อปเอวลอยขนาดพอดีตัว มีลายกราฟฟิก พร้อมกับเครื่องประดับ เช่น กระเป๋าใบจิ๋ว หูฟังแบบครอบหู ต่างหูวิบวับ แว่นตากันแดดอันใหญ่ หมวกสีสันสดใส ซึ่งจะเห็นได้จากเทรนด์แฟชั่น Y2K ในปัจจุบันที่นิยมแต่งแบบนี้ และนอกจากกระแส Y2K ในปัจจุบัน ไม่ได้มีอิทธิพลเฉพาะเทรนด์แฟชันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ อีกด้วย
โรคฮิต วัยรุ่นยุค Y2K
พอย้อนไปถึงช่วง Y2K ในปี 2000 ก็ผ่านมา 20 กว่าปีแล้ว วัยรุ่นในยุคนั้นปัจจุบันอายุก็น่าจะย่างเข้า 40 ปี หรืออาจจะเลยไปแล้ว หลายคนก็คงนึกถึงอดีตที่ได้ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง ตามเทรนด์แฟชั่นอย่างสนุกสนาน แต่ปัจจุบันต้องหันมาดูแลสุขภาพแทน เพราะเป็นช่วงอายุที่โรคต่าง ๆ กำลังมาเยือน หากเจ็บป่วยขึ้นมาเงินเก็บอาจหมดไปกับค่ารักษาได้ ควรวางแผนสุขภาพไว้ด้วยการซื้อประกันสุขภาพก่อนเจ็บป่วย จึงจะได้รับความคุ้มครอง ส่วนโรคยอดฮิตของช่วงวัยนี้ที่ควรระวังมีดังนี้
โรคหลอดเลือดสมองตีบ/แตก หรือ สโตรก (Stroke)
การเกิดสโตรกนั้นมีหลายปัจจัย เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น มาจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคเครียด โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมถึงการกินอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และขาดการออกกำลังกาย ควรหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเพื่อลดความเสี่ยง
โรครองกระดูกสันหลังเเสื่อม
เกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่หลัง แบกของหนัก หรือนั่งในอิริยาบถไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดอาการปวดหลังตรงบั้นเอว และปวดร้าวลงมาที่ขา ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก นั่งในท่าที่ถูกต้อง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ
โรคมะเร็ง
เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ได้รับสารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม มลพิษทางอากาศ การได้รับรังสี การสูบบุหรี่ ดื่มสุราเป็นประจำ กินอาหารที่มีไขมันสูง อาหารหมักดอง รวมถึงปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น ความผิดปกติของยีนที่ถ่ายทอดมาจากพ่อหรือแม่ หรือบรรพบุรุษ
โรคหัวใจ
เป็นโรคยอดฮิตที่ทำให้คนเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้ง จากพันธุกรรม อายุที่เพิ่มขึ้น กินของมันของทอดบ่อย ๆ เครียด สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ จึงควรเริ่มดูแลตัวเองด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้อ้วน งดสูบบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์ และไม่เครียดบ่อยจนเกินไป
แต่ไม่ว่าจะอยู่ใน Y2K ยุคเก่าหรือยุคใหม่ เรื่องสุขภาพก็สำคัญที่สุด ต้องหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ พร้อมเสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผน ความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 65 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร 1766
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขาธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You
พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
- สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา: สืบค้นเมื่อวันที่ 02/02/66