เปิดสัญญาณเตือน มะเร็งลำไส้ รู้ก่อน ป้องกันได้!
ท้องเสียสลับท้องผูกบ่อย ๆ ต้องระวัง เพราะอาจเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ได้ ไม่ว่าจะมะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งลำไส้ใหญ่ ถือเป็นภัยเงียบที่ควรระวัง เพราะอาจตรวจเจอเมื่อสายไป ซึ่งมะเร็งลำไส้ นี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงาน ประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง จึงเป็นตัวเลือกสำคัญที่ควรมีไว้
ซึ่งโรคมะเร็งลำไส้ ส่วนใหญ่กว่าจะตรวจพบว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ก็มักจะพบในระยะที่เป็นมากแล้ว ซึ่งทำให้มีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตสูง วันนี้จึงแนะนำให้มาเช็กกันหน่อย ว่าสัญญาณเตือนอาการมะเร็งลำไส้ ไม่ว่าจะมะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมถึงประกันโรคร้ายแรงคุ้มครองหรือไม่ หรือถ้ารักษามะเร็งหายแล้วทำประกันได้ไหม ไปดูกัน!
- มะเร็งลำไส้ เกิดจากอะไร
- อาการมะเร็งลำไส้
- ป้องกันมะเร็งลำไส้ ได้ด้วยตัวเอง
- รักษามะเร็งหายแล้ว ทำประกันได้ไหม
มะเร็งลำไส้ เกิดจากอะไร
ปวดท้องผิดปกติต้องรีบเช็ก เพราะมะเร็งลำไส้อาจอาการคล้ายโรคกระเพาะ ปล่อยไว้อาจอันตรายได้ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัย แต่โดยส่วนมากมะเร็งลำไส้ สามารถพบได้ในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งกว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะรู้ตัวว่า ตัวเองป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ ก็มักพบในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้มีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตสูง การทำประกันโรคร้ายแรงไว้ก่อนป่วยจึงสำคัญมาก จากผลสำรวจพบว่าสำหรับประเทศไทย โรคมะเร็งลำไส้พบผู้ป่วยรายใหม่ 11,496 ราย/ปี อัตราการเสียชีวิต 6,845 ราย/ปี ซึ่งรองจาก มะเร็งตับ มะเร็งปอด และ มะเร็งเต้านม
และปัจจุบันยังไม่มีการระบุสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งลำไส้ได้ว่า เกิดจากอะไร แต่เชื่อว่าปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่ อาจเกิดจาการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงของคนที่อาจเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
ใครบ้าง? เสี่ยงมะเร็งลำไส้
- กินเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อแดง อาหารที่มีไขมันสูง กากใยน้อย
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
- คนที่มีอาการปวดท้องบ่อย ลำไส้ระคายเคือง หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- อายุ 50 ปีขึ้นไป
- ครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้
อาการมะเร็งลำไส้
อย่างที่บอกกันไปแล้วว่ามะเร็งลำไส้ ส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการทั้งโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งลำไส้เล็ก แต่เมื่อถึงระยะลุกลามแล้ว แต่เราสามารถสังเกตอาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก ด้วยตัวเองได้ เพราะหากมะเร็งเกิดที่บริเวณลำไส้ ความผิดปกติจึงไปเกิดกับระบบขับถ่าย โดยเราสามารถสังเกตอาการได้ง่าย ๆ ดังนี้
- ท้องเสีย ท้องผูก หรือรู้สึกท้องอืด
- ขับถ่ายอุจจาระ ผิดปกติไปการจากเดิม
- มีอาการท้องเสียสลับกับท้องผูก
- อุจจาระปนเลือดสด ๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก
- ลักษณะอุจจาระ ลีบ เรียวยาวกว่าปกติ
- ไม่สบายท้อง รวมทั้งปวดแสบร้อน
- อาหารไม่ย่อย มีอาการปวดเกร็ง
- กินอาหารเท่าเดิม แต่น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- อ่อนเพลียง่าย
- มีอาการโลหิตจาง
ป้องกันมะเร็งลำไส้ ได้ด้วยตัวเอง
ไม่ว่าจะมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งลำไส้เล็ก ทุกคนมีโอกาสเป็นได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะคนที่ลืมใส่ใจดูแลสุขภาพ รวมถึงพฤติกรรมการกินอาหารในแต่ละวัน ที่จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ และเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้ เช่น การสูบหรี่ ดื่มเหล้า กินอาหารปิ้งย่าง ไหม้เกรียมบ่อย ๆ ไม่ออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียดสะสม เป็นต้นดังนั้น เราควรหลีกเลี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ โดยปรับพฤติกรรมของตัวเองดังนี้
- งดอาหารไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง
- กินอาหารที่มีกากใยมากๆ
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
- ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ด้วยการส่องกล้อง
- ตรวจสุขภาพประจำปี
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ควรอั้นอุจจาระ เมื่อปวดควรขับถ่ายทันที
รักษามะเร็งหายแล้ว ทำประกันได้ไหม
การทำประกันสุขภาพ หรือประกันมะเร็งถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก ที่ตอบโจทย์กับทุกคน เพราะนอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลแล้ว ยังช่วยเพิ่มทางเลือก ในการได้รับการรักษาในแบบที่เราต้องการได้อีกด้วย ซึ่งหลัก ๆ ทุกคนส่วนใหญ่คงทราบกันดีว่า ประกันสุขภาพ จะไม่ให้ความคุ้มครองโรคประจำตัว โรคเรื้อรัง หรือโรคร้ายแรง ที่ตรวจพบก่อนที่เราทำประกัน ดังนั้นจึงมีคำถามที่ว่า หากป่วยเป็นมะเร็งแต่รักษาหายแล้ว ยังสามารถทำประกันได้ไหม
หากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งก่อนตัดสินใจทำประกันสุขภาพ หรือ ประกันมะเร็ง จะไม่สามารถทำประกันสุขภาพได้ แต่สำหรับใครที่เป็นเป็นมะเร็งมาก่อนแต่ได้รับการรักษาจนหายขาดแล้ว สามารถที่จะซื้อประกันสุขภาพได้ แต่อาจจะต้องจ่ายเบี้ยประกันสูงกว่าปกติ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท และก่อนที่จะซื้อประกันใด ๆ ควรจะต้องแจ้งเรื่องที่เราเคยเป็นป่วยเป็นมะเร็งมาก่อนด้วย
ดังนั้นการมีประกันสุขภาพ และประกันมะเร็ง ไว้ก่อนป่วย จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่ตอนที่เรายังสุขภาพดี จะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ เพราะประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน หากเจ็บป่วยแล้วถึงตัดสินใจซื้อก็อาจสายไป
จะเห็นได้ว่าโรคมะเร็งลำไส้ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและกับทุกวัย และคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองทั้งนั้น แต่ก็ต้องยอมรับว่า ถึงแม้เราจะดูแลตัวเองดีแค่ไหน แต่ก็ไม่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดโรคได้แบบ 100% เพราะด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง หรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ตลอดเวลา
ดังนั้นควรปิดความเสี่ยงด้วยการทำประกันมะเร็งกับ ความคุ้มครอง แคร์ พลัส (Care Plus) จากเมืองไทยประกันชีวิต ดูแลค่ารักษามะเร็งทุกระยะครอบคลุมวิธีการรักษาที่ทันสมัยทั้ง Targeted Therapy Immunotherapy การปลูกถ่าย Stem Cell ครอบคลุมทั้ง IPD และ OPD คุ้มครอง 5 ล้านบาทต่อปี เบี้ยวันละไม่ถึง 8 บาท*
✔️ดูแลค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็งและไตวายเรื้อรังทุกระยะทั้ง IPD และ OPD 5 ล้านบาทต่อปี*
✔️เลือกความคุ้มครองโรคร้ายแรงได้ โรคมะเร็งหรือไตวายเรื้อรัง พิเศษ! หากเลือกทั้ง 2 โรค ค่าเบี้ยถูกลงถึง 10%
✔️คุ้มครองการรักษาโรคมะเร็งและไตวายเรื้อรังที่ทันสมัย เช่น Targeted Therapy, Immunotherapy, การปลูกถ่าย Stem Cell, การล้างไตแบบประสิทธิภาพสูง และการปลูกถ่ายไต เป็นต้น
✔️คุ้มครองเพิ่มเติมพิเศษค่าปรึกษาทางจิตเวช ค่าห้อง ค่ายา ค่ารักษา ตั้งแต่เริ่มรักษา
✔️หมดกังวล เป็นซ้ำก็คุ้มครอง สมัครได้ตั้งแต่อายุ 30 วัน - 80 ปี คุ้มครองยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี
รายละเอียดเพิ่มเติม
☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย
*สำหรับผู้เอาประกันภัย เพศชาย อายุ 35 ปี เลือกความคุ้มครองสำหรับโรคมะเร็งและไตวายเรื้อรังแผน 5 ล้านบาท และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
- ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาโรคมะเร็งและ/หรือโรคไตวายเรื้อรัง ดังกล่าว จะจ่ายสำหรับวิธีการบำบัดรักษาตามที่บริษัทฯ กำหนด
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
- เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 17/08/66