วิธีแก้อาการ เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม และสาเหตุการเกิด
อาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม เป็นอาการที่หลายคนเคยเป็น ไม่ว่าจะเป็นจากความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือ สาเหตุอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยรวม ซึ่งส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก หากไม่ได้รับการดูแลและบรรเทาที่เหมาะสมอาจมีผลเสียต่อสุขภาพมากขึ้น วันนี้เมืองประกันชีวิตจะพาคุณไปรู้จักกับสาเหตุที่อาจเป็นต้นเหตุของอาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม รวมถึงบ้านหมุน พร้อมทั้งวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น
1. สาเหตุของอาการเวียนหัว คลื่นไส้ และพะอืดพะอม เกิดจากอะไร
2. วิธีบรรเทาอาการเวียนหัว คลื่นไส้ และพะอืดพะอม กินอะไรหาย
3. วิธีป้องกันอาการเวียนหัว คลื่นไส้ และพะอืดพะอม
4. อาการบ้านหมุนเกิดจากอะไร?
1. สาเหตุของอาการเวียนหัว คลื่นไส้ และพะอืดพะอม เกิดจากอะไร
อาการเวียนหัว คลื่นไส้ และพะอืดพะอม เป็นอาการที่พบได้บ่อย และอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่
- ขาดน้ำและการพักผ่อนไม่เพียงพอ การดื่มน้ำน้อยเกินไปทำให้ร่างกายขาดน้ำ ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงและทำให้เวียนหัวหรือคลื่นไส้ได้ การพักผ่อนไม่เพียงพอก็อาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและเกิดอาการเหล่านี้เช่นกัน
- ความเครียดและความวิตกกังวล ความเครียดส่งผลต่อระบบประสาทและระบบการย่อยอาหาร ทำให้เกิดอาการเวียนหัวและคลื่นไส้ได้ ความวิตกกังวลมากเกินไปอาจทำให้รู้สึกพะอืดพะอมหรือวิงเวียน
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หากระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำกว่าปกติ จะทำให้รู้สึกเวียนหัว อ่อนเพลีย และคลื่นไส้ได้ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้ทานอาหารเป็นเวลานาน หรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอยู่แล้ว
- โรคไมเกรน ไมเกรนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะรุนแรงและอาจทำให้เกิดอาการเวียนหัวและคลื่นไส้ร่วมด้วย โดยเฉพาะเมื่อได้รับแสงจ้า เสียงดัง หรือกลิ่นแรง
- โรคของหูชั้นใน (เวียนศีรษะจากหูชั้นใน) หูชั้นในทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว หากมีปัญหา เช่น ภาวะน้ำในหูไม่เท่ากัน จะทำให้เกิดอาการเวียนหัว และคลื่นไส้ได้
- ผลข้างเคียงจากยา ยาหลายชนิดอาจมีผลข้างเคียงทำให้เวียนหัวหรือคลื่นไส้ เช่น ยาลดความดัน ยาแก้ปวด หรือยาแก้ซึมเศร้า
- อาการเมารถ เมาเรือ หรือการเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว การเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป หรือการอยู่ในยานพาหนะที่เคลื่อนไหวมากอาจทำให้สมองและหูชั้นในสับสน ส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัว คลื่นไส้ หรือพะอืดพะอมได้
- การตั้งครรภ์ ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงสามารถทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และพะอืดพะอมได้
โรคที่อาจส่งผลให้เกิดอาการ เวียนหัว คลื่นไส้ และพะอืดพะอม เช่น
- โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหาร อาจทำให้รู้สึกพะอืดพะอมและคลื่นไส้ร่วมกับอาการเวียนหัวได้
- ไมเกรน อาการปวดหัวแบบไมเกรนบางครั้งอาจมีอาการเวียนหัวร่วมด้วย
- โรคเบาหวาน อาการน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงอาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว
2. วิธีบรรเทาอาการเวียนหัว คลื่นไส้ และพะอืดพะอม กินอะไรหาย
หลายคนอาจเคยเจอ อาการเวียนหัว คลื่นไส้ และพะอืดพะอม ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง แต่หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา
วิธีดูแลอาการเบื้องต้น
- พัก นอนพัก หรือหลับตาสักครู่ จนกว่าอาการจะบรรเทา
- งดทำกิจกรรม ที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เช่น ขับรถ วิ่งออกกำลังกาย
- ดื่มน้ำ ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ ช่วยให้ร่างกายสดชื่น
- หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว หรือท่าทางที่ทำให้เกิดการเวียนหัว
- รับประทานอาหารอ่อน เลือกอาหารที่ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ผลไม้สุก
- สูดอากาศบริสุทธิ์ หาที่โล่ง ๆ อากาศถ่ายเทสะดวก
- ใช้ยาแก้คลื่นไส้ หากอาการรุนแรง สามารถรับประทานยาแก้คลื่นไส้ที่ซื้อได้ตามร้านขายยา แต่ควรอ่านฉลากและปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้
- หากมีอาการลิ้นแข็งพูดไม่ชัด แขนขาไม่มีแรง ตัวชา ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองที่ต้องระวัง
อาการแบบไหนควรไปพบแพทย์
- อาเจียนมากกว่า 2 วัน
- หากเป็นเด็กแล้วมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากกว่า 1 วัน
- มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเรื้อรังอยู่นานกว่า 1 เดือน โดยอาจเป็น ๆ หาย ๆ
- น้ำหนักลดลงผิดปกติ
หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียนควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- มีไข้สูง
- คอแข็ง รู้สึกตึงบริเวณต้นคอใกล้กับท้ายทอย
- เหงื่อออกมากผิดปกติ
- ปวดหัวอย่างรุนแรง
- เจ็บหน้าอก
- เจ็บบริเวณช่องท้อง
- การมองเห็นแย่ลง สายตาพร่าเบลอ
- เวียนศีรษะ รู้สึกเหมือนจะเป็นลม
- อาเจียนอาหารที่รับประทานเข้าไปอย่างต่อเนื่องมากกว่า 12 ชั่วโมง
3. วิธีป้องกันก่อนอาการเวียนหัว คลื่นไส้ และพะอืดพะอม
