ปวดหลังแน่ ถ้ายังไม่แก้พฤติกรรมแบบนี้
ปวดใจไม่พังเท่าปวดหลัง เพราะอาการปวดหลังอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจากการนั่งทำงานนาน ๆ นั่งผิดท่า ยกของหนัก หรือออกกำลังกายมากเกินไป แต่รู้หรือไม่ว่าสาเหตุหลัก ๆ ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมเคยชินจากตัวเราเอง ที่อาจทำจนชินไม่รู้ตัว และก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อย ตึงกล้ามเนื้อ รวมไปถึงอาการปวดหลังได้
วันนี้อยากให้ทุกคนลองมาเช็กพฤติกรรมตัวเองกันหน่อย เริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเคยชิน ที่อาจทำร้ายกระดูกสันหลังของเราอย่างไม่รู้ตัว ลองมาดูกันว่าพฤติกรรมแบบไหนบ้างที่เราควรจะเลิก เพื่อช่วยถนอมรักษากระดูกสันหลังให้อยู่กับเราไปนาน ๆ
นั่งหลังงอ /นั่งไม่เต็มก้น
ข้อแรกมาเริ่มที่ท่านั่งกันก่อน เพราะอาการปวดหลังส่วนใหญ่ เริ่มมาจากการนั่งทำงานนาน ๆ จนเคยชิน อย่างแรกใครที่ชอบนั่งไม่เต็มก้นบนเก้าอี้ต้องระวัง เพราะกล้ามเนื้อหลังจะทำงานหนักมากขึ้นในการแบกรับน้ำหนักตัว ดังนั้นเวลานั่งเก้าอี้แนะนำให้ควรนั่งแบบเต็มก้นจะดีกว่า และอีกข้อที่สำคัญคือการนั่งหลังงอ เพราะการที่เรานั่งทำงานจ้องหน้าจอนาน ๆ อาจนั่งหลังงอไม่รู้ตัว ยิ่งนานอาจทำให้กระดูกงอคดตามจนผิดรูป ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังได้ ทางที่ดีควรปรับระดับความสูงและความเอียงของจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม และเตือนตัวเองไว้เสมอ ๆ ให้นั่งหลังตรงตลอดเวลา
🔖 kroobannok (ข้อมูล ณ วันที่ 27/03/52)
🔖 posttoday (ข้อมูล ณ วันที่ 24/05/65)
นอนขดตัว/ที่นอนไม่เหมาะสม
มาถึงท่านอนกันบ้าง เพราะเวลานอนถือเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะพักผ่อนแบบเต็มที่ กล้ามเนื้อทุกส่วนจะต้องสบาย ซึ่งหากเรานอนท่าไหนนาน ๆ ตลอดทั้งคืน อาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะการนอนขดตัว เพราะจะทำให้กระดูกงอโค้ง กล้ามเนื้อบางส่วนเกร็งไม่ได้พักผ่อนตื่นมาอาจทำให้ปวดหลังได้
ท่านอนที่ดีคือการนอนตะแคงขวา โดยมีหมอนข้างช่วยรับน้ำหนักของร่างกายบางส่วน ซึ่งท่านอนนี้นอกจากจะช่วยป้องกันอาการปวดหลังแล้ว ยังจะทำให้หัวใจทำงานได้สะดวกอีกด้วย รวมไปถึงที่นอนไม่ควรใช้เตียงนอนที่นิ่ม หรือนุ่มจนเกินไป เพราะอาจทำให้ปวดหลังได้
🔖 posttoday (ข้อมูล ณ วันที่ 24/05/65)
นั่งไขว่ห้าง/ยืนพักขา
ข้อนี้สาว ๆ ต้องรู้ เพราะผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องการได้รูปตัวเอสเวลานั่งไขว่ห้าง ลงรูปทีไรก็เริ่ดเพราะดูผอมหุ่นเพรียว แต่รู้หรือไม่ว่าเวลาเรานั่งไขว่ห้างนานๆ เท้าอาจจะเริ่มชาจนต้องสลับข้าง เพราะเลือดเดินไม่สะดวก เวลานั่งตัวก็จะตะแคงบิดมาอีกด้านหนึ่ง ยิ่งถ้าใครที่นั่งท่านี้เป็นประจำน้ำหนักตัวก็จะทิ้งไปด้านเดียว กระดูกก็จะถูกบิดเป็นประจำทำให้ปวดหลังเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว
รวมไปถึงใครที่ติดในท่าการยืนพักขาต้องระวัง เพราะถึงจะเป็นท่าที่สบาย แต่การยืนพักขานั้นเป็นการทิ้งน้ำหนักให้เป็นภาระกับร่างกายเพียงแค่ด้านเดียว สะโพกก็จะเอียง กระดูกสันหลังก็โค้งตามไปด้วย เป็นที่มาของอาการสะสมปัญหาปวดหลังเรื้อรัง
🔖 posttoday (ข้อมูล ณ วันที่ 24/05/65)
🔖 โรงพยาบาลพญาไท (ข้อมูล ณ วันที่ 02/03/64)
วิธีป้องกัน อาการปวดหลัง
ใครที่มีอาการปวดหลังมานาน แต่พอได้พักหรือได้ผ่อนคลายอาการจะดีขึ้น ก็ถือว่าเป็นอาการที่ยังไม่น่ากังวล แต่ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อาจเป็นสาเหตุที่เกิดอาการปวดหลังแบบรุนแรงหรือเรื้อรังต่อไปในอนาคตได้ดังนี้
ออกกำลังกาย หรือบริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง
รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่อ้วนจนเกินไป
นั่งและยืนในท่าที่ถูกต้อง โดยเฉพาะหากต้องนั่งทำงานนาน ๆ ควรจัดหาโต๊ะ เก้าอี้ที่ช่วยให้นั่งสบาย ไม่เสี่ยงนั่งผิดท่า หรือต้องก้มเป็นเวลานาน ๆ
