นักเต้น เต็มที่กับชีวิตแบบ No Limit ต้องระวัง! สิ่งเหล่านี้
อากาศหนาวอาจทำให้หน้าชา แต่ถ้าเจอค่ารักษาจะทำให้หน้ามืด 🤒 โดยเฉพาะนักเต้นไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพหรือสายโคฟเวอร์แดนซ์ที่ต้อง ออกสเต็ป เติมสกิลการเต้นใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา จึงไม่แปลกที่สายเต้นจำเป็นต้องฟิตร่างกายหนัก หากหักโหมมากเกินไปอาจทำให้สุขภาพทรุดโทรมและเสื่อมถอยลงได้ วันนี้เมืองไทยประกันชีวิตขอชวนนักเต้นเตรียมพร้อมรับมือและดูแลสุขภาพให้สามารถใช้ชีวิตตามความฝันได้ในแบบโนลิมิตกัน
ประโยชน์ของการเต้น ทำไมถึงดีต่อสุขภาพ
สำหรับอาชีพนักเต้นแล้ว การเต้นเหมือนมีพลังงานบางอย่างที่ช่วยให้ใจฟู เป็นอาชีพที่สร้างทั้งรายได้และความสุข แถมการเต้นยังส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของเหล่านักเต้นอาชีพ
- เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นร่างกาย : การเต้นส่งผลให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และยืดหยุ่น กระดูกและข้อต่อสามารถรองรับน้ำหนักได้มากขึ้น
- ช่วยลดน้ำหนัก กระชับหุ่น : การเคลื่อนไหวร่างกายจากการเต้นจะช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญของร่างกายและดึงพลังงานมาใช้ดี
- เสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี : ช่วยปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกผ่านการเคลื่อนไหวของร่างกายตามจังหวะดนตรี บรรเทาความเครียด และความเศร้า
- ช่วยรักษาการทำงานของสมอง : การเต้นช่วยบริหารร่างกายและสมอง เมื่อทำติดต่อกันเป็นเวลานานจะเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจดจำ การวางแผน
- ดีต่อหัวใจและหลอดเลือด : การเต้นเป็นกิจกรรมที่ดีสำหรับคนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
🔖 Pobpad
🔖 HonestDocs (ข้อมูล ณ วันที่ 29/06/61)
เสี่ยงบาดเจ็บ…เพราะออกสเต็ปเกินลิมิต
สำหรับนักเต้นที่ต้องใช้ร่างกายทำงานหนัก แถมเวลาพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูร่างกายก็มีไม่มาก ซึ่งการใช้ร่างกายเกินลิมิตอาจเป็นจุดเริ่มต้นให้สุขภาพทรุดโทรม และบาดเจ็บได้
- กล้ามเนื้อฉีก : ใช้งานหนักเกินไปหรือเกิดแรงตึงอย่างรุนแรงจนทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บและฉีกขาด
- ปวดหลัง : เกิดจากการยกอุปกรณ์เต้นที่หนักมากไป ก้มตัวผิดจังหวะหรือใช้เทคนิคเต้นที่ผิดหลักทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังตึงและบาดเจ็บขึ้นได้
- บาดเจ็บเข่า : การฝืนบังคับเท้าตามท่าทางหรือเสียการควบคุมเมื่อกระโดด อาจทำให้เข่าบิด หรือกระดูกอ่อนเข่าที่กันกระแทกฉีกขาด
- เอ็นร้อยหวายอักเสบ : ใช้งานข้อเท้าหนักมากเกินไป เต้นบนพื้นผิวที่มีความแข็งหรือการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วไม่มีสมดุล อาจทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบได้
- เอ็นหัวไหล่อักเสบ : จากการยกแขนสูง ๆ หกล้ม หรือแม้แต่การถูกกระแทกแรง ๆ อาจทำให้เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด
- ปวดต้นคอ : การเคลื่อนไหวบริเวณศีรษะที่รวดเร็วหรือบ่อยเกินไป อาจทำให้กล้ามเนื้อคอปวดหรือตึงได้ง่าย
🔖 dance-teacher (ข้อมูล ณ วันที่ 22/03/61)
🔖 Posttoday (ข้อมูล ณ วันที่ 23/04/62)
วิธีป้องกันการบาดเจ็บ ถ้าอยากสนุกกับทุกสเต็ป
อาการบาดเจ็บกับอาชีพนักเต้นเป็นของคู่กัน แต่เราก็สามารถลดความเสี่ยง เลี่ยงเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจให้เกิดขึ้นได้ ดังนี้
- วอร์มอัพและคูลดาวน์ : ก่อนและหลังออกกำลังกาย ควรยืดกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายให้เต็มที่จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ
- เช็กสภาพร่างกาย : ถ้าเกิดอาการบาดเจ็บ พักผ่อนไม่เพียงพอหรือไม่สบาย ควรหยุดพักเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัวเสียก่อน
- แต่งตัวให้เหมาะสม : เสื้อผ้าที่สวมใส่ควรกระชับกับรูปร่าง ไม่รุ่มร่ามจนทำให้เกิดอุบัติเหตุขณะเต้นได้
- เลือกสถานที่เต้น : นักเต้นต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา สถานที่เต้นต้องเหมาะสม พื้นมีระดับที่เสมอและไม่ลื่น เพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
🔖 Posttoday (ข้อมูล ณ วันที่ 23/04/62)
เมื่อการเต้นคือส่วนหนึ่งของชีวิต นักเต้นต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ เพราะเมื่อไหร่ที่ไม่สามารถเต้นได้ นั่นหมายถึงรายได้ที่ขาดหายไป รวมถึงเสียเงินไปกับค่ารักษาพยาบาล ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ควรจะเป็น ดังนั้นไม่ว่าจะอาชีพไหนก็ต้องดูแลตัวเองให้ดี ตรวจสุขภาพปีละครั้ง พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย และเสริมความมั่นใจไปกับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 65 บาท
เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
☑️ โทร 1766
☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขาธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต
ไม่ว่าอาชีพอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน
เมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจทุกความต้องการในแบบคุณ
*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส
- สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ที่มา : สืบค้นเมื่อวันที่ 03/02/66
🔖 Pobpad
🔖 HonestDocs (ข้อมูล ณ วันที่ 29/06/61)
🔖 dance-teacher (ข้อมูล ณ วันที่ 22/03/61)