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการเวียนหัว คลื่นไส้ และพะอืดพะอม สามารถป้องกัน และดูแลตัวเองได้ดังนี้
ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
- พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับอย่างเพียงพอจะช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนและฟื้นฟู
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น
- กินอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัว
หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่อากาศร้อนอบอ้าว ความร้อนอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีกลิ่นแรง กลิ่นฉุนแรงอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้
- หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วหรือเปลี่ยนท่าทางกระทันหันอาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว
- หลีกเลี่ยงการอดอาหาร การอดอาหารเป็นเวลานานอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และเกิดอาการเวียนหัว
จัดการความเครียด
- ฝึกผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ โยคะ หรือฟังเพลงเบา ๆ
- หาเวลาทำกิจกรรมที่ชอบ เพื่อคลายเครียดและผ่อนคลาย
ปรึกษาแพทย์:
- หากมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพ
- หากมีอาการเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษา
4. อาการบ้านหมุนเกิดจากอะไร?
อีกหนึ่งอาการที่ไม่ควรมองข้าม สำหรับอาการบ้านหมุน ที่หลายคนรู้จัก โดยจะเกิดอาการมึนหัว รู้สึกมึนงง รู้สึกร่างกายลอย ๆ โคลงเคลง ไม่มั่นคง และในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย โดยสาเหตุเบื้องต้นที่ส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัว หรือบ้านหมุนมี ดังนี้
- โรคหินปูนในหูชั้นใน หรือ BPPV
- โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
- โรคไมเกรน
- โรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โรคความดันโลหิตสูง
- ผลข้างเคียงจากยา เช่น ยานอนหลับ หรือยาปฏิชีวนะบางชนิด
- ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความเครียด วิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ เมารถ หรือเมาเรือ
อาการบ้านหมุนแบบไหน ควรต้องพบแพทย์
- มึนงง เวียนศีรษะ
- เดินเซทรงตัวผิดปกติ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- สูญเสียการทรงตัว
- หูอื้อ มีเสียงดังในหู
- หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
เมื่อเกิดอาการบ้านหมุน ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
- หยุดเคลื่อนไหวทันที เมื่อเกิดอาการ ให้หยุดพักในท่าที่สบาย
- ปรับท่าทางช้า ๆ ลุกขึ้น หรือ นอนลงอย่างช้า ๆ เพื่อลดอาการบ้านหมุน
- ดื่มน้ำ เพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย โดยเฉพาะหากเกิดจากภาวะขาดน้ำ
- หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง ชา ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
วิธีดูแลสุขภาพ ถ้าไม่อยากบ้านหมุน
- พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียดและหลีกเลี่ยงการอดนอน
- ออกกำลังกายเพื่อการทรงตัว เช่น โยคะ หรือ Tai Chi ช่วยพัฒนาความสมดุลของร่างกาย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกอาหารที่ลดโซเดียมและน้ำตาล หากมีภาวะน้ำในหูไม่เท่ากัน
- เลี่ยง คาเฟอีน แอลกอฮอล์ และบุหรี่
อาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม รวมถึงบ้านหมุน เป็นอาการที่หลายคนพบเจอบ่อย แต่สาเหตุและความรุนแรงของอาการอาจแตกต่างกันไป ดังนั้น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ และเลี่ยงการเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว จะช่วยบรรเทาได้ แต่หากมีอาการรุนแรง หรือ เกิดขึ้นบ่อย กระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรับการรักษาที่เหมาะสม เพราะการดูแลที่ถูกต้องจะช่วยป้องกันผลกระทบในระยะยาวได้ดีที่สุด
พร้อมหาตัวช่วยดูแลสุขภาพแบบสบาย ๆ ด้วย ประกันสุขภาพ จากเมืองไทยประกันชีวิต #เพราะชีวิตทุกวัยมันเจ็บป่วย ป่วยเล็กป่วยใหญ่ ช่วงวัยไหนก็ป่วยได้ไม่ช็อตฟีล
ปล่อยจอยค่ารักษาเพราะมีประกันสุขภาพดูแลให้แบบเหมา ๆ ตั้งแต่ 2 แสน - 100 ล้านบาท
✅ Elite Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 20-100 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษา ดูแลให้ทั้ง IPD และ OPD(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 157 บาท(2)
✅ D Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 5 ล้านบาท(3) นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุก รพ. เบี้ยวันละไม่ถึง 38 บาท(4)
✅ เหมาจ่าย Extra แอดมิตเข้า รพ. ดูแลค่ารักษาเหมาจ่าย 5 แสนบาท(5) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(6)
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต
(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(3) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง
(4) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท มีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (แผน Top Up ความคุ้มครอง) และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
(5) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(6) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี
- เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
- สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 18/11/67