พยายามเปลี่ยนท่านั่งหรือยืนบ่อย ๆ
หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง ควรเลือกใส่รองเท้าที่เดินสบาย เช่น รองเท้าส้นเตี้ย
นอนให้ถูกท่า ใช้ที่นอนหรือเตียงที่เหมาะสม
พยายามอย่ายกหรือแบกของหนัก ๆ
🔖 kapook
ขั้นตอนรักษา อาการปวดหลัง
ใครที่เริ่มปวดหลังเรื้อรังต้องหมั่นดูแลตัวเองกันหน่อย เพราะแนวทางการรักษามีตั้งแต่ระยะเริ่มต้นไปจนถึงเวชศาสต์ฟื้นฟูดังนี้
ในระยะเฉียบพลัน ให้ประคบหลังด้วยความเย็น
นั่งพัก หรือนอนพัก ปรับพฤติกรรมที่ทำให้ปวดหลัง
ใช้ยา กายภาพบำบัด ด้วยเครื่องเครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เพื่อลดความปวด อักเสบ และคลายกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อ เครื่องคลื่นสั้นความร้อนลึก (Shortwave Diathermy) เครื่องดึงหลัง (Pelvic Traction) เพื่อยึดข้อต่อกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อหลัง กรณีที่มีหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า (Transcuteneous Nerve Stimulation) เพื่อลดปวด คลายกล้ามเนื้อ
การอบแผ่นความร้อน การบริหารออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หลัง สอนท่าทางและการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังขึ้นอีก
จะเห็นได้ว่าอาการปวดหลังส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมเคยชินที่เราทำเป็นประจำในทุกวัน แต่ถ้าหากใครที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังเป็นเวลานาน แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดที่แท้จริงเพราะอาจกลายเป็นโรคร้ายแรงได้ หากพบเจอตั้งแต่ระยะแรก ๆ ก็ยังมีโอกาสและทางเลือกในการรักษาให้หายเป็นปกติได้มากขึ้น
และที่สำคัญอย่าลืมวางแผนสุขภาพ เช่น หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงการมีประกันสุขภาพก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะการซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่ตอนที่เรายังสุขภาพดี จะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ เพราะประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน หากเจ็บป่วยแล้วถึงตัดสินใจซื้อก็อาจสายไป
ดังนั้นวางแผนสุขภาพไว้มั่นใจกว่า กับความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส ดูแลสุขภาพทุกช่วงเวลา คุ้มครองโรคฝึดาษลิง โรคระบาด โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ คุ้มครองค่าห้องและค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายในวงเงินเดียว 5 ล้านบาท(1) ค่าเบี้ยวันละไม่ถึง 65 บาท(2) คุ้มครองตอนแอทมิทรวมถึงการรักษาฟื้นฟูต่อเนื่องกรณีผู้ป่วยนอก ทั้งค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน ค่าห้อง ไอ.ซี.ยู ค่าหมอ ค่ายา ค่าตรวจ ค่าผ่าตัด ค่ากายภาพบำบัด อีกทั้งจะผ่าตัดเล็กหรือใหญ่ หรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุภายใน 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องนอนก็คุ้มครอง
✔เหมาจ่ายในวงเงินเดียว ทั้งค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน ค่าห้องไอ.ซี.ยู ค่าหมอ ค่ายา ค่าตรวจ ค่าผ่าตัด แบบจ่ายตามจริง
✔นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุกโรงพยาบาล
✔ครอบคลุมการรักษาฟื้นฟูต่อเนื่องแบบ OPD
✔สมัครได้ถึงอายุ 11 - 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี
✔พลัสเพิ่มความคุ้มครอง การคลอดบุตร ตรวจสุขภาพทำฟัน ดูแลสายตา
✔ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือนหรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
ซื้อประกันสุขภาพไว้เลย มั่นใจกว่า!!
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 35 ปี เลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ ดี เฮลท์ พลัส ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย