Loading...

กำลังโหลดหน้าเว็บไซต์
รอสักครู่น้า Loading...

โรคมือ เท้า ปาก ภัยอันตรายในเด็ก ที่ผู้ใหญ่ก็ไม่ควรมองข้าม

โรคมือ เท้า ปาก ภัยอันตรายในเด็ก ที่ผู้ใหญ่ก็ไม่ควรมองข้าม

November 28, 2024

5 minutes

โรคมือ เท้า ปาก เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อไวรัสที่มักระบาดในกลุ่มเด็กเล็ก โดยเฉพาะในสถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล โรคนี้แม้จะมีอาการไม่รุนแรงในบางราย แต่ก็สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ ซึ่งทำให้ผู้ปกครองและบุคลากรทางการแพทย์ต่างต้องให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาด ความเสี่ยงในการติดโรคมือ เท้า ปาก เพิ่มสูงขึ้นในช่วงฤดูฝนและในพื้นที่ที่มีการรวมตัวของเด็กจำนวนมาก บทความนี้จะกล่าวถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก รวมถึงวิธีการป้องกันและลดโอกาสในการติดเชื้อ เพื่อให้ครอบครัวและสังคมมีความพร้อมในการดูแลและปกป้องสุขภาพของเด็ก ๆ



1. รู้จัก โรคมือ เท้า ปาก คืออะไร? อาการเป็นอย่างไร?

2. สังเกตอาการโรคมือ เท้า ปาก ที่เข้าข่ายเสี่ยง และควรปรึกษาแพทย์

3. วิธีรักษาอาการ โรคมือ เท้า ปาก กี่วันหาย?

4. ป้องกันตัวเองจากโรคมือ เท้า ปาก ต้องทำอย่างไร?



โรคมือ เท้า ปาก คืออะไร? อาการเป็นอย่างไร?


1. รู้จัก โรคมือ เท้า ปาก คืออะไร? อาการเป็นอย่างไร?

โรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth Disease) เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน สาเหตุของโรคมือเท้าปาก คือเกิดจากเชื้อไวรัส Enterovirus 71 (EV71) Coxsackie โดยจะติดต่อกันได้ง่ายทางน้ำลาย ด้วยการรับเชื้อทางแผลในปาก หรือการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส


โดยเมื่อผู้ป่วยได้สัมผัสเชื้อแล้ว เชื้อจะมีระยะฟักตัวเป็นเวลา 3 - 6 วัน หลังจากนั้นผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ ซึ่งอาการของโรคมือเท้าปากในเด็ก กับในผู้ใหญ่ จะมีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้




โรคมือ เท้า ปาก ในเด็ก

เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่เลยก็ว่าได้ สำหรับอาการของโรคมือ เท้า ปาก ในเด็ก นั้นก็มักจะพบบ่อยในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ผู้ป่วยเด็กเล็กจะเสี่ยงอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต โดยอาการของโรคมือเท้าปากในช่วงเริ่มต้นคือ ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูงติดต่อกันเป็นเวลา 3 - 4 วัน จากนั้นจะเริ่มมีตุ่มน้ำใสขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในช่องปาก และมีผื่นขึ้นที่ขาทั้ง 2 ข้าง ในบางรายจะมีอาการเจ็บที่ส่งผลกระทบให้รับประทานอาหารไม่ได้ และมีน้ำลายไหล โดยอาการเหล่านี้มักจะหายเองภายใน 1 สัปดาห์



โรคมือ เท้า ปาก ในผู้ใหญ่

อาการของโรคมือเท้าปากในผู้ใหญ่ จะเริ่มต้นจากการมีไข้ รู้สึกปวดเมื่อยตามตัว และมีแผลในบริเวณช่องปาก มีตุ่มน้ำขึ้นบริเวณมือและเท้า โดยอาจมีผื่นขึ้นตามร่างกายในผู้ป่วยบางราย หากอาการไม่รุนแรงมาก ไข้จะเริ่มลดและหายในช่วง 1 สัปดาห์ ส่วนตุ่มน้ำและผื่นก็จะค่อย ๆ หายตามไป แต่ในบางรายที่มีอาการรุนแรง อาจเสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อนอย่าง โรคเยื่อหุ้มสมอง/เนื้อสมองอักเสบ หรือโรคหัวใจอักเสบ ก็มีโอกาสเกิดได้เช่นกัน



สังเกตอาการโรคมือ เท้า ปาก ที่เข้าข่ายเสี่ยง และควรปรึกษาแพทย์

2. สังเกตอาการโรคมือ เท้า ปาก ที่เข้าข่ายเสี่ยง และควรปรึกษาแพทย์

อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่า โรคมือเท้าปาก เป็นโรคติดต่อที่สามารถดูแลตามอาการและหายได้เองในช่วงเวลาไม่นาน แต่ในผู้ป่วยบางราย ก็พบว่ามีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากคุณคือผู้ป่วย หรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย แนะนำให้สังเกตอาการ หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ อาจกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยง ควรรีบนำตัวผู้ป่วยพบแพทย์โดยเร็วที่สุด


  • มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส นานกว่า 2 วัน
  • มีอาการเหนื่อย หอบ แม้ไม่ได้ออกแรง
  • ไม่มีความอยากอาหาร ทานอาหารไม่ได้เลย
  • ง่วงซึม นอนหลับทั้งวัน อ่อนเพลีย
  • มีอาการพูดเพ้อ หรือพูดไม่รู้เรื่อง
  • ปวดศีรษะมาก
  • ปวดต้นคอ คอแข็ง
  • อาเจียนบ่อย มากกว่า 3 ครั้ง/วัน
  • แขน - ขา อ่อนแรง เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก
  • มีอาการผวาหรือกระตุก แขนหรือมือสั่น ที่แตกต่างจากตอนปกติ



3. วิธีรักษาอาการ โรคมือ เท้า ปาก กี่วันหาย?

ในปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาโรคมือเท้าปาก แบบเฉพาะทาง เนื่องจากเป็นอาการที่ส่วนใหญ่สามารถหายได้เอง การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการโดยทั่วไปของผู้ป่วย แพทย์จะพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยและดูแลตามลักษณะอาการ เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้โดยเร็ว เช่น ในผู้ป่วยเด็กที่ทานอาหารไม่ได้ แพทย์อาจมีการให้อาหารหรือน้ำเกลือทางเส้นเลือด และดูแลความสะอาดเพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ และมีการให้ยาปฏิชีวนะตามอาการ



สำหรับคนที่สงสัยว่าโรคมือเท้าปาก กี่วันหาย คำตอบคือ ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง อาการจะดีขึ้นเองในช่วง 1 สัปดาห์ เพียงแต่ต้องดูแลความสะอาด ทานยาตามอาการไปจนกว่าจะหาย แต่สำหรับผู้ป่วยที่พบว่ามีอาการรุนแรง ตามที่ได้ระบุไปข้างต้น อาจมีอาการป่วยนานกว่า แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการรักษาได้อย่างถูกวิธี และหายจากอาการป่วย กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว



ป้องกันตัวเองจากโรคมือ เท้า ปาก ต้องทำอย่างไร?

4. ป้องกันตัวเองจากโรคมือ เท้า ปาก ต้องทำอย่างไร?

สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีอาการใด ๆ แต่บังเอิญได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือต้องการหาแนวทางป้องกันโรคเอาไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อความสบายใจ สามารถปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้ เพื่อป้องกันตัวเองจากโรคมือเท้าปากได้เลย



ดูแลความสะอาด สุขอนามัยต่าง ๆ

ความสะอาด เป็นปัจจัยสำคัญของการป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคที่ติดต่อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งต่าง ๆ ที่มาจากร่างกายของผู้ป่วย เพราะเราไม่รู้เลยว่า สิ่งของที่เราสัมผัสนั้นจะมีเชื้อโรคอะไรเกาะอยู่บ้าง หากก่อนหน้านี้มีผู้ติดเชื้อมาสัมผัส ก็มีโอกาสที่เราจะรับเชื้อต่อได้ เพราะฉะนั้น การดูแลรักษาความสะอาดจึงช่วยได้ ไม่ว่าจะเป็น



  • ล้างมือบ่อย ๆ และล้างมือด้วยสบู่เมื่อเข้าห้องน้ำ
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด ใช้ช้อนกลางเมื่อต้องทานร่วมกับผู้อื่น
  • สวมใส่หน้ากากอนามัย เมื่ออยู่ท่ามกลางคนเยอะ
  • เช็ดทำความสะอาดสิ่งของที่สัมผัสบ่อย ๆ หรือบริเวณที่ใช้งานเป็นประจำ เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค



ฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปาก

อีกหนึ่งวิธีป้องกันโรคมือเท้าปากก็คือการฉีดวัคซีน โดยจะเป็นวัคซีนที่ต้านเชื้อ Enterovirus 71 ซึ่งเป็นเชื้อหลักที่ทำให้เกิดโรคมือเท้าปาก และเป็นเชื้อที่ทำให้อาการมีโอกาสที่จะรุนแรงขึ้นได้ สำหรับผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีน อายุที่เหมาะสมคือตั้งแต่ 6 เดือน - 5 ปี แต่ถ้าอายุเกินแล้ว ก็สามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อหาแนวทางรับวัคซีนที่เหมาะสมได้




การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก เริ่มต้นได้จากการดูแลสุขอนามัยที่ดี รวมถึงการหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยและไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน นอกจากนี้ การสังเกตอาการและรับการตรวจรักษาอย่างทันท่วงทีหากมีความผิดปกติจะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดได้มาก การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรัก ห่างไกลจากโรคมือ เท้า ปากและมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข



เพราะความเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ แต่เลือกที่จะวางแผนรับมือได้ ด้วย ประกันสุขภาพ จากเมืองไทยประกันชีวิต #เพราะชีวิตทุกวัยมันเจ็บป่วย ป่วยเล็กป่วยใหญ่ ช่วงวัยไหนก็ป่วยได้ไม่ช็อตฟีล


ปล่อยจอยค่ารักษาเพราะมีประกันสุขภาพดูแลให้แบบเหมา ๆ ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท


Elite Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 20-100 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษา ดูแลให้ทั้ง IPD และ OPD(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 157 บาท(2)

D Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 5 ล้านบาท(3) นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุก รพ. เบี้ยวันละไม่ถึง 38 บาท(4)

เหมาจ่าย Extra แอดมิตเข้า รพ. ดูแลค่ารักษาเหมาจ่าย 5 แสนบาท(5) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(6)



รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต



(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

(3) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง

(4) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท มีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (แผน Top Up ความคุ้มครอง) และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

(5) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง



  • เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
  • สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย



ที่มา สืบค้น ณ วันที่ 11/11/2567


🔖โรงพยาบาลพญาไท
🔖โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

Interested In

I agree that Muang Thai Life Assurance PCL. Collect and use my personal information above to contact me to offer products and services at I am interested or the company saw that it was beneficial to I have by me to equate the mark In the square is an indication of intent. instead of my consent Signing as evidence. I have read and acknowledged the Privacy Policy.